โรคฝีดาษลิง (อังกฤษ: monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง (MPXV) ที่พบเกิดขึ้นในสัตว์บางชนิด รวมถึงมนุษย์[7] อาการเบื้องต้นคือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบวม และรู้สึกเหนื่อย[8] ตามมาด้วยผื่นที่ก่อให้เกิดตุ่มพองและสะเก็ดตามผิวหนัง[1] ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อจนถึงเริ่มมีอาการมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12 วัน[8] โดยอาจสั้นสุด 5 วัน และนานสุด 21 วัน[7][1] ระยะเวลาของอาการโดยทั่วไปคือ 2-4 สัปดาห์[1] ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ในเด็ก ผู้ตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[9]

เอ็มพ็อกซ์
ผื่นฝีดาษลิงในเด็กหญิงวัย 4 ขวบ
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
อาการเป็นไข้, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, ผื่นพุพอง, ต่อมน้ำเหลืองโต[1]
การตั้งต้น5–21 วันหลังรับเชื้อ[1]
ระยะดำเนินโรค2–4 สัปดาห์[1]
สาเหตุไวรัสฝีดาษลิง[2]
วิธีวินิจฉัยการทดสอบเชื้อพันธุกรรมของไวรัส[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันอีสุกอีใส, ฝีดาษ[4]
การป้องกันวัคซีนโรคฝีดาษ[3]
ยาTecovirimat
ความชุกหายาก[2]
การเสียชีวิตน้อยกว่า 1% (สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก),[5] ไปจนถึง 10%[1] (สายพันธุ์ลุ่มแม่น้ำคองโก, ในรายที่ไม่ได้รับการรักษา)[6]

ฝีดาษลิงอาจติดต่อกันได้ผ่านทางการสัมผัสเนื้อสัตว์ป่า การถูกสัตว์กัดหรือข่วน สารคัดหลั่ง สิ่งของที่ปนเปื้อน หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้โดยทั่วไปแล้วจะติดต่อกันภายในกลุ่มสัตว์ฟันแทะบางชนิด การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจหาดีเอ็นเอของไวรัสในรอยโรค อาการของผู้ป่วยโรคนี้มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับโรคอีสุกอีใส

วัคซีนโรคฝีดาษสามารถป้องกันการติดเชื้อฝีดาษลิงได้โดยมีประสิทธิผลอยู่ที่ 85%[3][10] มีวัคซีนโรคฝีดาษลิงได้รับอนุมัติเมื่อ ค.ศ. 2019 ในสหรัฐให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่โดยมีชื่อการค้าว่า Jynneos[11] ยาที่ใช้ในการรักษาคือยาต้านไวรัส tecovirimat ซึ่งใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มออร์โธพ็อกซ์ไวรัส เช่น ฝีดาษ และฝีดาษลิง ยานี้ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้โดยสหภาพยุโรปและสหรัฐ ยาอื่นที่อาจใช้ได้ ได้แก่ cidofovir และ brincidofovir[4][12] โอกาสเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษามีรายงานว่าสูงสุดอยู่ที่ 10-11% โดยเป็นรายงานจากการติดเชื้อพันธุ์สาขาที่ระบาดในแอฟริกากลาง (ลุ่มแม่น้ำคองโก)[1][13][14]

โรคนี้ค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1958 ในลิงสำหรับทดลองในโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก[15] ทั้งนี้ลิงไม่ใช่แหล่งรังโรคตามธรรมชาติของโรคนี้แต่อย่างใด[16] การติดเชื้อในมนุษย์พบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1970 ในประเทศคองโก[15] เคยมีการระบาดในสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 2003 ซึ่งมีต้นตอมาจากร้านขายสัตว์เลี้ยงที่นำหนูจากประเทศกานามาขาย[3] การระบาดใน ค.ศ. 2022 ถือเป็นครั้งแรกที่พบการระบาดนอกทวีปแอฟริกาที่เป็นการระบาดในชุมชน โดยพบครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 และต่อมาพบในอีกกว่า 20 ประเทศ[17] โดยพบทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ เอเชีย และออสเตรเลีย[18][19][20]

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิงเป็น เอ็มพ็อกซ์ (MPOX) เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือการเหยียดเชื้อชาติในอนาคต โดยเริ่มใช้ในปี ค.ศ. 2023[21]

อาการและอาการแสดง แก้

 
การเปลี่ยนแปลงตามระยะของรอยโรคที่พบในผู้ป่วยฝีดาษลิง

อาการในระยะแรกของผู้ป่วยได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ อ่อนเพลีย[22][23] โดยอาจเป็นอาการคล้ายคลึงกับที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่[24] โรคที่มีอาการคล้ายคลึงกันได้แก่ อีสุกอีใส หัด และฝีดาษ แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงมักมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย[22][23] โดยจะพบที่ต่อมน้ำเหลืองหลังหู ใต้ขากรรไกร คอ หรือขาหนีบ โดยจะพบก่อนที่จะมีผื่น[4] หลังมีไข้ได้ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ มักขึ้นที่ใบหน้าก่อนบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า โดยมักพบที่ส่วนนอกของร่างกายมากกว่าตำแหน่งอื่น[22][23]

ผู้ป่วยประมาณสามในสี่จะมีรอยโรคที่ฝ่ามือฝ่าเท้า สองในสามจะมีในปาก หนึ่งในสามจะมีที่อวัยวะเพศ และหนึ่งในห้าจะมีที่ตา[22] รอยโรคในระยะแรกเริ่มจะเป็นผื่นจุดแบน (macule) จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นตุ่มนูน (papule) เป็นตุ่มน้ำใส (vesicle) เป็นตุ่มหนอง (pustule) ตามลำดับ ก่อนที่จะกลายเป็นสะเก็ดและหลุดลอกออกไปในที่สุด[1][23] ผู้ป่วยอาจมีรอยโรคได้ตั้งแต่มีเล็กน้อย 2-3 จุด ไปจนถึงมีมากหลายพันจุด ซึ่งหากมีมากๆ บางครั้งรอยโรคหลายๆ อันอาจรวมกันเป็นรอยโรคขนาดใหญ่ได้[22]

ผื่นในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะที่ตรงกัน[8] และมีลักษณะเหมือนผื่นที่พบในโรคฝีดาษ[25] ระยะที่มีผื่นมักเป็นอยู่ประมาณ 10 วัน[24] โดยผู้ป่วยอาจยังคงรู้สึกไม่สบายตัวอยู่ 2-4 สัปดาห์[1] หลังจากหายแล้วบริเวณที่เคยเป็นผื่นจะมีรอยจางอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะกลายเป็นแผลเป็นสีเข้ม[8]

สาเหตุ แก้

โรคฝีดาษลิงที่พบในมนุษย์และสัตว์เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิง ซึ่งเป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอสายคู่ อยู่ในจีนัสออร์โธพ็อกซ์ไวรัส แฟมีลีพอกซ์ไวริดี[26] ไวรัสนี้ส่วนใหญ่แล้วจะพบได้ในป่าดิบชื้นในทวีปแอฟริกาตอนกลางและตะวันตก[26] โดยเชื้อนี้มีการแบ่งแยกเป็นพันธุ์สาขา (clade) ลุ่มแม่น้ำคองโก และพันธุ์สาขาแอฟริกาตะวันตก ซึ่งการกระจายของเชื้อและตำแหน่งทางภูมิศาสตร์มีความสอดคล้องกันพอดี[6]

แหล่งรังโรค แก้

ปัจจุบันยังไม่พบสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคตามธรรมชาติของโรคนี้ โดยลิงก็ไม่ใช่แหล่งรังโรคเช่นกัน แม้โรคนี้จะได้ชื่อว่าฝีดาษลิงก็ตาม โดยเชื่อกันว่าสัตว์ฟันแทะที่มีถิ่นที่อยู่ในแอฟริกาเป็นแหล่งรังโรคที่แท้จริง[16]

การวินิจฉัย แก้

 
อาการของผู้ป่วยฝีดาษลิง

การวินิจฉัยแยกโรคทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีผื่นลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ต้องนึกถึงโรคอื่นๆ เช่น อีสุกอีใส โรคหัด การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง หิด ซิฟิลิส และผื่นแพ้ยาไว้ด้วย การมีต่อมน้ำเหลืองโตในระยะมีอาการก่อนเป็นผื่นเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้แยกระหว่างฝีดาษลิงกับอีสุกอีใสและฝีดาษออกจากกันได้ โดยการวินิจฉัยยืนยันทำได้โดยการตรวจหาเชื้อไวรัส[27]

การป้องกัน แก้

การให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคฝีดาษน่าจะสามารถลดโอกาสติดเชื้อที่นำไปสู่โรคฝีดาษลิงในมนุษย์ได้ เนื่องจากไวรัสสองชนิดนี้มีความใกล้เคียงกันมาก และยังสามารถป้องกันสัตว์ทดลองไม่ให้ติดเชื้อนี้แล้วมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้[13] ทั้งนี้ที่ผ่านมายังไม่มีการทดลองต่อยอดเพื่อยืนยันสมมติฐานนี้ในมนุษย์ เนื่องจากเมื่อโรคฝีดาษถูกกำจัดหมดไปจากโลก การให้วัคซีนฝีดาษเป็นการทั่วไปก็ยุติลงตามไปด้วย[28]

