การสังหารหมู่ที่บูชา
การสังหารหมู่ที่บูชา เป็นการก่ออาชญากรรมสงครามที่ประกอบด้วยการฆาตกรรมพลเมือง กระทำในพื้นที่ที่กองทัพรัสเซียควบคุมในเมืองบูชา ประเทศยูเครน ขณะดำเนินยุทธการในบูชาหลังรัสเซียเข้าบุกยูเครน นายกเทศมนตรีของเมืองบูชาระบุว่าพบผู้เสียชีวิต 412 รายหลังสิ้นสุดการยุทธ์ในเมือง[1] ศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่ากำลังสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบูชา[5] เจ้าหน้าที่ทางการของรัสเซียปฏิเสธและระบุว่าภาพที่ปรากฏเป็นการจัดฉากโดยทางการยูเครน[6]
การสังหารหมู่ที่บูชา | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่บูชา และ การรุกเคียฟ | |
ภาพถ่ายเผยแพร่โดยกระทรวงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลระบุว่าเป็นพลเมืองชาวบูชาที่ถูกทหารรัสเซียสังหาร | |
สถานที่ | บูชา แคว้นเคียฟ ประเทศยูเครน |
วันที่ | มีนาคม 2022 |
เป้าหมาย | พลเมือง |
ตาย | 412 (ข้อมูลโดยยูเครน)[1] 50 พยานหลักฐาน (โดยสหประชาชาติ)[2] |
ผู้ก่อเหตุ | กองทัพรัสเซีย (รัสเซียปฏิเสธ)[3][4] |
เบื้องหลัง
แก้เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ประเทศรัสเซียได้รุกรานประเทศยูเครน โดยเคลื่อนทัพเข้าสู่ยูเครนทางตอนเหนือผ่านประเทศเบลารุส และพยายามเข้ายึดกรุงเคียฟ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของยูเครน ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 กองทัพรัสเซียได้เคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองบูชา ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเคียฟ และยึดครองเมืองได้สำเร็จ
ในช่วงปลายเดือนมีนาคม อัยการสูงสุดของยูเครนระบุว่า เจ้าหน้าที่ของยูเครนกำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามที่รัสเซียก่อกว่า 2,500 ครั้ง และกล่าวว่ายูเครนสามารถระบุตัวตนผู้ก่ออาชญากรรมได้หลายร้อยคนแล้ว[7] ต่อมา กองทัพรัสเซียได้ถอยออกจากยูเครน และกองทัพยูเครนก็สามารถยึดเมืองบูชาคืนมาได้สำเร็จเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2022[8]
สถานการณ์
แก้สถานการณ์ช่วงที่รัสเซียรุกรานยูเครน
แก้รายงานของ เดอะเคียฟอินดีเพนเดนต์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม กองทัพรัสเซียได้สังหารประชาชนชาวยูเครน 3 คน ในขณะที่พวกเขากำลังขับรถกลับจากการขนส่งอาหารไปให้ที่พักพิงสุนัข[9] ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม มีรายงานว่ากองทัพรัสเซียยิงปืนใส่รถของครอบครัวที่กำลังหลบหนี ทำให้มีชายเสียชีวิต 1 คน และมีผู้หญิงกับเด็กเสียชีวิตอีกรวม 3 คน[10]
สถานการณ์หลังจากรัสเซียถอนทัพ
แก้หลังจากที่รัสเซียถอนทัพออกจากยูเครน ก็เริ่มมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอลงสู่สื่อสังคม เมื่อวันที่ 1 เมษายน มีคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นพลเรือนเสียชีวิตจำนวนมาก[11][12] ต่อมาก็เริ่มมีการเผยแพร่หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียในช่วงที่เมืองบูชาถูกยึดครอง[13] ทหารของยูเครนกล่าวว่า พวกเขาพบศพของผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กรวม 18 คนที่บริเวณห้องใต้ดินแห่งหนึ่งใกล้เมืองบูชา[14] คลิปวิดีโอของกองทัพยูเครนแสดงให้เห็นว่าห้องใต้ดินดังกล่าวถูกใช้เป็นสถานที่ทรมาน[15] ทหารนายหนึ่งระบุว่าศพบางส่วนอยู่ในสภาพที่ถูกตัดหูหรือถูกดึงฟันออก และระบุว่ามีการเคลื่อนย้ายศพออกไปก่อนการสัมภาษณ์[16] ส่วนศพอื่น ๆ ของพลเรือนถูกทิ้งไว้ตามถนน[17]
