ภาษาฮาวาย (ฮาวาย: ʻŌlelo Hawaiʻi, ออกเสียง: [ʔoːˈlɛlo həˈvɐjʔi])[6] เป็นภาษาพอลินีเชียและภาษาใกล้สูญขั้นวิกฤตในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่ได้ชื่อภาษามาจากเกาะฮาวาย เกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนตอนเหนือ ภาษาฮาวายและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของรัฐฮาวาย[7] พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 ทรงสถาปนารัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฮาวายครั้งแรกใน ค.ศ. 1839 ถึง 1840[8]

ภาษาฮาวาย
ʻŌlelo Hawaiʻi
ประเทศที่มีการพูดหมู่เกาะฮาวาย
ภูมิภาครัฐฮาวาย (นีเฮา)[1]
ชาติพันธุ์ชาวฮาวายพื้นเมือง
จำนวนผู้พูดภาษาแม่: 2,000 คน

ภาษาที่ 2: 22,000–24,000 คน[2][3]

ใช้ในบ้าน: 18,000 คน[4]  (2007)[5]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ฮาวายมาตรฐาน
สำเนียงอื่น ๆ
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ สหรัฐ
รหัสภาษา
ISO 639-2haw
ISO 639-3haw
Linguasphere39-CAQ-e
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาฮาวายเป็นภาษาใกล้สูญขั้นวิกฤต
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ใน ค.ศ. 1896 สาธารณรัฐฮาวายกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการในโรงเรียน[9] จำนวนผู้พูดภาษาฮาวายเป็นภาษาแม่ลดลงเรื่อย ๆ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1830 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1950 ภาษาอังกฤษเข้ามาแทนที่ภาษาฮาวายในเกาะที่มีคนอาศัยอยู่ 6 จาก 7 เกาะ ใน ค.ศ. 2001 มีผู้พูดภาษาฮาวายเป็นภาษาแม่เหลือน้อยกว่าร้อยละ 0.1 จากประชากรทั้งรัฐ นักภาษาศาสตร์จึงไม่แน่ใจว่าภาษาฮาวายกับภาษาใกล้สูญอื่น ๆ จะอยู่รอดหรือไม่.[10][11][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]

ถึงกระนั้น ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1949 ถึงปัจจุบัน มีการให้ความสนใจและส่งเสริมภาษาฮาวายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โรงเรียนอนุบาลสอนภาษาฮาวายสาธารณะที่เรียกว่า Pūnana Leo ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1984 และโรงเรียนสอนภาษาแห่งอื่นก่อตั้งขึ้นตามมาในเวลาไม่นาน นักเรียนกลุ่มแรกที่เริ่มเรียนในโรงเรียนอนุบาลภาษาฮาวายสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแล้ว และหลายคนพูดภาษาฮาวายได้คล่อง อย่างไรก็ตาม ทางยูเนสโกยังคงจัดให้ภาษาฮาวายอยู่ในกลุ่มภาษาใกล้สูญขั้นวิกฤต[12]

ภาษาพิดจินฮาวาย (หรือภาษาอังกฤษครีโอลฮาวาย (Hawaii Creole English, HCE)) เป็นภาษาครีโอลที่มีผู้พูดในรัฐฮาวายมากกว่าภาษาฮาวาย[13] นักภาษาศาสตร์บางส่วน รวมถึงคนท้องถิ่นจำนวนมากโต้แย้งว่า ภาษาพิดจินฮาวายเป็นภาษาย่อยของภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน[14] ภาษาพิดจินครีโอลถือกำเนิดจากผู้อพยพที่มาจากญี่ปุ่น จีน ปวยร์โตรีโก เกาหลี โปรตุเกส สเปน และฟิลิปปินส์ ซึ่งกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นในไร่ใหญ่ แรงงานชาวฮาวายและผู้อพยพ รวมถึง "luna" หรือผู้ดูแล ต่างพบวิธีสื่อสารกันเอง ในที่สุดภาษาพิดจินจึงกระจายออกจากไร่ใหญ่และเข้าสู่ชุมชนที่ใหญ่ขึ้น โดยยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้[15]

ชื่อ

แก้

กลุ่มภาษาและต้นตอ

แก้

ภาษาฮาวายเป็นภาษาพอลินีเชียที่อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน[16] โดยมีความใกล้ชิดกับภาษาพอลินีเชียอื่น ๆ เช่น ซามัว, Marquesan, ตาฮีตี, มาวรี, ราปานูอี (ภาษาในเกาะอีสเตอร์) และตองงา[17]

