การประท้วงในประเทศคาซัคสถาน พ.ศ. 2565

การประท้วงในประเทศคาซัคสถานเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2565 หลังจากที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้นอย่างกะทันหันซึ่งรัฐบาลคาซัคสถานระบุว่าเป็นผลมาจากความต้องการน้ำมันสูงและการรวมหัวกันกำหนดราคาของสถานีบริการน้ำมัน การประท้วงเริ่มขึ้นที่เมืองฌางาวือเซียนซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันที่สำคัญ และต่อมาได้ขยายตัวไปยังเมืองอื่น ๆ ในประเทศอย่างรวดเร็ว[13] รวมถึงเมืองอัลมาเตอซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ ตลอดสัปดาห์แห่งเหตุการณ์ความไม่สงบและการปราบปรามอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิต 225 ราย และถูกจับกุมกว่า 9,900 ราย[14][15]

การประท้วงในประเทศคาซัคสถาน พ.ศ. 2565
ผู้ประท้วงในอักเตอเบ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565
วันที่2–11 มกราคม พ.ศ. 2565
(1 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่คาซัคสถาน
สาเหตุ
เป้าหมาย
วิธีการ
ผล
  • สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม ถึง 19 มกราคม
  • การปล้นสะดมและความโกลาหลในอัลมาเตอตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม ถึง 8 มกราคม
  • ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม
  • กองทัพสั่งยิงโดยไม่มีการเตือนตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม
  • การไว้อาลัยเหยื่อหลายสิบรายในวันที่ 10 มกราคม
  • โตกาเยฟประกาศว่าการประท้วงได้ยุติลงในวันที่ 11 มกราคม
  • เที่ยวบินระหว่างประเทศขาไปและขากลับจากนูร์-ซุลตันกลับมาให้บริการในวันที่ 11 มกราคม
  • กองกำลังซีเอสทีโอที่ประจำการในคาซัคสถานเริ่มถอนกำลังตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม
การยอมผ่อนปรน
  • การลาออกของนายกรัฐมนตรีอัสการ์ มามิน
  • การลาออกของรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีมามิน
  • การปลดนาซาร์บายิฟจากตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคง
  • การตรึงราคาเชื้อเพลิงที่ 50 เตียงเกียต่อลิตรเป็นเวลา 6 เดือน
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วง
ผู้นำ
กลุ่มเกี่ยวข้อง
ไม่มีผู้นำที่ชัดเจน[5]
จำนวน
3,770 นาย[6]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 206 คน[10](ส่วนใหญ่เป็นผู้ประท้วง)
สมาชิกกองกำลังรักษาความมั่นคงเสียชีวิต 19 นาย[11]
ถูกจับกุมมากกว่า 9,900 คน[12]

ความไม่พอใจรัฐบาลและอดีตประธานาธิบดีนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ ที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้การประท้วงขยายตัวเช่นกัน เนื่องจากไม่มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลคาซัคสถานที่ได้รับความนิยม จึงดูเหมือนว่าประชาชนมารวมตัวกันในเหตุการณ์ความไม่สงบโดยตรง เพื่อตอบสนองการประท้วง ประธานาธิบดีฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในแคว้นมังเฆิสเตาและเมืองอัลมาเตอโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม ส่วนคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีอัสการ์ มามิน ประกาศลาออกในวันเดียวกัน[16][17][18] และเพื่อตอบสนองคำร้องขอของโตกาเยฟ องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (ซีเอสทีโอ; พันธมิตรทางทหารของกลุ่มรัฐหลังโซเวียตซึ่งประกอบด้วยคีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เบลารุส รัสเซีย อาร์มีเนีย และคาซัคสถานเอง) ตกลงที่จะส่งกำลังทหารเข้าไปในคาซัคสถานโดยประกาศว่าเป็นภารกิจรักษาสันติภาพ ตำรวจท้องถิ่นรายงานว่า "ผู้โจมตีถูกคิดบัญชีไปหลายสิบราย" ในขณะที่อดีตประธานาธิบดีนาซาร์บายิฟถูกปลดจากตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งคาซัคสถาน[19]

เพื่อเป็นการผ่อนปรน ประธานาธิบดีโตกาเยฟกล่าวว่ารัฐบาลได้กลับมาใช้มาตรการตรึงราคาเชื้อเพลิงรถยนต์ที่ 50 เตียงเกียต่อลิตรต่อไปอีก 6 เดือน[20][21][22] ในวันที่ 7 มกราคม เขากล่าวในแถลงการณ์ว่า "ระเบียบตามรัฐธรรมนูญได้รับการฟื้นฟูเป็นส่วนใหญ่ในทุกแคว้นของประเทศแล้ว"[23][24][25] นอกจากนี้ยังประกาศด้วยว่าเขาได้สั่งให้กองทัพใช้กำลังขั้นรุนแรงถึงตายกับผู้ประท้วง โดยอนุมัติคำสั่ง "ยิงสังหาร" ผู้ใดก็ตามที่เดินขบวนประท้วงโดยไม่ต้องเตือนล่วงหน้า เรียกผู้ประท้วงว่า "โจรและผู้ก่อการร้าย" และกล่าวว่าจะใช้กำลังเพื่อ "กวาดล้างการประท้วง" ต่อไป[26][27][28][29]

