สมชาย ไชยเวช
พลตำรวจเอกสมชาย ไชยเวช (23 มกราคม พ.ศ. 2477 — 21 เมษายน พ.ศ. 2565) อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดขอนแก่น และอดีตคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช | |
---|---|
ไฟล์:Pol.jpg.jpg | |
สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 8 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2549 | |
รองอธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538 | |
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534 | |
ถัดไป | จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 มกราคม พ.ศ. 2477 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 21 เมษายน พ.ศ. 2565 (88 ปี) จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
เชื้อชาติ | ไทย |
คู่สมรส | ยุวดี ไชยเวช |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 12 |
เป็นที่รู้จักจาก | สมาชิกวุฒิสภา |
ประจำการ | 2502 - 2538 |
---|---|
ชั้นยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กรมตำรวจ |
ประวัติ
แก้พลตำรวจเอก สมชาย เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2477 ณ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนที่ 1 ของ นายเชาว์ กับ นางประสม ไชยเวช มีพี่น้อง 4 คน พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช สมรส กับ นางยุวดี ไชยเวช (สกุลเดิม วงษ์โกวิท) มีบุตร 4 คน
การศึกษา
แก้- มัธยมศึกษา โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร
- ปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 12
- หลักสูตร นักปกครองระดับสูงของกรมการปกครอง รุ่นที่ 10
- หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 29
การรับราชการ
แก้ขณะดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจและรองอธิบดีกรมตำรวจ พ.ศ. 2535-2538 รับผิดชอบงานป้องกันและปราบปรามในเขตนครบาลและจังหวัดทางภาคเหนือ ผลงานการจับกุมคดีสำคัญๆ ได้เป็นจำนวนมาก เป็นประธานจัดสร้างหลวงพ่อโสธร เนื่องในวาระ ครบ 80 ปี กรมตำรวจ ซึ่งสร้างรายได้ให้กรมตำรวจประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาข้าราชการ อีกทั้ง พล.ต.อ.สมชาย ไชยเวช เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจท่านแรก
- พ.ศ. 2502 : รองสารวัตร สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี
- พ.ศ. 2503: รองสารวัตรงานป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง
- พ.ศ. 2503 : ผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จ.สงขลา
- พ.ศ. 2504: ประจำสถานีตำรวจภูธรยะรัง จ.ปัตตานี
- พ.ศ. 2506: ผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรโนนสัง จ.อุดรธานี
- พ.ศ. 2508 : นายเวร ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 4
- พ.ศ. 2510: ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น
- พ.ศ. 2515 : รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น
- พ.ศ. 2518 : ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น
- พ.ศ. 2519: ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์
- พ.ศ. 2520 : รองผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธร กองบัญชาการตำรวจภูธร 2
- พ.ศ. 2523: ผู้บังคับการตำรวจภูธร 4
- พ.ศ. 2527 : ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธร 1
- พ.ศ. 2530 : รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร 1
- พ.ศ. 2532 : ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2535 : ผู้บัญชาการสำนักงานแผนงานและงบประมาณ
- พ.ศ. 2535 : ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2537 : รองอธิบดีกรมตำรวจ
การเมือง
แก้พล.ต.อ.สมชาย ไชยเวช เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2538 และได้ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัด ขอนแก่นในปี พ.ศ. 2543 และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเป็นอันดับหนึ่ง ในจังหวัด ขอนแก่น จากจำนวน 6 ท่าน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2531 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ช.ส.)
- พ.ศ. 2519 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2515 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2527 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
อ้างอิง
แก้ก่อนหน้า | สมชาย ไชยเวช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
- | ไฟล์:RPCA-Logo.png ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2534) |
พลตำรวจโท จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธ์ |
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๔๖ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐, ตอน ๑๙ ข , ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า ๖ ลำดับ ๒๐๓
http://www.rpca.ac.th/oldcommand/page6a4_1.htm เก็บถาวร 2015-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน