เทนนิสออสเตรเลียนโอเพน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การแข่งขันเทนนิสออสเตรเลียนโอเพน (อังกฤษ: Australian Open) เป็นการแข่งขันเทนนิสแกรนด์สแลมรายการแรกของปี จัดขึ้นที่เมลเบิร์น พาร์ค ในนครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเดือนมกราคม ทำการแข่งขันบนฮาร์ดคอร์ท จัดการแข่งขันเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1905
เว็บไซต์ทางการ | |
ผู้ก่อตั้ง | 1905 |
---|---|
ครั้งที่จัด | 112 (2024) |
ที่ตั้ง | เมลเบิร์น (ตั้งแต่ 1972) ประเทศออสเตรเลีย |
สนาม | เมลเบิร์น พาร์ก (ตั้งแต่ 1988) |
พื้นสนาม | พื้นแข็ง – กลางแจ้ง[a][b] (ตั้งแต่ 1988) พื้นหญ้า – กลางแจ้ง (1905–1987) |
เงินรางวัล | 86,500,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (2024) |
ชาย | |
จับฉลาก | 128S (128Q) / 64D (16Q)[c] |
ผู้ชนะเลิศปัจจุบัน | ยานนิค ซินเนอร์ (เดี่ยว) โรฮัน โบพันนา แมทธิว เอ็บเดน (คู่) |
ชนะเลิศเดี่ยวสูงสุด | นอวาก จอกอวิช (10) |
ชนะเลิศคู่สูงสุด | เอเดรียน ควิสต์ (10) |
หญิง | |
จับฉลาก | 128S (128Q) / 64D (16Q) |
ผู้ชนะเลิศปัจจุบัน | อารีนา ซาบาเลนกา (เดี่ยว) เซียะ ซู เหว่ย เอลิเซ เมอร์เทนส์ (คู่) |
ชนะเลิศเดี่ยวสูงสุด | มาร์กาเร็ต คอร์ต (11) |
ชนะเลิศคู่สูงสุด | เธลมา คอยน์ ลอง (12) |
คู่ผสม | |
จับฉลาก | 32 |
ผู้ชนะเลิศปัจจุบัน | เซียะ ซู เหว่ย ยาน ซีลินสกี |
ชนะเลิศสูงสุด (ชาย) | 4 แฮร์รี่ ฮอปแมน |
ชนะเลิศสูงสุด (หญิง) | 4 เธลมา คอยน์ ลอง |
แกรนด์สแลม | |
รายการล่าสุด | |
ออสเตรเลียนโอเพน 2024 |
ลักษณะเด่นของการแข่งขันออสเตรเลียนโอเพน คือเป็นการแข่งขันในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว เนื่องจากในเดือนมกราคมเป็นฤดูร้อนของประเทศแถบซีกโลกใต้ เสมือนเป็นการทดสอบสภาพร่างกายของนักเทนนิสที่กลับจากการพักผ่อนในช่วงปิดฤดูกาล
พื้นผิวคอร์ทที่ใช้แข่งขันในตอนเริ่มต้นใช้พื้นผิวหญ้า ต่อมาเมื่อย้ายสถานที่มาที่เมลเบิร์น พาร์คในปี 1988 จึงเปลี่ยนมาใช้พื้นผิว Rebound Ace Hardcourt ที่สร้างขึ้นจากส่วนผสมของชั้นยางและไฟเบอร์กลาส บนผิวยางมะตอยหรือคอนกรีต แมทส์ วิแลนเดอร์ เป็นนักเทนนิสคนเดียวที่ชนะเลิศได้บนสองพื้นผิวคอร์ท ในปี 2008 จะมีการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวที่ใช้แข่งขันเป็น Plexicushion ที่ถูกวิจารณ์ว่ามีความคล้ายคลึงกับพื้นผิวที่ใช้แข่ง ยูเอสโอเพน [1]
ออสเตรเลียนโอเพน เคยถูกย้ายไปจัดการแข่งขันในเดือนธันวาคมระหว่าง ค.ศ. 1977-1985 ก่อนจะย้ายกลับไปจัดในเดือนมกราคมในปี 1987 ทำให้ไม่มีการแข่งขันในปี 1986
ทำเนียบผู้ชนะเลิศในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยวตั้งแต่ ค.ศ. 2000
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ Rebound Ace was used from 1988 to 2007, Plexicushion since 2008.
- ↑ Except for Rod Laver Arena, Margaret Court Arena, and John Cain Arena during rain delays.
- ↑ In the main draws, there are 128 singles players (S) and 64 doubles teams (D), and there are 128 and 16 entrants in the respective qualifying (Q) draws.
อ้างอิง
แก้- ↑ Fears of second-rate US Openข่าวจากดิออสเตรเลียน เก็บถาวร 2008-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน