ภาษาตากาล็อก (อักษรไบบายิน: ᜏᜒᜃᜅ᜔ ᜆᜄᜎᜓᜄ᜔) เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟีจี ภาษามาวรี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า

ภาษาตากาล็อก
ᜏᜒᜃᜅ᜔ ᜆᜄᜎᜓᜄ᜔
Wikang Tagalog
ออกเสียงtɐˈɡaːloɡ
ประเทศที่มีการพูดประเทศฟิลิปปินส์
จำนวนผู้พูด22.5 ล้าน  (2010)[1]
รวม 23.8 ล้าน (2019)[2]
ผู้พูดภาษาที่สอง 45 ล้าน (ในฐานะภาษาฟิลิปปินส์, 2013)[3]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
รูปแบบมาตรฐาน
ภาษาถิ่น
Bataan
Bulacan
Lubang
Manila
Marinduque
Tanay–Paete (Rizal-Laguna)
Tayabas (Quezon)
ระบบการเขียนอักษรลาติน (ตากาล็อก/อักษรฟิลิปปินส์),
อักษรเบรลล์ฟิลิปปินส์
อักษรไบบายิน (ประวัติ)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ฟิลิปปินส์ (ในรูปของภาษาฟิลิปปินส์)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ฟิลิปปินส์ (ภาษาประจำภูมิภาค; แยกกับภาษาฟิลิปปินส์มาตรฐาน)
ผู้วางระเบียบคณะกรรมการภาษาฟิลิปปินส์
รหัสภาษา
ISO 639-1tl
ISO 639-2tgl
ISO 639-3tgl
Linguasphere31-CKA
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาตากาล็อกในประเทศฟิลิปปินส์

ระบบเสียง แก้

ภาษาตากาล็อกมีหน่วยเสียง 21 เสียง เป็นเสียงพยัญชนะ 16 เสียง เสียงสระ 5 เสียง ก่อนการเข้ามาของชาวสเปน ภาษาตากาล็อกมีเสียงสระเพียง 3 เสียง คือ /a/, /i/, และ /u/ มีคำยืมจากภาษาสเปนจึงเพิ่มสระอีก 2 เสียง คือ /ε/ และ /o/ นอกจากนั้นมีสระประสมเพิ่มอีก 4 เสียงคือ /aI/, /oI/, /aU/ และ /iU/ พยัญชนะในภาษาตากาล็อกไม่มีเสียงลมแทรก มีการเน้นเสียงหนักภายในคำที่ทำให้เสียงสระยาวขึ้นด้วย

ไวยากรณ์ แก้

บทความหลัก: ไวยากรณ์ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อกเรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม มีระบบการผันคำกริยาที่ซับซ้อนกว่าคำนาม คำขยายเรียงก่อนหรือหลังคำที่ถูกขยายก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะใช้คำเชื่อมต่างกัน

ประวัติ แก้

คำว่าตากาล็อกมาจาก taga-ilog โดย taga หมายถึงท้องถิ่นของ และ ilog หมายถึงแม่น้ำ รวมแล้วหมายถึงผู้อาศัยอยู่กับแม่น้ำ ไม่มีตัวอย่างการเขียนของภาษาตากาล็อก ก่อนการมาถึงของสเปนในพุทธศตวรรษที่ 21 เหลืออยู่เลย ประวัติศาสตร์ของภาษาจึงเหลืออยู่น้อยมาก คาดว่าภาษานี้กำเนิดในฟิลิปปินส์ตอนกลางจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมินดาเนาหรือวิซายาตะวันออก

หนังสือเล่มแรกที่เขียนด้วยภาษาตากาล็อกคือ Doctrina Cristiana ใน พ.ศ. 2136 โดยในหนังสือเล่มนี้เขียนด้วยภาษาสเปนและภาษาตากาล็อก 2 รูปแบบคือใช้อักษรละตินและอักษรบายบายิน ในช่วงที่สเปนยึดครองอยู่ 333 ปี มีไวยากรณ์และพจนานุกรมเขียนโดยบาทหลวงชาวสเปน

