การเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ค.ศ. 2022

การเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ค.ศ. 2022 ถูกจัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2022 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียงห้าปี ซึ่งหมายความว่าประธานาธิบดีคนปัจจุบันมุน แจ-อินไม่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นวาระที่สอง ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านนำโดยยุน ซ็อก-ย็อลชนะแบบเฉียดฉิว[2] ผู้ท้าชิงของเขาคืออี แจ-มย็องจากพรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลที่ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้[3]

การเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ค.ศ. 2022

← 2017 9 มีนาคม ค.ศ. 2022 (2022-03-09) 2027 →
การหยั่งเสียง
ลงทะเบียน44,197,692
ผู้ใช้สิทธิ77.1% (ลดลง0.1)[1]
 
South Korea President Yoon Suk Yeol portrait.jpg
이재명 더불어민주당 당대표.jpg
ผู้ได้รับเสนอชื่อ ยุน ซ็อก-ย็อล อี แจ-มย็อง
พรรค พรรคพลังประชาชน (เกาหลีใต้) พรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี
คะแนนเสียง 16,394,815 16,147,738
% 48.56% 47.83%


ประธานาธิบดีก่อนการเลือกตั้ง

มุน แจ-อิน
พรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี

ว่าที่ประธานาธิบดี

ยุน ซ็อก-ย็อล
พรรคพลังประชาชน (เกาหลีใต้)

ประวัติ แก้

หลังจากเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองในปี ค.ศ. 2016 ประธานาธิบดีพัก กึน-ฮเยลูกสาวของอดีตประธานาธิบดีพัก จ็อง-ฮีได้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งและได้มีการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 2017[4] ทำให้มุน แจ-อินจากพรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี เอาชนะฮง จุน-พโยจากพรรคเสรีนิยมเกาหลี และ อัน ช็อล-ซูจากพรรคประชาชนแบบขาดลอยในการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 ทำให้พรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลีกลับสู่อำนาจในรอบ 9 ปี[5] หลังจากดำรงตำแหน่งได้ 3 ปี ตำแหน่งของมุนก็มั่นคงขึ้นจากชัยชนะของพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติปี ค.ศ. 2020 ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลีได้รับเสียงข้างมากทั้งสิ้น 180 ที่นั่งจากทั้งหมด 300 ที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ[6]

ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติปี ค.ศ. 2020 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นใหม่ในกรุงโซลซึ่งเคยเลือกพรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี ได้หันมาโหวตให้พรรคอนุรักษ์นิยมอย่างพรรคพลังประชาชนแทน คิดเป็นร้อยละ 55.3 ต่อ 34.1 ในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งช่วงอายุ 20 ปี และ56.7% ต่อ 38.7% ในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งในช่วงอายุ 30 ปี[7][8] พรรคพลังประชาชนเลือกอี จุน-ซ็อก วัย 36 ปี เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2021 การรณรงค์หาเสียงของ อี มุ่งเน้นไปที่คนหนุ่มสาวและประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งถูกมองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบรุ่นต่อรุ่นในการเมืองเกาหลีใต้ อี ไม่เคยเป็นข้าราชการ หรือ นักการเมืองมาก่อน[9] ซึ่งก็ตรงกับหลายฝ่ายที่เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ขาดประสบการณ์ด้านกฎหมายหรือการบริหารในทำนองเดียวกัน ผู้แสดงความเห็นตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นความไม่ไว้วางใจของสาธารณชนที่เพิ่มขึ้น [10]

อ้างอิง แก้

  1. http://info.nec.go.kr/electioninfo/electionInfo_report.xhtml
  2. Hyun-woo, Nam (2022-03-09). "Yoon Suk-yeol wins presidential election". Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  3. Sang-Hun, Choe (2022-03-09). "Live Updates: Opposition's Yoon Wins Tight Race for South Korean Presidency". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  4. McCurry, Justin (2017-03-10). "Park Geun-hye: South Korean court removes president over scandal". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-05.
  5. Kwon, K. J.; Boykoff, Pamela; Griffiths, James (2017-05-10). "South Korea election: Moon Jae-in declared winner". CNN. สืบค้นเมื่อ 2022-03-05.
  6. "South Korea's governing party wins election by a landslide". Al Jazeera. 2020-04-16. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  7. "(Yonhap Feature) How young voters, once solid supporters of liberal causes, turned against Moon's party in by-elections". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). 9 April 2021.
  8. "Will resurgent misogyny undo South Korea's progress on gender equality?". East Asia Forum (ภาษาอังกฤษ). 29 May 2021.
  9. "(News Focus) Underdog's ascent to PPP leadership mirrors young voters' frustration with political establishment". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). 11 June 2021.
  10. "Assembly stints no longer prerequisite for presidential bid". koreatimes (ภาษาอังกฤษ). 29 June 2021.