ภาพถ่ายดาวเทียม
แก้วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
คลิปวิดีโอการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมของเดอะนิวยอร์กไทมส์ |
เมื่อวันที่ 4 เมษายน สำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์ได้วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม และสรุปว่า “ประชาชนหลายคนถูกฆ่าตั้งแต่ช่วงสามสัปดาห์ที่แล้ว ตอนที่รัสเซียยังครอบครองเมืองอยู่” ภาพถ่ายดาวเทียมบนถนนแห่งหนึ่งในเมืองบูชาแสดงให้เห็น “วัตถุสีเข้มขนาดใกล้เคียงกับมนุษย์” อย่างน้อย 11 ชิ้น ปรากฏอยู่ระหว่างวันที่ 9–11 มีนาคม ตำแหน่งของวัตถุดังกล่าวสอดคล้องกับคลิปวิดีโอที่สมาชิกสภาเมืองบูชาถ่ายจากภาคพื้นดินหลังจากที่ยูเครนยึดเมืองคืนได้ คลิปวิดีโออีกคลิปหนึ่งแสดงให้เห็นศพของคน 3 คน ซึ่งปรากฏบนภาพถ่ายดาวเทียมระหว่างวันที่ 20–21 มีนาคม สำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์สรุปว่า ผลการวิเคราะห์ครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับข้อกล่าวอ้างของกองทัพรัสเซีย ที่อ้างว่าประชาชนถูกสังหารหลังจากที่รัสเซียได้ถอนทัพไปแล้ว[18]
ผลสืบเนื่อง
แก้ยูเครน
แก้ดมือตรอ กูแลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศยูเครนระบุว่าเหตุการณ์นี้เป็น "การสังหารหมู่โดยเจตนา" (deliberate massacre) เขาระบุว่า "แย่กว่าไอซิส" และกองทัพรัสเซียมีความผิดฐานฆาตกรรม, ทรมาน, ข่มขืน และปล้นสะดม กูแลบาเรียกร้องให้ประเทศกลุ่มเจ็ดเพิ่มการคว่ำบาตร "อย่างหนัก" (devastating)[19]
วีตาลีย์ กลึชกอ นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟ ระบุในบทสัมภาษณ์กับ บิลด์ ว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นในบูชาและย่านชานเมืองอื่น ๆ ของเคียฟ เรียกได้ว่าเป็นการสังหารหมู่แต่ประการเดียว" และกล่าวโทษวลาดีมีร์ ปูติน ว่าเป็นผู้ก่ออาชญากรรมสงคราม[20] ประธานาธิบดีวอลอดือมือร์ แซแลนสกึย เดินทางไปเยือนพื้นที่ในวันที่ 4 เมษายน 2022[21]
รัสเซีย
แก้เซียร์เกย์ ลัฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรัสเซียระบุว่าการสังหารหมู่นี้เป็น "การโจมตีด้วยข่าวลวง" อีกครั้งของยูเครนต่อรัสเซีย พร้อมระบุว่าเป็นการจัดฉากขึ้นมา[22] ช่องเทเลแกรมของกระทรวงกลาโหมรีโพสต์รายงานระบุว่ากองทัพรัสเซียไม่ได้ตั้งเป้าโจมตีพลเมืองในขณะการยุทธ์ และสุสานรวมที่มีรายงานนั้นใช้ฝังศพของผู้เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศโดยยูเครนเอง รวมถึงระบุว่าได้ตรวจสอบวิดีโอที่แสดงศพเรียงรายตามถนนในบูชาแล้วพบว่าศพในคลิปขยับตัวและเป็นการจัดฉากขึ้นมา สำนักข่าวบีบีซีภาคพื้นมอสโกตรวจสอบวิดีโอแยกและระบุว่าไม่มีหลักฐานว่าวิดีโอเหล่านี้เป็นการจัดฉากเลย[23] หน่วยงานด้านการตรวจสอบยืนยันข้อเท็จจริง เบลลิงแคตระบุอ้างรายงานของบีบีซี และตั้งคำถามเพิ่มเติมต่อการตรวจสอบของมอสโก[24]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Bucha counts toll of Russian occupation". BBC News. 23 April 2022.