ใน พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้างภาษาประจำชาติโดยสถาบันภาษาแห่งชาติโดยใช้ภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐาน ภาษาประจำชาติที่เคยตั้งชื่อว่า Wikang pambansa (ภาษาแห่งชาติ) โดยประธานาธิบดีมานูเอล เอเล. เกซอนเมื่อ พ.ศ. 2482 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปีโนใน พ.ศ. 2502 แต่การเปลี่ยนชื่อนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาตากาล็อก โดยเฉพาะผู้พูดภาษาเซบัวโน

ใน พ.ศ. 2514 เกิดหัวข้อทางด้านภาษาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติจากภาษาปิลิปีโนเป็นภาษาฟิลิปปินส์ โดยภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาที่ผสมลักษณะของภาษาตากาล็อกสำเนียงลูซอนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน

การจัดจำแนก แก้

ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาในกลุ่มฟิลิปปินส์กลาง ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียอื่น ๆ เช่น ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และภาษาไปวัน มีความสัมพันธ์กับภาษาที่พูดในบิกอลและวิซายาเช่น ภาษาบิโกล ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาวาไร-วาไร และภาษาเซบัวโน

ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาตากาล็อกที่สำคัญได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษามลายูโบราณ และภาษาทมิฬ

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ แก้

ส่วนที่เป็นบ้านเกิดของภาษาตากาล็อกหรือ katagalugan ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของเกาะลูซอน โดยเฉพาะในเอาโรรา บาตายัน บาตังกัส บูลาจัน ลามารีนเหนือ กาบิเต ลากูนา เมโทรมะนิลา นูเอบาเอซิฮา เกซอน และริซัล ภาษาตากาล็อกใช้พูดเป็นภาษาแม่โดยผู้ที่อยู่ในเกาะลูบัว มารินดูเก ทางเหนือและทางตะวันตกของมินโดโร มีผู้พูดประมาณ 64.3 ล้านคน ผู้พุดภาษาตากาล็อกยังแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ทั่วโลก แต่มีการใช้น้อยในการสื่อสารระหว่างชนกลุ่มน้อยในฟิลิปปินส์ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ระบบการเขียน แก้

อักษรบายบายิน แก้

 
อักษรบายบายิน

ภาษาตากาล็อกเคยเขียนด้วยอักษรบายบายินก่อนการเข้ามาของสเปน ในศตวรรษที่ 16 อักษรนี้ประกอบด้วยสระ 3 ตัว และพยัญชนะ 14 ตัว เมื่อเทียบกับตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรนี้มีความคล้ายคลึงกับอักษรกวิโบราณของชวา ซึ่งเชื่อว่าสืบทอดมาจากอักษรบูกิสในซูลาเวซี ต่อมาอักษรนี้ได้เลิกใช้ไป เพราะนิยมใช้อักษรละตินที่เข้ามาในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปน

อักษรบายบายินถูกกำหนดด้วยยูนิโคด รุ่น 3.2 ในช่วง 1700-171F ด้วยชื่อ "Tagalog".

