ยุน ซ็อก-ย็อล

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

ยุน ซ็อก-ย็อล[b] (เกาหลี윤석열; เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2503) เป็นนักการเมืองชาวเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนปัจจุบัน เคยดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดเกาหลีใต้ระหว่าง พ.ศ. 2562 ถึง 2564 ในรัฐบาลของมุน แจ-อิน[4]

ยุน ซ็อก-ย็อล
윤석열
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2565
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 13
หยุดปฏิบัติหน้าที่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[a]
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้ามุน แจ-อิน
อัยการสูงสุดเกาหลีใต้
ดำรงตำแหน่ง
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2564
ประธานาธิบดีมุน แจ-อิน
ก่อนหน้ามุน มู-อิล
ถัดไปKim Oh-soo
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 ธันวาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
โซล ประเทศเกาหลีใต้
พรรคการเมืองพรรคพลังประชาชน (2564–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
อิสระ (ก่อน พ.ศ. 2564)
คู่สมรสคิม ค็อน-ฮี (สมรส 2012)
บุพการี
ที่อยู่อาศัยทำเนียบประธานาธิบดี
การศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (LLB, LLM)
อาชีพนักการเมือง
วิชาชีพทนาย
ศาสนาโรมันคาทอลิก (ชื่อคริสต์: แอมโบรส)[1]
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นGyong (굥)[2]
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
윤석열
ฮันจา
尹錫悅
อาร์อาร์Yun Seokyeol
เอ็มอาร์Yun Sŏgyŏl
IPA[junsʰʌ̹ŋɲ̟ʌ̹ɭ, -ɟʌ̹ɭ][b]

ยุนเกิดที่โซล จากนั้นเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าอัยการ ยุนมีบทบาทสำคัญในการตัดสินลงโทษอดีตประธานาธิบดี พัก กึน-ฮเย ฐานใช้อำนาจในทางมิชอบ[4][5] ยุนเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน โดยเอาชนะอี แจ-มย็อง ผู้ท้าชิงจากพรรคประชาธิปไตยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ พ.ศ. 2565 และมีกำหนดเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ในฐานะประธานาธิบดี ยุนได้รับคะแนนนิยมต่ำเป็นส่วนใหญ่ โดยในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมการเบียดเสียดที่ฮาโลวีนในกรุงโซล พ.ศ. 2565[6] และวิกฤตการแพทย์ในเกาหลีใต้ พ.ศ. 2567 ซึ่งวิกฤตครั้งหลังยังคงดำเนินอยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 นักวิจารณ์กล่าวหาว่าในยุคของยุน เกาหลีใต้กำลังประสบกับการถดถอยทางประชาธิปไตยและการกลับมาของลัทธิเผด็จการ[7] พรรคของเขาพ่ายแพ้อย่างถล่มทลายในเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาปี 2024 และอำนาจของเขาถูกประเมินว่าลดลงอย่างมาก

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ยุนประกาศกฎอัยการศึกในเกาหลีใต้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศใช้ตั้งแต่ยุคเผด็จการทหารของชุนดูฮวานในปี 1980 เขาให้เหตุผลในการประกาศนี้โดยกล่าวหาว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนเป็นผู้สนับสนุนเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม ยุนยกเลิกกฎอัยการศึกหลังจากที่รัฐสภาผ่านมติฉุกเฉินเพื่อลบล้างการประกาศดังกล่าวเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคำปราศรัยของเขา[8]

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567 รัฐสภาเกาหลีใต้มีมติถอดถอนยุนออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยมติ 204 ต่อ 85 เสียง จากสมาชิกสภาที่เข้าร่วมประชุมเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีทั้งหมด 300 คน โดยในจำนวนนี้ 3 คน งดออกเสียง และอีก 8 คน เป็นบัตรเสีย ส่งผลให้ยุนต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ในทันที[9] จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและลงมติว่า จะถอดถอนประธานาธิบดีหรือไม่ ซึ่งกระบวนการนี้ อาจต้องใช้เวลานานถึง 180 วัน[10]

ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ยุนถูกออกหมายจับ และถูกจับกุมในอีกสิบห้าต่อวันต่อมา เขาเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรกในประวัติศาสตร์ที่ถูกจับกุมขณะดำรงตำแหน่ง[11][12]

หมายเหตุ

แก้
  1. หยุดปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567 และ ชเว ซัง-ม็อก รักษาการแทน
  2. 2.0 2.1 ตามกฎการอ่านภาษาเกาหลีทั่วไป ชื่อของยุนควรอ่านเป็น 서결 ซอ-กย็อล [sʰʌ̹gɟʌ̹ɭ] แต่เขานิยมออกเสียงชื่อตนเองเป็น 성녈 ซ็อง-นย็อล [sʰʌ̹ŋɲ̟ʌ̹ɭ] เหมือนว่าชื่อนี้เขียนเป็น 석렬 Seogryeol หรือ 석녈 Seognyeol[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "윤석열 후보자 정보 대선2022". JoongAng Ilbo (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
  2. 정남구 (8 January 2023). "'윤'과 '굥'…서울교통'굥'사 소동 [유레카]". The Hankyoreh (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 15 August 2024.
  3. 박창원 (13 April 2021). 윤석열, '윤서결' 혹은 '윤성녈'. Kyungbuk Maeil [ko]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2023. สืบค้นเมื่อ 12 January 2022.
  4. 4.0 4.1 "Who is Yoon Seok-youl, South Korea's conservative candidate for president?". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ February 13, 2022.
  5. Shin, Hyonhee (November 5, 2021). "S.Korea's ex-top prosecutor to challenge Moon's party in 2022 presidential election". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ February 13, 2022.
  6. "Thousands attend candlelight vigils for Halloween disaster victims across South Korea". ABC News. 6 November 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2022. สืบค้นเมื่อ 12 January 2023.
  7. "Clear Democratic Erosion in South Korea: How the Presidency of Yoon Suk-yeol is Undermining Democracy – Democratic Erosion". democratic-erosion.org. 4 November 2024. สืบค้นเมื่อ 3 December 2024.
  8. "South Korea cabinet lifts martial law". BBC News. 3 December 2024. สืบค้นเมื่อ 3 December 2024.
  9. Wong, Tessa; Mackenzie, Jean; Kwon, Jake; Choi, Leehyun (14 December 2024). "South Korea's president impeached by parliament after mass protests over short-lived martial law". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 December 2024.
  10. "ยุน ซ็อน-ย็อลและรัฐสภาเกาหลีใต้อยู่ภายใต้การตรวจสอบ". เอ็นเอชเคเวิลด์. 15 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "South Korea's Yoon arrested, says anti-graft agency". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 14 January 2025.
  12. "공수처, 윤석열 대통령 체포". YTN (ภาษาเกาหลี). 15 January 2025.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้