ในวันที่ 10 มกราคม รัฐบาลได้ประกาศวันไว้อาลัยเหยื่อจากเหตุการณ์ประท้วง[30] ในวันที่ 11 มกราคม โตกาเยฟกล่าวว่ารัฐบาลสามารถกู้สถานการณ์ความสงบเรียบร้อยคืนมาได้แล้วและการประท้วงได้สิ้นสุดลง[31] เขาประกาศว่ากองกำลังซีเอสทีโอจะเริ่มถอนกำลังออกจากประเทศในวันที่ 13 มกราคม และจะถอนออกทั้งหมดภายใน 10 วันข้างหน้า[32] ในสุนทรพจน์ที่โตกาเยฟกล่าวต่อรัฐสภาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา เขารับทราบความไม่พอใจของสาธารณชนเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันของรายได้และวิพากษ์วิจารณ์นาซาร์บายิฟและบุคคลใกล้ชิดเกี่ยวกับความมั่งคั่งของพวกเขา[33] นอกจากนี้เขายังเสนอชื่อแอลีย์ฆัน สมาเยอโลฟ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกด้วย[34] เที่ยวบินระหว่างประเทศกลับมาเปิดให้บริการทั้งขาไปและขากลับจากกรุงนูร์-ซุลตัน เมืองหลวงของประเทศ[35]

อ้างอิง แก้

  1. Pikulicka-Wilczewska, Agnieszka. "Do Kazakhstan's protests signal an end to the Nazarbayev era?". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ มกราคม 12, 2022. It is important to understand that protesters are never a unified mass. It is not that a single group or political party took to the streets. In all the regions where the protests took place, it was a mixed group of people.
  2. "CSTO agrees to intervene in Kazakhstan unrest | Eurasianet". Eurasianet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2022. สืบค้นเมื่อ 6 January 2022.
  3. "CSTO agrees to intervene in Kazakhstan unrest". Eurasianet. 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
  4. "Commander of the Airborne Forces Serdyukov became the head of the CSTO peacekeepers in Kazakhstan. (In Russian)". Ria Novosti. 7 January 2022.
  5. Feoktistova, Olga (10 January 2022). "Protests in Kazakhstan continue: 8 people have already been arrested, Putin saw there 'technologies of the Ukrainian Maidan'". ForumDaily.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Pannier, Bruce (6 January 2022). "Analysis: The Consequences Of Inviting Russian-Led CSTO Troops Into Kazakhstan". RFE/RL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. Russia is reportedly sending 3,000 soldiers to Kazakhstan, Belarus some 500, Tajikistan 200, and Armenia 70, with Kyrgyzstan set to decide on January 7.
  7. "Миротворческая рота 103-й воздушно-десантной бригады ССО вылетела в Казахстан". Belteleradio. 6 January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022.
  8. "Kyrgyzstan to send around 150 soldiers to Kazakhstan – report". akipress.com. AKIpress News Agency. 7 January 2022.
  9. "Armenian peacekeepers left for Kazakhstan". mil.am. Ministry of Defense of the Republic of Armenia. 7 January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. ...RA Armed Forces sent a peacekeeping subdivision to the Republic of Kazakhstan (100 servicemen) as part of the CSTO peacekeeping forces.
  10. "Kazakh authorities say 225 people killed in violent unrest". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
  11. "Kazakhstan puts unrest death toll at 225". Reuters. 2022-01-15. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
  12. "Kazakh President Announces CSTO Troop Withdrawal, Appoints New PM". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  13. Lillis, Joanna (2022-01-03). "Kazakhstan: Gas price hike fuels Zhanaozen protests". eurasianet.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "Nearly 8,000 detained in Kazakhstan over violent protests". AP NEWS. 2022-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  15. "Kazakh President Announces CSTO Troop Withdrawal, Appoints New PM". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  16. Auyezov, Olzhas (5 January 2022). "Kazakhstan government's resignation fails to quell protests". Reuters. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
  17. "Kazakhstan protests: government resigns amid rare outbreak of unrest". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
  18. Shaun, Walker; Bisenov, Naubet (2022-01-05). "Kazakhstan protests: Moscow-led alliance sends 'peacekeeping forces'". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
  19. Jacobs, Harrison (2022-01-06). "Russia-led alliance troops have arrived in Kazakhstan after mass protests". NPR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
  20. Reuters (2022-01-05). "Kazakhstan declares state of emergency in protest-hit city, province". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  21. "Kazakhstan unrest: Government restores fuel price cap after bloodshed". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-01-06. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  22. "Kazakhstan imposes 180-day state regulation on fuel, food prices amid protests". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  23. Auyezov, Olzhas (2022-01-07). "Kazakh president says constitutional order mostly restored". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  24. "Kazakhstan unrest: Fresh gunfire as president says order largely restored". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  25. "Kazakh President: Constitutional Order Restored". www.voanews.com. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  26. Child, Anealla Safdar,David. "Kazakh leader tells troops to shoot without warning". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  27. "Kazakhstan president says he gave order to 'open fire with lethal force'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  28. "Kazakh leader ordered use of lethal force on 'terrorists'". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  29. Auyezov, Olzhas (7 January 2022). "Kazakh president gives shoot-to-kill order to put down uprising". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  30. "Nearly 8,000 detained in Kazakhstan amid unrest". AP NEWS. 2022-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  31. Reuters (2022-01-11). "President of Kazakhstan says he has weathered attempted coup d'etat". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  32. "Kazakh President Announces CSTO Troop Withdrawal, Appoints New PM". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  33. Vaal, Tamara (2022-01-11). "Russian troops to quit Kazakhstan, says president, taking aim at the elite". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  34. "Kazakh President Announces CSTO Troop Withdrawal, Appoints New PM". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  35. "В Нур-Султане восстановили международное авиасообщение". РБК (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "n" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="n"/> ที่สอดคล้องกัน