ประยอม ซองทอง
ประยอม ซองทอง (1 มกราคม พ.ศ. 2477 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564) เป็นนักเขียนชาวไทย ที่มีชื่อเสียงจากการเขียนกลอน มีผลงานรวมเล่มตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก และยังมีผลงานเขียนบทความรณรงค์การใช้ภาษา และบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2548
ประยอม ซองทอง | |
---|---|
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2477 อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม |
เสียชีวิต | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (87 ปี) |
นามปากกา | ธารทอง, ระฆังทอง, เจ้าพระยา, สุดสงวน, ราตรีประดับดาว, ลักขณ์ เรืองรอง, ปรง |
อาชีพ | นักเขียน |
แนว | ร้อยกรอง |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์อรฉัตร สุขสวัสดิ์ |
ประวัติ
แก้ประยอม ซองทอง เกิดที่ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ครอบครัวมีอาชีพทำนา จบการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม และได้รับทุนศึกษาต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำเร็จประกาศนียบัตรครูประถม เมื่อ พ.ศ. 2498 และศึกษาต่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษา พ.ศ. 2502 แล้วไปเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม
ในปี พ.ศ. 2511 เข้าทำงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ต่อเนื่องกันหลายปีจนเกษียณอายุที่บริษัทนี้ ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลังเกษียณอายุเมื่อ พ.ศ. 2537 เป็นนักเขียนอิสระ และอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โรงเรียนสตรีประเทืองวิทย์ และทำงานเป็นผู้บริหารอาวุโส ด้านการประชาสัมพันธ์ ที่บริษัท เทเลคอมเอเซีย ต่อมา ได้รับการแต่งตั้ง เป็นสมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 7 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2539[1]
ประยอม ซองทอง เริ่มงานเขียนเรื่องสั้น และกลอนตั้งแต่สมัยเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อเรียนที่จุฬาก็ได้รับการยอมรับในฐานะนักกลอนเอกของมหาวิทยาลัย เป็นสาราณียกรให้กับวารสารของคณะอักษรศาสตร์ และของสโมสรนิสิตจุฬา (ส.จ.ม.)
ประยอม ซองทอง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดตั้ง "สโมสรสยามวรรณศิลป์" เพื่อส่งเสริมงานด้านภาษา และวัฒนธรรมไทย เป็นนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยคนที่ 12 ระหว่างปี พ.ศ. 2539 - 2520 ได้รับพระราชทานโล่และเข็มประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นด้านอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมไทย จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2548
ประยอม ซองทอง สมรสกับ หม่อมราชวงศ์อรฉัตร สุขสวัสดิ์ ธิดาหม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ โอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช กับ หม่อมเขียน และหม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร ฉัตรไชย ธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับ หม่อมเพี้ยน สุรคุปต์ มีบุตรธิดา 3 คน คือ
- ปริย ซองทอง
- ปรม ซองทอง
- ปวร ซองทอง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ได้รับการแต่งตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ หน้า ๑๔๓
- สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. เสี้ยวศตวรรษ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สามัคคีสาร (ดอกหญ้า), พ.ศ. 2539. 263 หน้า. ISBN 974-89658-0-5.
- ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4.
- "คำประกาศเกียรติคุณ นายประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ". กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016.