4 KINGS อาชีวะ ยุค 90
4 คิงส์ อาชีวะ ยุค 90 (อังกฤษ: 4 Kings) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวนีโอ-นัวร์ ดรามา อาชญากรรม ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2564 โดยเป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของค่ายเนรมิตรหนังฟิล์ม[1] จากการกำกับของพุฒิพงษ์ นาคทอง นำแสดงโดย อารักษ์ อมรศุภศิริ, อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี, ภูมิ รังษีธนานนท์, ณัฏฐ์ กิจจริต, สิราษฎร์ อินทรโชติ, อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ และอุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล[2] ภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างนักศึกษาอาชีวะกับนักศึกษาสถาบันต่าง ๆ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990
4 KINGS อาชีวะ ยุค 90 | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | พุฒิพงษ์ นาคทอง |
บทภาพยนตร์ | พุฒิพงษ์ นาคทอง |
อำนวยการสร้าง | ฐณะวัฒน์ ธรรมปรีชาพงศ์ |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | พสิษฐ์ ตันเดชานุรัตน์ |
ตัดต่อ | ด็อก แบ็ค ดี |
ดนตรีประกอบ | เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน |
บริษัทผู้สร้าง |
|
ผู้จัดจำหน่าย | เอ็ม พิคเจอร์ส |
วันฉาย | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
ความยาว | 139 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 15 ล้านบาท |
ทำเงิน | 69.82 ล้านบาท (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเชียงใหม่) 170 ล้านบาท (ทั่วประเทศ) |
ต่อจากนี้ | 4 คิงส์ 2 |
และภาคต่อ 4 คิงส์ 2 มีกำหนดฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
เนื้อเรื่อง
แก้เรื่องราวของภาพยนตร์เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2538 โดยเล่าผ่านความทรงจำของบิลลี่ อดีตนักศึกษาอาชีวะที่ผันตัวมาเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวกับลูกสาววัยรุ่นของเขา แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกสาวจะไม่ค่อยดีนัก แต่เมื่อลูกสาวของเขาได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้ของแก๊งเด็กอาชีวะ ทำให้บิลลี่หวนนึกถึงอดีตของตัวเองและเพื่อน ในยุค 90 มีวิทยาลัยอาชีวะชื่อดังมากมายแต่มีอยู่ 4 สถาบันที่โดดเด่น คือ อินทรอาชีวศึกษา ช่างกลบุรณพนธ์ เทคโนโลยีประชาชล และกนกอาชีวะ พวกเขามีชื่อเล่นว่า "4 คิงส์"
บิลลี่รู้สึกหดหู่ใจเมื่อแม่ของเขาแต่งงานใหม่และพ่อเลี้ยงก็เกลียดเขา ทางออกเดียวของเขาคือเพื่อนสนิท ดังนั้นเขาจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อรักษาและปกป้องมิตรภาพของเขากับเพื่อนร่วมสถาบันของเขา บิลลีพบกับความขัดแย้งทุกรูปแบบรวมถึงสูญเสียเพื่อนรักไป นับเป็นบทเรียนชีวิตครั้งใหญ่ที่เขาต้องตอบแทนมาจนถึงทุกวันนี้[3]
นักแสดง
แก้- อารักษ์ อมรศุภศิริ แสดงเป็น ดา อินทร
- อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี แสดงเป็น บิลลี่ อินทร
- ภูมิ รังษีธนานนท์ แสดงเป็น รูแปง อินทร
- ณัฏฐ์ กิจจริต แสดงเป็น โอ๋ ประชาชล
- สิราษฎร์ อินทรโชติ แสดงเป็น เอก บุรณพนธ์
- อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ แสดงเป็น อาจารย์สุวิชชา/มด ประชาชล
- อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล แสดงเป็น ยาท เด็กบ้าน
- วราวุฒิ บราวน์ แสดงเป็น หรั่ง อินทร
- สมพล รุ่งพาณิชย์ แสดงเป็น บ่าง กนก
- สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร แสดงเป็น รก บุรณพนธ์
- ชนาธิป พิสุทธิ์เสรีวงศ์ แสดงเป็น เอ็กซ์ ประชาชล
- สุกัญญา มิเกล แสดงเป็น แม่ดา
