กองทัพอากาศพม่า

กองกำลังทางอากาศของกองทัพเมียนมาร์

กองทัพอากาศแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ก่อตั้งขึ้นในปี 1947 เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่ประเทศจะได้รับเอกราช โดยมีบทบาทหลักในการป้องกันน่านฟ้า สนับสนุนภารกิจภาคพื้นดิน และรักษาอธิปไตยทางอากาศของประเทศ ปัจจุบันกองทัพอากาศเมียนมาเป็นหนึ่งในสามเหล่าทัพของกองทัพเมียนมา และมีบทบาทสำคัญในภารกิจต่อต้านกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธในพื้นที่ชายแดน ฐานทัพอากาศที่สำคัญที่สุดคือ ฐานบินมิตถิลาในภาคมัณฑะเลย์ และฐานบินหม่อบิในภาคย่างกุ้ง ตามลำดับ

กองทัพอากาศพม่า
တပ်မတော်
ตราประจำเหล่าทัพ
ประเทศ พม่า
รูปแบบกองทัพอากาศ
กำลังรบ23,000 นาย
281 เครื่องบินฝึกหัด
102 เครื่องบินลำเลียง
383~ เครื่องบินขับไล่/โจมตี
140 เฮลิคอปเตอร์
วันสถาปนา16 มกราคม พ.ศ. 2490
ผู้บังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลโท เส่ง วิน
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพลเอกอาวุโส มิน อ่อง เลง
ผู้บัญชาการทหารอากาศสูงสุดพลอากาศเอก หม่อง หม่อง จ่อ
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายอากาศยาน
ธงประจำเหล่าทัพ
ธงประจำเหล่าทัพ (1948-1974)

กำลังหลักของกองทัพอากาศเมียนมาประกอบด้วยเครื่องบินรบจากรัสเซียและจีน เช่น Su-30, J-7, JF-17 และ MiG-29 นอกจากนี้ยังมีเครื่องบินโจมตีเบาและลำเลียง เช่น Yak-130, K-8 Karakorum ฯลฯ รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงอีกจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศเมียนมายังขาดระบบเดต้าลิงก์ ทำให้มีข้อจำกัดในการรบสมัยใหม่ โดยเฉพาะในระยะเกินสายตา

ในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 กองทัพอากาศเมียนมาถูกวิจารณ์อย่างหนักจากการใช้เครื่องบินโจมตีพลเรือนในพื้นที่ขัดแย้ง ภายใต้แรงกดดันจากประชาคมโลก เมียนมายังคงมองหาแหล่งจัดหาอาวุธจากประเทศพันธมิตร เช่น รัสเซีย จีน และปากีสถาน

ฐานบินของพม่า

แก้

กองทัพอากาศพม่า มีฐานบินจำนวน 8 แห่ง คือ

  1. ฐานบินหม่อบิ ภาคย่างกุ้ง
  2. ฐานบินมิงกลาดอน ภาคย่างกุ้ง
  3. ฐานบินมยิจีนา รัฐกะชีน
  4. ฐานบินมิตถิลา ภาคมัณฑะเลย์
  5. ฐานบินชานเต ภาคมัณฑะเลย์
  6. ฐานบินน้ำสั่น รัฐฉาน
  7. ฐานบินตองอู ภาคพะโค
  8. ฐานบินมะริด ภาคตะนาวศรี

อากาศยานที่ประจำการ

แก้

กองทัพอากาศพม่าได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ รวมถึงด้านการทหารจากจีนมาก เครื่องบินที่ประจำการส่วนใหญ่จึงจัดซื้อจีน ดังนี้

