แอร์-360 แนปตูน
แอร์-360 แนปตูน (ยูเครน: Р-360 «Нептун», อักษรโรมัน: R-360 "Neptun"; อังกฤษ: R-360 Neptune) เป็นขีปนาวุธต่อต้านเรือ ซึ่งพัฒนาโดยรัฐวิสาหกิจสำนักออกแบบรัฐคีฟ (ลุซ) (Державне підприємство Державне Київське конструкторське бюро «Луч») ของประเทศยูเครน
Р-360 «Нептун» แอร์-360 แนปตูน | |
---|---|
ขีปนาวุธแอร์-360 แนปตูน ที่งานแสดงสินค้านานาชาติ Arms and Security 2015 | |
ชนิด | ขีปนาวุธต่อต้านเรือ ขีปนาวุธร่อน |
แหล่งกำเนิด | ยูเครน |
บทบาท | |
ประจำการ | พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | กองทัพเรือยูเครน |
สงคราม | สงครามรัสเซีย–ยูเครน |
ประวัติการผลิต | |
ผู้ออกแบบ | สำนักออกแบบลุซ (Державне Київське конструкторське бюро «Луч»)[1] |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 870 กิโลกรัม (1,920 ปอนด์)[1] |
น้ำหนักหัวรบ | 150 กิโลกรัม (330 ปอนด์) |
พิสัยปฏิบัติการ | 300 กิโลเมตร (190 ไมล์)[1] |
ความเร็ว | ต่ำกว่าความเร็วของเสียง[1] |
การออกแบบขีปนาวุธแนปตูน มีพื้นฐานมาจากขีปนาวุธต่อต้านเรือ Kh-35 (รัสเซีย: Х-35, เนโท: AS-20 'Kayak') ของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการปรับปรุงระยะยิงและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก[2] ระบบการยิงขีปนาวุธนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อปราบเรือผิวน้ำและเรือขนส่งที่มีระวางขับน้ำมากถึง 5,000 ตัน โดยสามารถปฏิบัติการทั้งในรูปขบวนรถหรือแยกอิสระ
กองทัพเรือยูเครนได้ประจำการระบบยิงขีปนาวุธแนปตูนตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564[3]
การพัฒนา
แก้ขีปนาวุธดังกล่าวถูกเปิดตัวครั้งแรกในงานนิทรรศการนานาชาติ Arms and Security ในปี พ.ศ. 2558 ที่กรุงเคียฟ[4]
จากแหล่งข้อมูลที่เปิดเผย ระบุว่าการทดสอบการร่อนของขีปนาวุธเกิดขึ้นครั้งแรกในไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2559 การผลิตระบบขีปนาวุธขั้นสูงเกิดขึ้นโดยความร่วมมือกับบริษัทยูเครนต่าง ๆ รวมถึง บริษัทร่วมทุนของรัฐ อาร์แตม (ДАХК «Артем»), บริษัทผลิตเครื่องบินของรัฐคาร์กิว (Харківський авіаційний завод), บริษัทร่วมทุน มอตอร์ ซิช (Мотор Січ) (เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน MS-400), รัฐวิสาหกิจโรงงานผลิตเครื่องจักรภาคใต้ ปิวแดนมัช (Південмаш, ВО ПМЗ), บริษัทของรัฐลวิว ลอร์ตา (Львівський державний завод «ЛОРТА») และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเรดาร์โดย วิสาหกิจผลิตเครื่องจักรฌูลานสกีย (วิซาร์) (Жулянський машинобудівний завод «Візар»), วิสาหกิจวิจัยและผลิต ราดิออนิคส์ (НВП «Радіонікс») (ระบบค้นหา), รัฐวิสาหกิจผลิตอุปกรณ์พิเศษ อาร์แซนัล (КП СПБ «Арсенал») (ระบบนำทาง) และอื่น ๆ[ต้องการอ้างอิง]
การทดสอบระบบครั้งแรกดำเนินการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559 โดยมีเลขาธิการสภาความมั่นคงและกลาโหมแห่งชาติยูเครน (РНБО, NSDC) ออแลกซันดร์ ตูร์ชินอฟ (Олександр Валентинович Турчинов) เข้าร่วมสังเกตการณ์ ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2560 ขีปนาวุธแนปตูนได้รับการทดสอบพร้อมกับการทดลองระบบปล่อยขีปนาวุธหลายลำกล้อง วิลฮา (Ві́льха) อย่างไรก็ตามผลการทดสอบและประสิทธิภาพของแนปตูนไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ[5] สภาความมั่นคงและกลาโหมแห่งชาติได้เผยแพร่ข่าว การทดสอบการร่อนของระบบขีปนาวุธที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561[6] ต่อมาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ขีปนาวุธประสบความสำเร็จในการกระทบเป้าหมายที่ระยะ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) ระหว่างการทดสอบการยิงในแคว้นออแดซาทางตอนใต้[7] เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 ขีปนาวุธได้รับการทดสอบสำเร็จอีกครั้ง โดยพุ่งชนเป้าหมายระหว่างการทดสอบใกล้กับเมืองออแดซา ประธานาธิบดีแปตรอ ปอรอแชนกอ แถลงว่าระบบแนปตูนจะเข้าประจำการในกองทัพยูเครนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562[8]
หลังจากการถอนตัวของทั้งสหรัฐและสหพันธรัฐรัสเซียจากสนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง ยูเครนประกาศว่ากำลังพิจารณาพัฒนาขีปนาวุธร่อนพิสัยกลาง นักวิเคราะห์ระบุว่าขีปนาวุธพิสัยไกลแนปตูนเป็นตัวเลือกสำหรับความพยายามดังกล่าว[9]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 มีรายงานครั้งแรกถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างยูเครนกับอินโดนีเซีย ในการสรุปสัญญาการจัดหาขีปนาวุธแนปตูนจำนวนหนึ่ง[10] ดังนั้นอินโดนีเซียอาจกลายเป็นผู้ซื้อขีปนาวุธแนปตูนจากต่างประเทศเป็นรายแรก ตามรายงานของบริษัทที่ปรึกษาและสื่อมวลชนด้านอาวุธ Defense Express โดยอ้างถึง "ความคืบหน้า" ของบริษัทค้าอาวุธของรัฐ (Укрспецекспорт)
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 กองทัพเรือยูเครนประจำการระบบยิงขีปนาวุธแนปตูนชุดแรก (РК-360МЦ «Нептун», RK-360MC Neptune)[3]
ประวัติในการปฏิบัติการ
แก้เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565 แหล่งข่าวของยูเครนอ้างว่าเรือฟริเกตรัสเซีย อัดมิรัล เอสเซน (Адмирал Эссен) ได้รับความเสียหายจากกองทัพยูเครน[11] ต่อมาเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาสำนักงานประธานาธิบดียูเครน ออแลกซีย อาแรสตอวิช (Олексій Миколайович Арестович) ชี้แจงว่าเรืออัดมิรัล เอสเซน ถูกขีปนาวุธแนปตูนโจมตี รัสเซียไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการอ้างดังกล่าว และเรือยังคงปฏิบัติภารกิจตามปกติ[12][13]
เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565 ระหว่างการบุกโจมตียูเครนของรัสเซีย แหล่งข่าวของยูเครนอ้างว่าเรือลาดตระเวน มอสควา ของรัสเซีย ถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธแนปตูนสองลูก ส่งผลให้เกิดไฟไหม้และการระเบิดของคลังเก็บกระสุนบนเรือ[14] กระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงโดยไม่ระบุถึงสาเหตุว่า ไฟไหม้บนเรือทำให้อาวุธเกิดระเบิดและลูกเรือได้ดำเนินการอพยพออกทั้งหมด[15][16][17] รัสเซียรายงานว่าเรือลำดังกล่าวยังคงลอยลำอยู่ในช่วงหลังของวันที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ แต่สื่อทางการของรัสเซียรายงานในเวลาต่อมาว่า เรือมอสควาจมลงในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยขณะถูกลากจูง[18][19]
เรือลาดตระเวนชั้นสลาวาอย่างเช่นเรือมอสควานั้น โดยทั่วไปแล้ว "มีชื่อเสียงในด้านการบุกโจมตี ไม่ใช่ระบบป้องกันหรือการควบคุมความเสียหาย"[20] ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง มอสควาเป็นเรือรบหนึ่งในสองลำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่จมในการสู้รบ โดยมีขนาดใกล้เคียงกันมากกับเรือ อาเอร์เรอา เฆเนราล เบลกราโน (ARA General Belgrano) ซึ่งจมลงในระหว่างสงครามฟอล์กแลนด์[21]
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 มีรายงานข่าวเกี่ยวกับเรือฟริเกต อัดมิรัล มาคารอฟ (Адмирал Макаров) ของรัสเซียซึ่งเกิดเพลิงไหม้ในทะเลดำ[22][23] กองทัพยูเครนอ้างว่าเรือมาคารอฟ ถูกโจมตีโดยขีปนาวุธต่อต้านเรือแนปตูนของยูเครน เว็บไซต์ข่าวภาษารัสเซียของยูเครน ดุมสกายา (Думская) รายงานว่า กองทัพรัสเซียได้ส่งเฮลิคอปเตอร์หลายลำไปดำเนินการช่วยเหลือลูกเรือ[24]
การออกแบบ
แก้เมื่อติดตั้งใช้งาน ระบบป้องกันชายฝั่งแนปตูนประกอบด้วยเครื่องยิงจรวดอัตตาจร (УСПУ-360) ที่พัฒนาจากรถบรรทุก, ขีปนาวุธสี่ลูก, รถลำเลียง/บรรจุจรวด (ТЗМ-360), รถบังคับบัญชาและสั่งการ (РКП-360), รถขนส่งพิเศษ โดยมีการแทนที่รถต้นแบบ (КрАЗ) ของยูเครนด้วยรถบรรทุก Tatra T815-7 ของสาธารณรัฐเช็ก ระบบนี้ได้รับการออกแบบมาให้ทำงานได้ไกล จากแนวชายฝั่งถึง 25 กิโลเมตร (16 ไมล์)[3]
ขีปนาวุธแนปตูนรวมทั้งเครื่องยนต์จรวดมีความยาว 5.05 เมตร (16 ฟุต 7 นิ้ว) โดยมีปีกแข็งรูปกากบาท ขีปนาวุธแนปตูนได้รับการออกแบบให้ติดตั้งในหีบบรรจุสำหรับขนส่งและปล่อย (TLC) ที่มีขนาด 5.30 × 0.60 × 0.60 เมตร (209 × 24 × 24 นิ้ว) ระบบมีพิสัยทำการสูงสุดประมาณ 300 กิโลเมตร (190 ไมล์)[25][26] ขีปนาวุธเดี่ยวมีน้ำหนัก 870 กิโลกรัม (1,920 ปอนด์) โดยเป็นส่วนหัวรบ 150 กิโลกรัม (330 ปอนด์)[3]
ระเบียงภาพ
แก้ดูเพิ่ม
แก้- วีซีเอ็ม-01 (เวียดนาม)
- บลูสเปียร์ (อิสราเอล – สิงคโปร์)
- เอ็กโซเซต์ (ฝรั่งเศส)
- ฮาร์พูน (สหรัฐ)
- อาร์บีเอส-15 (สวีเดน)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Neptun Anti-Ship Cruise Missile". Military-Today.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2022.
- ↑ Episkopos, Mark (6 กุมภาพันธ์ 2019). "Ukraine Is Building Anti-Ship Missiles (In Part Thanks to Russia)". The National Interest. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2019.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Ponomarenko, Illia (15 มีนาคม 2021). "Ukraine's navy acquires first Neptune cruise missiles". Kyiv Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2021.
- ↑ У Києві презентували нову крилату ракету "Нептун" [New cruise missile "Neptune" was presented in Kyiv] (ภาษายูเครน). Espreso TV. 24 กันยายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2022.
- ↑ Hristoforov, Vladislav (25 มกราคม 2018). Протикорабельна ракета "Нептун" пройшла частину випробувань у 2017 році [The anti-ship missile "Neptune" has undergone part of the tests in 2017]. National Industrial Portal (ภาษายูเครน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2018.
- ↑ Перші випробування української крилатої ракети! [The first tests of the Ukrainian cruise missile!]. Ukrainian Military Portal (ภาษายูเครน). 30 มกราคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2018.
- ↑ "Ukrainian cruise missile "Neptune" struck a maritime target at a distance of 100 km during the test". Ukrainian Military Pages. 17 สิงหาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2018.
- ↑ Ракеты "Нептун" поступят на вооружение ВМС в декабре ["Neptune" missiles will enter service with the naval forces in December]. Dzerkalo Tyzhnia (ภาษารัสเซีย). 6 เมษายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2019.
- ↑ Peterson, Nolan (13 มีนาคม 2019). "With an Eye to Russia, Ukraine Considers New Missiles After Cold War-Era Arms Control Treaty Collapses". The Daily Signal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2019.
- ↑ "Indonesia to sign contract with Ukraine to purchase RK-360MC Neptune mobile missile coastal defense system". Navy Recognition. 28 ธันวาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2021.
- ↑ "Украинские защитники повредили российский ракетный фрегат". Dumskaya (ภาษารัสเซีย). 3 เมษายน 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2022.
- ↑ Harding, Luke; Sauer, Pjotr; Borger, Julian; Elgot, Jessica (15 เมษายน 2022). "Russia's Moskva cruiser sinks following Ukrainian claim of missile strike". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2022.
- ↑ Hambling, David (14 เมษายน 2022). "Ukraine's Bayraktar Drone Helped Sink Russian Flagship Moskva". Forbes. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2022.
- ↑ "Ukrainian military hits Russian cruiser by Neptune missiles". Ukrinform. 13 เมษายน 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2022.
- ↑ "Fire breaks out onboard Moskva missile cruiser, crew evacuated — defense ministry". TASS. 14 เมษายน 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2022.
- ↑ На ракетном крейсере "Москва" в результате пожара сдетонировал боезапас [Ammunition detonated on the "Moskva" missile cruiser as a result of a fire] (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 14 เมษายน 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2022.
- ↑ Ljunggren, David (13 เมษายน 2022). "Russia Says Ammunition Blast Damages Flagship of Black Sea Fleet - Interfax". U.S. News & World Report. Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2022.
- ↑ "Russian warship Moskva: What do we know?". BBC News. 14 เมษายน 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2022.
- ↑ "Moskva cruiser sank while being towed in a storm — Russian Defense Ministry". TASS. 14 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2022.
- ↑ Lendon, Brad (15 เมษายน 2022). "Moskva sinking: What really happened to the pride of Russia's fleet?". CNN. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2022.
- ↑ Mizokami, Kyle (15 เมษายน 2022). "Ukraine Sunk the Largest Warship Since WWII in a Major Blow to Russia". Popular Mechanics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2022.
- ↑ Russian frigate On Fire In Black Sea Near Zmiinyi. 6 พฤษภาคม 2022.
- ↑ Russian Navy warship Admiral Makarov reportedly sunk by Ukrainian missiles. EuroWeekly. 6 พฤษภาคม 2022.
- ↑ Russian warship Admiral Makarov ‘on fire after being hit by Ukrainian missile’. UK Independent. 6 พฤษภาคม 2022.
- ↑ Нептун успішно вразив морську ціль [Neptune successfully hit a naval target]. Ukrainian Military Portal (ภาษายูเครน). 17 สิงหาคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2018.
- ↑ "LUCH, State Kyiv Design Bureau" (PDF). State Kyiv Design Bureau, LUCH. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Дослідна протикорабельна ракета «Нептун» (Україна. 2016 рік)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2016.
- Ponomarenko, Illia (2 กุมภาพันธ์ 2018). "New Neptune cruise missiles to enter full production within 3 years, expert says". Kyiv Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2018.
- Ponomarenko, Illia (30 มกราคม 2018). "Ukraine tests new cruise missile (VIDEO)". Kyiv Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2018.
- О. Турчинов: Наші ракети здатні забезпечити надійну оборону Чорноморського та Азовського узбережжя (ภาษายูเครน). National Security and Defense Council of Ukraine. 17 สิงหาคม 2018 – โดยทาง ยูทูบ.