 
a
 
e/i
 
o/u
 
ka
 
ga
 
nga
 
ta
 
da/ra
 
na
 
pa
 
ba
 
ma
 
ya
 
la
 
wa
 
sa
 
ha

vowels

a
i
e
u
o

b

b ᜊ᜔
ba
bi
be
ᜊᜒ
bu
bo
ᜊᜓ

k

k ᜃ᜔
ka
ki
ke
ᜃᜒ
ku
ko
ᜃᜓᜓ

d/r

d/r ᜇ᜔
da/ra
di/ri
de/re
ᜇᜒ
du/ru
do/ro
ᜇᜓ

g

g ᜄ᜔
ga
gi
ge
ᜄᜒ
gu
go
ᜄᜓ

h

h ᜑ᜔
ha
hi
he
ᜑᜒ
hu
ho
ᜑᜓ

l

l ᜎ᜔
la
li
le
ᜎᜒ
lu
lo
ᜎᜓ

m

m ᜋ᜔
ma
mi
me
ᜋᜒ
mu
mo
ᜋᜓ

n

n ᜈ᜔
na
ni
ne
ᜈᜒ
nu
no
ᜈᜓ

ng

ng ᜅ᜔
nga
ngi
nge
ᜅᜒ
ngu
ngo
ᜅᜓ

p

p ᜉ᜔
pa
pi
pe
ᜉᜒ
pu
po
ᜉᜓ

s

s ᜐ᜔
sa
si
se
ᜐᜒ
su
so
ᜐᜓ

t

t ᜆ᜔
ta
ti
te
ᜆᜒ
tu
to
ᜆᜓ

w

w ᜏ᜔
wa
wi
we
ᜏᜒ
wu
wo
ᜏᜓ

y

y ᜌ᜔
ya
yi
ye
ᜌᜒ
yu
yo
ᜌᜓ

อักษรละติน แก้

ในช่วงศตวรรษที่ 20 ภาษาตากาล็อกเขียนด้วยอักษรละติน โดยใช้ระบบการออกเสียงของภาษาสเปน เมื่อระบบภาษาประจำชาติได้พัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากภาษาตากาล็อก Lope K. Santos ได้พัฒนาตัวอักษรใหม่ประกอบด้วยอักษร 20 ตัว

ng และ mga แก้

เครื่องหมาย ng และรูปพหูพจน์ mga เป็นตัวย่อ ออกเสียงว่า นัง และมางา ตามลำดับหมายถึง ของ เมื่อ

สถานะการเป็นภาษาราชการ แก้

 
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาตากาลอกเป็นภาษาหลักในฟิลิปปินส์ โดยมีสำเนียงหลัก 4 สำเนียง: เหนือ, กลาง, ใต้ และมารินดูเก

ภาษาตากาล็อกถูกประกาศให้เป็นภาษาราชการเมื่อโดยสถาบันไบก์นาบาโตเมื่อ พ.ศ. 2440[4] ใน พ.ศ. 2478 ได้ยกเลิกการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ และได้พัฒนาภาษาราชการใหม่ขึ้นมา[5] หลังจากการประชุมของสถาบันภาษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 7 คน จากส่วนต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ได้เลือกภาษาตากาล็อกให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ[6][7] ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอนได้ประกาศเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ว่าได้เลือกภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ต่อมา ใน พ.ศ. 2482 ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอน ได้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติ ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาตากาล็อกว่า วีกัง ปัมบันซา (ภาษาประจำชาติ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปีโน ในปีเดียวกัน

ใน พ.ศ. 2516 ได้ประกาศยกเลิกการใช้ภาษาปิลิปีโนเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาภาษาประจำชาติขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาฟิลิปปินส์[8]

ความแตกต่างระหว่างภาษาฟิลิปปินส์กับภาษาตากาล็อก แก้

คำว่าฟิลิปปินส์และตากาล็อกเป็นชื่อของภาษาที่ใกล้เคียงกัน อาจจะหมายถึงภาษาเดียวกันหรือคนละภาษาก็ได้ ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 30% ของประชากร 84 ล้านคน และเป็นภาษาที่สองของประชากรอีกราว 80% ส่วนภาษาตากาล็อกมีสถานะเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตากาล็อกโดยผู้พูดเป็นภาษาแม่น้อยกว่าภาษาฟิลิปปินส์ เพราะผู้ที่ไม่ใช่ชาวตากาล็อกซึ่งอยุ่ห่างออกไปจากเขตของชาวตากาล็อกคือภาคกลางและภาคใต้ของเกาะลูซอน ใช้ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาแม่แต่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวตากาล็อกด้วย โดยทั่วไปผู้ที่พูดภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาแม่จะไม่มีใครพูดว่าใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่สอง แต่มักถือว่าเป็นผู้พูดของทั้งสองภาษา ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่การเขียนและการแปรผันของคำศัพท์มากกว่า

ภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาราชการในโรงเรียนและใช้ในสื่อต่าง ๆ แต่มีความสำคัญน้อยกว่าภาษาอังกฤษ รวมทั้งในการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์แต่ถือว่าคู่คี่กับภาษาอังกฤษในด้านการค้าขายและการติดต่อราชการ ภาษาฟิลิปปินส์ใช้เป็นภาษากลางทั่วประเทศฟิลิปปินส์โดยเฉพาะการบริการสาธารณะในเขตที่ไม่ใช้ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่เก่ากว่า มีศูนย์กลางอยู่ในเขตของชาวตากาล็อกในเกาะลูซอน ภาษาฟิลิปปินส์มีประวัติย้อนหลังไปเพียง พ.ศ. 2473 ในชื่อภาษาปิลิปีโนซึ่งขณะนั้นยังไม่ต่างจากภาษาตากาล็อกมากนัก ความแตกต่างเริ่มชัดเจนเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเป็นภาษาราชการเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษาฟิลิปปินส์มีอักษร 28 ตัว (รวม "ng" ที่ถือเป็นอักษรเดี่ยวและอักษรที่มาจากภาษาสเปน ñ) และมีระบบของหน่วยเสียงและคำยืมที่เปิดกว้างสำหรับคำยืมจากภาษาต่างชาติและภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ ภาษาตากาล็อกมีอักษร 20 ตัว (ไม่มี c, f, j, q, v, x, z; แต่ใช้ "ng" เป็นอักษรเดี่ยว) และระบบของหน่วยเสียงที่ไม่เปิดกว้างสำหรับภาษาอื่นนอกจากภาษาละตินของวาติกัน