ชื่อรุ่น รูป ประเทศ ประเภท จำนวน
เครื่องบินขับไล่/โจมตี
Sukhoi Su-30     รัสเซีย เครื่องบินรบหลายบทบาท 2 (+4)
MiG-29     รัสเซีย เครื่องบินรบหลายบทบาท 31
JF-17 Thunder     จีน  ปากีสถาน เครื่องบินรบหลายบทบาท 7 (+9)
Nanchang Q-5     จีน เครื่องบินโจมตี 20
Chengdu J-7     จีน เครื่องบินขับไล่ 21
Chengdu J-6     จีน เครื่องบินขับไล่ 1
เครื่องบินลำเลียงทางทหาร
ATR-42     ฝรั่งเศส เครื่องบินขนส่ง 6
Shaanxi Y-8     จีน เครื่องบินขนส่ง 5
Harbin Y-12     จีน เครื่องบินขนส่ง 6
Fokker 70     เนเธอร์แลนด์ เครื่องบินขนส่ง VIP 2
Fokker F-27     เนเธอร์แลนด์ เครื่องบินขนส่ง 1
Pilatus PC-6      สวิตเซอร์แลนด์ เครื่องบินธุระการ และขนส่ง 5
Beechcraft 1900     สหรัฐ เครื่องบินธุระการ และขนส่ง 7
Britten-Norman BN-2     สหราชอาณาจักร เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล 5
เฮลิคอปเตอร์
Mil Mi-2   โปแลนด์ เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ และประสานงาน 22
Mil Mi-17     รัสเซีย เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ 12
Mil Mi-24     รัสเซีย เฮลิคอปเตอร์โจมตี 9
Bell 206     สหรัฐ เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ 4
Bell 205     สหรัฐ เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ 2
Bell 212     สหรัฐ เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ 1
Alouette III     ฝรั่งเศส เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ 13
PZL W-3 Sokół     โปแลนด์ เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ 12
Eurocopter EC120     ฝรั่งเศส เฮริคอปเตอร์ฝึกหัด 3
เครื่องบินฝึก
Yak-130     รัสเซีย เครื่องบินฝึกขั้นสูง 18
FTC 2000G     จีน เครื่องบินฝึกขั้นสูง 6
G 120TP     เยอรมนี เครื่องบินฝึกพื้นฐาน 20
Soko G-4     ยูโกสลาเวีย เครื่องบินฝึก และโจมตี 3
Hongdu JL-8     จีน  ปากีสถาน เครื่องบินฝึกไอพ่น 16
Pilatus PC-7      สวิตเซอร์แลนด์ เครื่องบินฝึก 16
Pilatus PC-9      สวิตเซอร์แลนด์ เครื่องบินฝึก 10
MTX-1A   พม่า เครื่องบินฝึกพื้นฐาน 15
อากาศยานไร้คนขับ
CASC Rainbow   จีน โดรน 12
CASC Rainbow   จีน โดรน 11
Sky 02   จีน โดรนตรวจการณ์
Yellow Cat A2   พม่า โดรนตรวจการณ์ 22

ความพยายามจัดซื้อเครื่องบินในอนาคต

แก้

พม่ามีความสนใจในเครื่องบิน MiG-29N ของมาเลเซียจำนวน 14 ลำในรูปแบบการจัดซื้อมือสอง เนื่องจากมาเลเซียกำลังจะหยุดปฏิบัติการด้วย MiG-29N[1]แต่ล้มเหลวเมื่อมาเลเซียปัดข่าวว่าจะหยุดบินด้วย MiG-29N ทำให้เป็นไปได้ว่าพม่าจะซื้อ JF-17 จากจีน ที่มีจรวด SD-10 SD-10 ยิงได้ 76 กม มีขีดความสามารถในการยิง R-77 ได้ระยะ 180 กม ที่ให้ความสามารถในการโจมตีเกินระยะสายตา (BVR) กับสามารถโจมตีทางทะเลด้วยจรวดนำวิถีต่อต้านเรือรบ C-802 แม้กระทั่งจรวด HARPOON ของอเมริกา ในราคา 15 -​2​0 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่พม่าอาจเพียงสนใจเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าพม่าจะซื้อเครื่องรุ่นดังกล่าว

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้