การรักษา แก้

ในสหภาพยุโรปและสหรัฐได้อนุมัติให้ใช้ยา tecovirimat ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสในกลุ่มพ็อกซ์ไวรัสหลายชนิด รวมไปถึงฝีดาษลิงด้วย[29] วารสาร BMJ Best Practice แนะนำให้ใช้ tecovirimat หรือ brincidofovir ซึ่งเป็นยารักษาโรคฝีดาษ เป็นยาลำดับแรกในการรักษาผู้ป่วยฝีดาษลิง ควบคู่ไปกับการรักษาประคับประคองต่างๆ ได้แก่ ยาลดไข้ การให้สารน้ำ และการให้ออกซิเจนตามความจำเป็น ยาต้านแบคทีเรียหรือยาต้านไวรัสอื่นอย่างอะไซโคลเวียร์อาจนำมาใช้ได้หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนหรืออยู่ระหว่างการแยกจากการติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส[30]

ประวัติศาสตร์ แก้

 
ลิงแสม

โรคฝีดาษลิงถูกพบครั้งแรกโดย Preben von Magnus เมื่อ ค.ศ. 1958 ในประเทศเดนมาร์ก โดยพบการระบาดสองครั้งของโรคที่คล้ายฝีดาษในกลุ่มของลิงแสมที่ถูกจับมาจากมาเลเซียและขนส่งผ่านสิงคโปร์[31]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Signs and Symptoms Monkeypox". CDC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2015About
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "2003 U.S. Outbreak Monkeypox". CDC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Mc2014
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Skle
  6. 6.0 6.1 Osorio, J.E.; Yuill, T.M. (2008). "Zoonoses". Encyclopedia of Virology. pp. 485–495. doi:10.1016/B978-012374410-4.00536-7. ISBN 9780123744104. S2CID 214756407.
  7. 7.0 7.1 "Monkeypox". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). World Health Organization. 19 May 2022. สืบค้นเมื่อ 28 May 2022.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Petersen, Brett W.; Damon, Inger K. (2020). "348. Smallpox, monkeypox and other poxvirus infections". ใน Goldman, Lee; Schafer, Andrew I. (บ.ก.). Goldman-Cecil Medicine (ภาษาอังกฤษ). Vol. 2 (26th ed.). Philadelphia: Elsevier. pp. 2180–2183. ISBN 978-0-323-53266-2.
  9. "Multi-country monkeypox outbreak in non-endemic countries". World Health Organization. 21 May 2022. สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "Treatment | Monkeypox | Poxvirus | CDC". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-15. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
  11. "FDA approves first live, non-replicating vaccine to prevent smallpox and monkeypox". FDA (ภาษาอังกฤษ). 24 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 September 2019.
  12. "Treatment | Monkeypox | Poxvirus | CDC". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2019. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  13. 13.0 13.1 Marriott KA, Parkinson CV, Morefield SI, Davenport R, Nichols R, Monath TP (January 2008). "Clonal vaccinia virus grown in cell culture fully protects monkeys from lethal monkeypox challenge". Vaccine. 26 (4): 581–588. doi:10.1016/j.vaccine.2007.10.063. PMID 18077063.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHOReport
  15. 15.0 15.1 "Monkeypox". CDC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
  16. 16.0 16.1 "Monkeypox".
  17. "Monkeypox outbreak: List of countries with reported cases". Gulf News. สืบค้นเมื่อ 24 May 2022.
  18. Efrati, Ido. "Israel Confirms First Case of Monkeypox Virus". Haaretz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
  19. "UAE reports first case of monkeypox in the country". Al Arabiya. สืบค้นเมื่อ 24 May 2022.
  20. "Monkeypox cases investigated in Europe, the United States, Canada and Australia". BBC News. 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 20 May 2022.
  21. "ฝีดาษลิง : WHO ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น MPOX เริ่มใช้ปีหน้า". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-11-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 "Monkeypox". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kantele, A. 2016
  24. 24.0 24.1 Gilbourne, Marika; Coulson, Ian; Mitchell, Gus (May 2022). Amanda Oakley (บ.ก.). "Monkeypox: Symptoms, Treatment, and Outcome — DermNet". dermnetnz.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 May 2022.
  25. Barlow, Gavin; Irving, William L.; Moss, Peter J. (2020). "20. Infectious disease". ใน Feather, Adam; Randall, David; Waterhouse, Mona (บ.ก.). Kumar and Clark's Clinical Medicine (ภาษาอังกฤษ) (10th ed.). Elsevier. p. 517. ISBN 978-0-7020-7870-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-05. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
  26. 26.0 26.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDCAbout
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHOfactJune2018
  28. "Monkeypox". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-21. สืบค้นเมื่อ 2022-04-27.
  29. "Tecovirimat SIGA". European Medicines Agency. 28 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2022. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
  30. "Poxvirus infection (monkeypox and smallpox) - Treatment algorithm | BMJ Best Practice". bestpractice.bmj.com. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
  31. Fenner, Frank; Wittek, Riccardo; Dumbell, Keith R. (1988). "1. Historical introduction and overview". The Orthopoxviruses (ภาษาอังกฤษ). Elsevier. pp. 11–12. ISBN 978-0-323-15022-4.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค