คริสต์ศาสนิกชน

ผู้นับถือศาสนาคริสต์

คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน (อังกฤษ: Christian) หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย[7][8]

คริสตชน
χριστιανοί
หลังจากแสดงปาฏิหาริย์จับปลา พระคริสต์ทรงเรียกสาวกมาเป็น "ผู้หาคนดั่งหาปลา" (มธ. 4:19) วาดโดยราฟาเอล
ประชากรทั้งหมด
ป. 2.4 พันล้านคน ทั่วโลก (2015)[1][2]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 สหภาพยุโรป373,656,000[3]
 สหรัฐ246,790,000[2]
 บราซิล175,770,000[2]
 เม็กซิโก107,780,000[2]
 รัสเซีย105,220,000[2]
 ฟิลิปปินส์86,790,000[2]
 ไนจีเรีย80,510,000[2]
 จีน67,070,000[2]
 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก63,150,000[2]
 เอธิโอเปีย52,580,000[2]
ภาษา
ภาษาศักดิ์สิทธิ์:
ศาสนา
คริสต์
สัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน

คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา

ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน

ที่มาในคัมภีร์ไบเบิล แก้

คำว่าคริสตชนหรือคริสเตียน ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ทั้งหมดสามครั้ง[9] ครั้งแรกในหนังสือกิจการบทที่ 11 ข้อที่ 26[10] "...ที่เมืองอันทิโอกนี้เอง บรรดาศิษย์ได้รับชื่อว่า "คริสตชน" เป็นครั้งแรก"

ครั้งที่สองปรากฏในหนังสือกิจการ บทที่ 26 ข้อที่ 28[11] เมื่อเปาโลได้มีโอกาสแก้ข้อกล่าวหาต่อพระเจ้าเฮโรด อากริปปา ความว่า "กษัตริย์อากริปปาจึงทรงตอบเปาโลว่า "อีกนิดเดียว ท่านก็ชักชวนเราให้เป็นคริสตชนได้แล้ว"

คำว่าคริสตชนปรากฏเป็นครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายในจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 บทที่ 4 ข้อที่ 16[12] "แต่ถ้าทนทุกข์เพราะได้ชื่อว่าเป็นคริสตชน ก็อย่าให้คนนั้นละอายเลย แต่ให้ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเพราะชื่อนั้น"

ทัศนะของศาสนาอื่น แก้

ศาสนายูดาห์ แก้

เนื่องจากพระเยซูเป็นชาวนาซาเรธ ชาวยิวจึงเรียกคริสตชนว่านาซารีน (Nazarene) มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1[13] และมองว่าเป็นพวกนอกรีต[14] ผู้นำชาวยิวยุคนั้นพยายามยับยั้งการขยายตัวของคริสต์ศาสนาโดยการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน เช่น ประหารพระเยซู ยากอบ และสเทเฟน แต่คริสตชนกลับยิ่งมีจำนวนมากขึ้น รวมถึงคนที่ไม่ใช่ชาวยิว (Gentile) ความแปลกแยกระหว่างคริสตชนกับชาวยิวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนศาสนาคริสต์แยกออกจากศาสนายูดาห์ในที่สุด[15]

ในปัจจุบันชาวยิวยังคงปฏิเสธความเชื่อของคริสตชนที่ว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์[16] และเป็นพระผู้ไถ่บาปให้มนุษย์[17]

ศาสนาอิสลาม แก้

คัมภีร์อัลกุรอานเรียกคริสตชนว่า นะซอรอ[18] (อาหรับ: نصارى ผู้ช่วยเหลือ) เพราะถือว่าเป็นพวกที่คอยช่วยเหลือพระเยซู (นบีอีซา) แม้ชาวมุสลิมจะนับถือพระเยซูเป็นนบีและศาสนทูตของพระเป็นเจ้า แต่ก็ไม่ยอมรับความเชื่อของคริสตชนในปัจจุบัน อัลกุรอานระบุว่าการที่คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้านั้นเป็นการหลงผิด[19]และไม่ต่างจากความเชื่อของคนที่ไม่ศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า[19] คริสต์ศาสนิกชนจึงถูกพระเป็นเจ้าสาปแช่ง[20] อัลกุรอานไม่ยอมรับว่าคริสต์ศาสนิกชนเป็นบุตรของพระเจ้า เป็นผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน[21] และการที่คริสตชนเชื่อว่าพวกตนเท่านั้นจะได้ขึ้นสวรรค์ก็เป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน[22]

อ้างอิง แก้

  1. "Christianity 2015: Religious Diversity and Personal Contact" (PDF). gordonconwell.edu. January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 ANALYSIS (19 December 2011). "Global Christianity". Pewforum.org. สืบค้นเมื่อ 17 August 2012.
  3. "Discrimination in the EU in 2012" (PDF), Special Eurobarometer, 383, European Union: European Commission, p. 233, 2012, สืบค้นเมื่อ 14 August 2013 The question asked was "Do you consider yourself to be...?" With a card showing: Catholic, Orthodox, Protestant, Other Christian, Jewish, Muslim, Sikh, Buddhist, Hindu, Atheist, and Non-believer/Agnostic. Space was given for Other (SPONTANEOUS) and DK. Jewish, Sikh, Buddhist, Hindu did not reach the 1% threshold.
  4. Johnson, Todd M.; Grim, Brian J. (2013). The World's Religions in Figures: An Introduction to International Religious Demography (PDF). Hoboken, NJ: Wiley-Blackwell. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  5. A history of ancient Greek by Maria Chritē, Maria Arapopoulou, Centre for the Greek Language (Thessalonikē, Greece) pg 436 ISBN 0-521-83307-8
  6. Wilken, Robert Louis. The First Thousand Years: A Global History of Christianity. New Haven and London: Yale University Press. p. 26. ISBN 978-0-300-11884-1.
  7. "Definition of Christian". Cambridge Advanced Learner's Dictionary. Cambridge University Press. สืบค้นเมื่อ 2010-01-18.[ลิงก์เสีย]
  8. "BBC — Religion & Ethics — Christianity at a glance", BBC
  9. การเป็นคริสเตียนคืออะไร
  10. "กิจการ 11:26". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
  11. "กิจการ 26:28". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
  12. เปโตร 4:16
  13. "กิจการ 24:5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  14. กิจการ 24:14
  15. When did Christianity become a separate religion from Judaism?
  16. M. Steinberg, 1975 Basic Judaism pp. 108, New York: Harcourt, Brace Jovanovich
  17. Speigel, Shalom (1993). The Last Trial: On the Legends and Lore of the Command to Abraham to Offer Isaac As a Sacrifice: The Akedah, Jewish Lights Publishing; Reprint edition. ISBN 1-879045-29-X
  18. ท่าทีของท่านเราะซูล ต่อพวก “นะซอรอ” (คริสเตียน), อิสลามมอร์, เรียกข้อมูลวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555
  19. 19.0 19.1 กุรอาน 9: 30
  20. บรรจง บินกาซัน, สารานุกรมอิสลาม, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2547, กรุงเทพฯ: อัล อะมีน, หน้า 81
  21. กุรอาน 5:18
  22. กุรอาน 2:11