ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลี대한민국 대통령; ฮันจา大韓民國 大統領; อาร์อาร์Daehanmin-guk daetongnyeong) หรือ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ย่อได้ว่า POTROK หรือ POSK (เกาหลี대통령) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี เป็นผู้กำกับดูแลฝ่ายบริหารของรัฐบาลและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียง 5 ปี วาระเดียว

ประธานาธิบดี
แห่งสาธารณรัฐเกาหลี
ตราประจำตำแหน่ง
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
อี แช-มย็อง
ตั้งแต่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2568
การเรียกขานท่านประธานาธิบดี
(ไม่เป็นทางการ)
ฯพณฯ
(ทางการ)
ท่านผู้นำ
(การทูตระหว่างประเทศ)
จวนทำเนียบน้ำเงิน
วาระ5 ปี
(วาระเดียว)
ผู้ประเดิมตำแหน่งอี ซึง-มัน
สถาปนา24 กรกฎาคม พ.ศ. 2491
รองนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้
เว็บไซต์english.president.go.kr


วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2568 อี แช-มย็อง จากพรรคพรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้ จากการที่อดีตประธานาธิบดียุน ซ็อก-ย็อล ถูกถอดถอน และอี สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันถัดมา[1][2][3]

ความเป็นมา

แก้

ก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐเกาหลีในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ถูกสถาปนาซึ่งที่เซี่ยงไฮ้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2462 ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์เคลื่อนไหวครั้งแรกเดือนมีนาคม พ.ศ. 2462 ประกอบกับวัตถุประสงค์ในการต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งขณะนั้น เกาหลีถูกญี่ปุ่นยึดครอง ความชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลเฉพาะกาลได้รับการยอมรับและสืบทอดโดยเกาหลีใต้ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) จนถึงฉบับปัจจุบันในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530)

วาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ก่อนหน้านั้นมีวาระ 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ถึง พ.ศ. 2515 และ 7 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ถึง 2530 ในปัจจุบันประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

อำนาจและหน้าที่ของประธานาธิบดี

แก้

ในหมวดที่ 4 ของรัฐธรรมนุญแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้กล่าวถึงอำนาจและหน้าที่ของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คือ

  • สนับสนุนรัฐธรรมนูญ
  • ปกป้องอธิปไตยของชาติธำรงค์ความเป็นเอกราชแห่งมาตุภูมิสาธารณรัฐเกาหลี
  • รวมชาติเกาหลีด้วยวิธีสันติเพื่อให้เกิดความสงบสุขบนคาบสมุทรเกาหลี

และประธานาธิบดียังมีอำนาจ

  • ประกาศสงคราม
  • จัดทำประชามติในเรื่องผลประโยชน์ของชาติ
  • ออกคำสั่งในทางบริหาร
  • มอบเครื่องอิสริยาภรณ์และเหรียญอิสริยาภรณ์ให้กับผู้ที่ทำประโยชน์กับประเทศชาติ
  • การอภัยโทษ
  • ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและระงับใช้กฎหมายใด ๆ กับประกาศกฎอัยการศึก

หากสภาแห่งชาติประกาศลงคะแนนเสียงไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี คำสั่งนั้นถือเป็นโมฆะ

รายนามประธานาธิบดีและผู้รักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้

แก้

ไทม์ไลน์ของประธานาธิบดี

แก้
Yoon Suk YeolMoon Jae-inPark Geun-hyeLee Myung-bakRoh Moo-hyunKim Dae-jungKim Young-samRoh Tae-wooChun Doo-hwanChoi Kyu-hahPark Chung HeeYun Po-sunSyngman RheeSouth KoreaFifth Republic of KoreaFourth Republic of KoreaThird Republic of KoreaSupreme Council for National ReconstructionSecond Republic of KoreaFirst Republic of Korea

หมายเหตุ

แก้
  1. จากวันที่ 26 เมษายน ถึงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ฮอ จ็อง รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี ในช่วงระหว่างที่ตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลงภายหลังจากการลาออกของ อี ซึง-มัน และอยู่ในช่วงระหว่างก่อนที่ประธานาธิบดียุน โบ-ซ็อน จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
  2. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 โกห์ คุน รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี เนื่องมาจากการยื่นถอดถอนประธานาธิบดี โน มู-ฮย็อน โดยโนกลับมารับตำแหน่งประธานาธิบดีภายหลังการยื่นถอดถอนถูกยกไปตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
  3. จากวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ฮวัง คโย-อัน รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี เนื่องมาจากการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีพัก กึน-ฮเย โดยฮวังรักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั่งประธานาธิบดีมุน แจ-อิน เข้ารับตำแหน่งภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ค.ศ. 2017

อ้างอิง

แก้
  1. Joo Hee-yeon; Kim Me-geon (June 3, 2025). "New president to take office hours after polls close". The Chosun Daily. สืบค้นเมื่อ June 3, 2025.
  2. Baek, Byung-yeul. "Lee Jae-myung, factory worker-turned-reformer, set to lead Korea". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ June 3, 2025.
  3. Kim, Eun-jung (4 June 2025). "(URGENT) Lee Jae-myung formally begins presidential term". Yonhap News Agency. สืบค้นเมื่อ 4 June 2025.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้