- เนธัญชรา เลิศประเสริฐ แสดงเป็น อุ๊
- ไปรยา สังขจินดา แสดงเป็น แอม
- ปรเมศร์ น้อยอ่ำ แสดงเป็น พ่อเลี้ยงของบิลลี่
- รัชณี บุญยธโรกุล แสดงเป็น แม่ของบิลลี่
- จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร แสดงเป็น พ่อของอุ๊
- พิมพ์ชไม ภัทรสินศิริ แสดงเป็น แม่ของอุ๊
- หิน เหล็ก ไฟ แสดงเป็นทั้งวงช่วงที่จัดคอนเสิร์ต (รับเชิญ)
งานสร้างและผลตอบรับ
แก้ภาพยนตร์สร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยเกี่ยวกับประเด็นการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นนักศึกษาอาชีวะที่ทำร้ายผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วย พวกเขามักจะทะเลาะกันตามท้องถนน บนรถเมล์หรือที่ป้ายรถเมล์ ผู้กำกับและผู้เขียนบทภาพยนตร์คือ พุฒิพงษ์ นาคทอง เคยผ่านช่วงเวลาเลวร้ายนี้มาจึงใช้ประสบการณ์ของตัวเองถ่ายทอดออกมาเป็นบทภาพยนตร์ โดยใช้เวลาเตรียมงานนานถึง 7 ปีกว่าจะมีการผลิตและออกฉาย และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาจากบริษัทสร้างภาพยนตร์น้องใหม่ชื่อ เนรมิตรหนัง ฟิล์ม[4]
4 KINGS พัฒนาตัวเองจากหนังสั้นชื่อเดียวกันที่เผยแพร่ทางโซเชียลเมื่อกลางปี พ.ศ. 2558 ว่าด้วยศึกระหว่างนักศึกษาอาชีวะจนเป็นที่รู้จัก[4] ออกฉายบนยูทูบในรูปแบบหนังสั้น (ความยาว 15 นาที) มียอดรับชมกว่า 12 ล้านครั้ง ก่อนที่พุฒิพงศ์จะนำมาเสนอกับทางค่ายเนรมิตรหนัง ฟิล์ม และได้รับการอนุมัติด้วยทุนสร้าง 15 ล้านบาท[5]
เมื่อเปิดตัวก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและกลายเป็นปรากฏการณ์ ขึ้นเป็นอันดับ 1 บ็อกซ์ออฟฟิศในช่วงสุดสัปดาห์ โดยทำรายได้รวม 50 ล้านบาท หลังฉายเพียง 4 วัน แซงหน้าหนังสยองขวัญไทย-เกาหลีใต้เรื่องร่างทรงของจีดีเอช เมื่อวันอังคารที่ 14 ธันวาคม นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ได้เชิญนักศึกษาอาชีวะเข้าร่วมชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์เอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย[6]
ภาคต่อ
แก้09:29 น. วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ผู้บริหารเนรมิตหนังฟิล์มและทีมสร้างได้ร่วมกันทำพิธีบวงสรวงก่อนถ่ายทำ 4 KINGS ภาค 2 ณ วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร พร้อมเปิดตัวนักแสดงพร้อมกัน มีนักแสดงทั้งเก่าและใหม่เข้าร่วม เเละในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 4kings2ได้เปิดรอบปฐมทัศน์ครั้งเเรกในรอบทั่วไปในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ
อ้างอิง
แก้- ↑ รีวิว 4KINGS อาชีวะ ยุค 90 หนังไทยเรื่องแรก จากค่ายเนรมิตรหนังฟิล์ม
- ↑ 4 Kings หนังอาชีวะ เลือดอาชีวะ ที่ไม่ได้มีดีแค่ยกพวกตีกัน
- ↑ "รีวิว 4KINGS อาชีวะ ยุค 90 หนังไทยเรื่องแรก จากค่ายเนรมิตรหนังฟิล์ม". trueid. สืบค้นเมื่อ 2 December 2022.
- ↑ 4.0 4.1 CHOLATHIT (2021-12-20). "4 KINGS อาชีวะ ยุค 90s กับ 7 ปีที่รอคอย เจอกัน 9 ธ.ค. ทุกโรงภาพยนตร์" [4 Kings with 7 years of waiting, see you on 9 Dec every cinema]. Tnzpy. สืบค้นเมื่อ 2022-07-15.
- ↑ "คุยกับ 'เนรมิตรหนัง ฟิล์ม' หลังความสำเร็จของ 4KINGS". เดอะโมเมนตัม.
- ↑ "เจอได้! 'พี่เต้ พระราม 7' ชวนเด็กช่างดู 4KINGS ฟรี 50 ที่นั่ง หลังหนังทำเงิน ขึ้นแท่นเบอร์ 1 บ็อกซ์ออฟฟิศไทย" [You can meet him! 'Brother Tae of Rama 7' invites vocational students to watch 4KINGS for free, 50 seats after the movie earns money being No. 1 at the Thai box office]. Matichon. 2021-12-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-14. สืบค้นเมื่อ 2022-07-15.