- ↑ United Nations Documented 50 "Unlawful' Killings In Bucha Amid War
- ↑ ""Not A Single Resident...": Russia Denies Ukraine "Massacre" Charge". NDTV.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ "Russia denies killings in Bucha, calls images of bodies 'another production' by Kyiv". The Times of Israel. 3 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
- ↑ "Retreat of Russian forces uncovers evidence of possible war crimes". El País. 3 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
- ↑ Reuters (2022-04-03). "Russia denies killing civilians in Ukraine's Bucha". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
- ↑ Farmer, Ben; Kozyreva, Tanya; Townsley, Simon (30 March 2022). "I'm building 2,500 war crimes cases against Vladimir Putin's invasion, says Ukraine's chief prosecutor". The Daily Telegraph. Archived from the original on 31 March 2022. Retrieved 2 April 2022.
- ↑ Rudenko, Olga (2 April 2022). "Hundreds of murdered civilians discovered as Russians withdraw from towns near Kyiv (GRAPHIC IMAGES)". The Kyiv Independent. Archived from the original on 3 April 2022. Retrieved 3 April 2022.
- ↑ Myroniuk, Anna (8 March 2022). "Russian soldiers murder volunteers helping starving animals near Kyiv". The Kyiv Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
- ↑ "'It is a war crime': two young boys among neighbours shot dead during attempted evacuation". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ "Russia's Bucha 'Facts' Versus the Evidence". bellingcat. 4 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
- ↑ Ough, Tom (4 April 2022). "Debunking Russia's Bucha massacre conspiracy theories". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
- ↑ "'It was like a movie': Recaptured Bucha recounts violence of Russian invasion". The Guardian. 3 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
- ↑ Ukraine, Louise Callaghan, Zabuchchya. "Bodies of mutilated children among horrors the Russians left behind". The Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ "Ukraine says 'torture room' found after Russian troops withdrawal from Bucha". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 5 April 2022. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ Ukraine, Louise Callaghan, Zabuchchya. "Bodies of mutilated children among horrors the Russians left behind". The Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ Stern, David (3 April 2022). "Bodies and Rubble in the streets of Bucha following Russian retreat". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ Browne, Malachy; Botti, David; Willis, Haley (4 April 2022). "Satellite images show bodies lay in Bucha for weeks, despite Russian claims". The New York Times.
- ↑ "Killing of civilians in Bucha and Kyiv condemned as 'terrible war crime'". the Guardian. 3 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
- ↑ AP. "Kyiv mayor says Russian attacks in Bucha are 'genocide'". The Times of Israel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
- ↑ Simko-Bednarski, Evan (2022-04-04). "Zelensky visits Bucha, vows to hold Russia accountable for 'genocide'". New York Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
- ↑ "Lavrov slams situation in Bucha as fake attack staged by West". TASS (ภาษาอังกฤษ). 4 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
- ↑ "Questions over Russian Bucha denials". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
- ↑ "Russia's Bucha "Facts" Versus the Evidence". bellingcat (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.