สงครามฟอล์กแลนด์
สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (อังกฤษ: Falklands War; สเปน: Guerra de las Malvinas) เป็นสงครามที่ไม่ได้ประกาศในระยะเวลา 10 สัปดาห์ ระหว่างอาร์เจนตินา และสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1982 บนดินแดนที่ขึ้นกับบริติชสองแห่งในแอตแลนติกทางตอนใต้: หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ และดินแดนในภาวะพึ่งพิง เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ผลลัทธ์ของสงครามคือ บริติชชนะ
สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
แผนที่สรุปการยึดหมู่เกาะคืนของอังกฤษ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
อาร์เจนตินา |
บริเตนใหญ่ หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
|
| ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
|
|
ความขัดแย้งครั้งนี้ได้เริ่มขึ้นในวันที่ 2 เมษายน เมื่ออาร์เจนตินาได้ทำการบุกรุกและยึดครองหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ตามมาด้วยการบุกครองเกาะเซาท์จอร์เจียในวันต่อมา เมื่อวันที่ 5 เมษายน รัฐบาลบริติชได้ส่งกองกำลังทางเรือเพื่อต่อกรกับกองทัพเรือและกองทัพอากาศของอาร์เจนติน่า ก่อนที่จะทำการโจมตีด้วยสะเทิ้นน้ำสะเทินบกบนหมู่เกาะ ความขัดแย้งครั้งนี้ได้กินเวลาไป 74 วัน และจบลงด้วยการยอมจำนนของอาร์เจนติน่าในวันที่ 14 มิถุนายน ได้ส่งคืนเกาะให้อยู่ในการควบคุมของบริติช โดยรวมแล้ว บุคคลากรทางทหารของอาร์เจนติน่า 649 นาย บุคคลากรทางทหารของบริติช 255 นาย และชาวเกาะฟอล์กแลนด์สามคนล้วนเสียชีวิตในการสงคราม
ความขัดแย้งครั้งนี้เป็นเหตุการณ์สำคัญในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของดินแดน อาร์เจนติน่าได้แสดงสิทธิ์ (และปกปักรักษา) ว่าหมู่เกาะเหล่านี้เป็นดินแดนของอาร์เจนติน่า[5] และรัฐบาลอาร์เจนติน่าจึงได้แสดงให้เห็นถึงปฏิบัติการทางทหารว่าเป็นการเรียกคืนดินแดนของตน รัฐบาลบริติชได้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการบุกครองดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมในพระองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ชาวเกาะฟอล์กแลนด์ ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะเหล่านี้นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เป็นเหล่าบรรดาลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวบริติช และให้การสนับสนุนอำนาจอธิปไตยของบริติชอย่างมาก รัฐทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ แม้ว่าทั้งสองรัฐบาลจะประกาศให้หมู่เกาะเหล่านี้เป็นเขตสงครามก็ตาม
ความขัดแย้งครั้งได้มีผลอย่างมากในประเทศทั้งสองฝ่ายและเป็นเรื่องราวในหนังสือ บทความ ภาพยนตร์ และเพลงต่าง ๆ ความรู้สึกรักชาติอยู่ในระดับสูงในอาร์เจนติน่า แต่ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นใจทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ต่อรัฐบาลทหารที่ปกครองอยู่ ได้เร่งก่อให้เกิดการล่มสลายและกลายมาเป็นประชาธิปไตยภายในประเทศ ในสหราชอาณาจักร รัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้รับแรงสนับสนุนจากผลความสำเร็จที่ตามมา ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งโดยมีเสียงข้างมากเพิ่มขึ้นในปีถัดมา ผลกระทบทางวัตนธรรมและการเมืองของความขัดแย้งในสหราชอาณาจักรนั้นมีน้อยกว่าในอาร์เจนติน่า ซึ่งยังเป็นหัวข้อสนทนาทั่วไป[6]
ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและอาร์เจนติน่าได้รับการฟื้นฟูในปี ค.ศ. 1989 ภายหลังการประชุมในมาดริด ซึ่งรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ออกแถลงการณ์ร่วมกัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในจุดยืนของประเทศใด ๆ เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์อย่างชัดเจน ในปี ค.ศ. 1994 อาร์เจนติน่าได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่[7] ซึ่งได้ประกาศให้หมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นจังหวัดหนึ่งของอาร์เจนติน่าตามกฎหมาย[8] อย่างไรก็ตาม หมู่เกาะเหล่านี้ยังคงอยู่ในฐานะดินแดนโพ้นทะเลของบริติชที่ปกครองด้วยตนเอง[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Falklands 25: Background Briefing". Ministry of Defence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 1 November 2009.
- ↑ ":: Ministerio de Defensa – República Argentina ::" (ภาษาสเปน). mindef.gov.ar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-23. สืบค้นเมื่อ 1 November 2009.
- ↑ Lawrence Freedman (9 August 2005). The Official History of the Falklands Campaign: War and diplomacy. Vol. 2. Routledge, Taylor & Francis Group. pp. 21–22. ISBN 978-0-7146-5207-8. สืบค้นเมื่อ 8 January 2012.day-to-day oversight was to be provided by...which came to be known as the War Cabinet. This became the critical instrument of crisis management
- ↑ Historia Marítima Argentina, Volume 10, p. 137, Argentina. Departamento de Estudios Históricos Navales, Cuántica Editora, 1993
- ↑ "Argentine to reaffirm Sovereignty Rights over The Falkland Islands". National Turk. 4 January 2012. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
- ↑ "Cómo evitar que Londres convierta a las Malvinas en un Estado independiente". Clarin. 1 April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ 7 February 2010.
- ↑ "Constitución Nacional". Argentine Senate (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2004.
La Nación Argentina ratifica su legítima e imprescriptible soberanía sobre las Islas Malvinas, Georgias del Sur y Sandwich del Sur y los espacios marítimos e insulares correspondientes, por ser parte integrante del territorio nacional.
- ↑ "Argentina: Constitución de 1994". pdba.georgetown.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
- ↑ Cahill 2010, "Falkland Islands".