เนื่องจากตากาล็อกเป็นชื่อของกลุ่มชนด้วย จึงมีความอ่อนไหวทางการเมืองหากจะกล่าวว่าภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาเดียวกับภาษาตากาล็อกคำว่าฟิลิปปินส์เป็นคำที่เป็นกลางโดยมาจากชื่อของประเทศไม่ได้มาจากชื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาษาฟิลิปปินส์มีบทบาทเป็นภาษากลางในบริเวณที่เคยใช้ภาษาอื่น ๆ มาก่อน เช่น ในเกาะมินดาเนาที่เคยใช้ภาษาเซบัวโนเป็นภาษากลางและเมืองบากุยโอที่เคยใช้ภาษาอีโลกาโนเป็นภาษากลาง เนื่องจากภาษาฟิลิปปินส์เป็นภาษาในโรงเรียน การศึกษาจะทำให้ช่องว่างระหว่างภาษาตากาล็อกกับภาษาฟิลิปปินส์ห่างไกลกันยิ่งขึ้น

คำศัพท์และคำยืม แก้

คำศัพท์ภาษาตากาล็อกส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากคำศัพท์ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีคำยืมจากภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษามลายู ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษากาปัมปางัน ภาษาทมิฬ และภาษาอื่น ๆ ในตระกูลออสโตรนีเซียน เนื่องจากมีการค้าขายระหว่างเม็กซิโกและมะนิลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21- 24 ทำให้มีคำยืมจากภาษาของชาวอินเดียนแดงในภาษาตากาล็อกด้วย

ภาษาอังกฤษได้ยืมคำจากภาษาตากาล็อกมาใช้ด้วยเช่นกัน เช่น

ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาตากาล็อกในภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง คำจำกัดความ
boondocks หมายถึงชนบท ทหารชาวสหรัฐที่ประจำในฐานทัพในฟิลิปปินส์หลังจากสงครามสหรัฐอเมริกา - สเปน โดยนำมาจากคำว่า bundok ซึ่งในภาษาตากาล็อกหมายถึง "ภูเขา"
cogon หญ้าชนิดหนึ่ง ใช้มุงหลังคา มาจากภาษาตากาล็อกkugon (หญ้าที่มีต้นสูงชนิดหนึ่ง)
ylang-ylang ดอกไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม
Abaca เส้นใยชนิดหนึ่งทำมาจากพืชในตระกูลกล้วย มาจากภาษาตากาล็อก abaká.
Manila hemp กระดาษแข็งสีน้ำตาลอ่อนใช้ทำกล่องและกระดาษ สร้างมาจากเส้นใยอะบากา (abaca)
Capiz หอยนางรมชนิดหนึ่ง

อ้างอิง แก้

  1. Philippine Statistics Authority 2014, pp. 29–34.
  2. Tagalog ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  3. Filipino ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  4. 1897 Constitution of Biak-na-Bato, Article VIII, Filipiniana.net, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28, สืบค้นเมื่อ 2008-01-16
  5. 1935 Philippine Constitution, Article XIV, Section 3, Chanrobles Law Library, สืบค้นเมื่อ 2007-12-20
  6. Manuel L. Quezon III, Quezon’s speech proclaiming Tagalog the basis of the National Language (PDF), quezon.ph, สืบค้นเมื่อ 2010-03-26
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gonzalez
  8. 1973 Philippine Constitution, Article XV, Sections 2–3, Chanrobles Law Library, สืบค้นเมื่อ 2007-12-20

แหล่งข้อมูลอื่น แก้