Schütz (1994) รายงานว่า ชาว Marquesan เข้าล่าอาณานิคมหมู่เกาะเมื่อประมาณ ค.ศ. 300[18] ตามมาด้วยคลื่นผู้อพยพในเวลาต่อมาจากหมู่เกาะโซไซเอตีและซามัว-ตองงา เมื่อเวลาผ่านไป ภาษาของพวกเขากลายมาเป็นภาษาฮาวายในหมู่เกาะฮาวาย[19] คิมูระและวิลสัน (1983) ยังกล่าวอีกว่า:

นักภาษาศาสตร์ยอมรับว่าภาษาฮาวายมีความใกล้ชิดกับภาษาพอลินีเชียตะวันออก โดยมีความเชื่อมโยงอย่างหนักแน่นเป็นพิเศษในหมู่เกาะมาร์เคซัสตอนใต้ และความเชื่อมโยงรองในตาฮีติ ซึ่งอาจอธิบายได้ด้วยการเดินทางระหว่างหมู่เกาะฮาวายกับหมู่เกาะโซไซเอตี[20]

ความเข้าใจระหว่างกัน

แก้

แจ็ก เอช. วาร์ด (1962) ได้ทำการศึกษาโดยใช้คำศัพท์พื้นฐานและถ้อยคำสั้น ๆ เพื่อพิจารณาระดับความเข้าใจระหว่างภาษาพอลินีเชียที่แตกต่างกัน พบว่าความเข้าใจระหว่างกันของภาษาฮาวายกับภาษา Marquesan อยู่ที่ร้อยละ 41.2 ตาฮีตีอยู่ที่ร้อยละ 37.5 ซามัวอยู่ที่ร้อยละ 25.5 และตองงาอยู่ที่ร้อยละ 6.4[21]

ประวัติ

แก้

อักขรวิธี

แก้

ก่อนหน้าการติดต่อกับชาวตะวันตก ชาวฮาวายไม่มีภาษาเขียนของตนเอง ยกเว้นสัญลักษณ์ศิลปะสกัดหิน โดย ka pīʻāpā Hawaiʻi ชุดตัวอักษรฮาวายสมัยใหม่ อิงจากอักษรละติน ศัพท์ภาษาฮาวายลงท้ายด้วยเสียงสระเท่านั้น[22] และพยัญชนะทั้งหมดต้องตามหลังด้วยสระ ลำดับพยัญชนะฮาวายเรียงสระทั้งหมดก่อนหน้าพยัญชนะ[23] ตามตารางข้างล่างนี้

Aa Ee Ii Oo Uu Hh Kk Ll Mm Nn Pp Ww ʻ
/a/ /e/ /i/ /o/ /u/ /h/ /k~t/ /l/ /m/ /n/ /p/ /v~w/ /ʔ/

ต้นกำเนิด

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Hawaiian". SIL International. 2015. สืบค้นเมื่อ 13 January 2016.
  2. "How Many People Speak Hawaiian? - Hawaii Star". 5 August 2023.
  3. https://www.census.gov/data/tables/2013/demo/2009-2013-lang-tables.html/ [URL เปล่า]
  4. https://www.researchgate.net/publication/326511235_Digital_Realities_of_Indigenous_Language_Revitalization_A_Look_at_Hawaiian_Language_Technology_in_the_Modern_World [URL เปล่า]
  5. ภาษาฮาวาย ที่ Ethnologue (25th ed., 2022)  
  6. Mary Kawena Pukui; Samuel Hoyt Elbert (2003). "lookup of ʻōlelo". in Hawaiian Dictionary. Ulukau, the Hawaiian Electronic Library, University of Hawaii Press.
  7. "Article XV, Section 4". Constitution of the State of Hawaiʻi (ภาษาอังกฤษ). Hawaiʻi State Legislature. 1978. สืบค้นเมื่อ 24 September 2018.
  8. "ʻOkatoba 8: Kumukānāwai o ka Makahiki 1840". Punawaiola (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaiʻi at Mānoa. 2024. สืบค้นเมื่อ 22 August 2024.
  9. Gutierrez, Ben (2022-04-28). "Lawmakers adopt resolution apologizing for ban on Hawaiian language in schools". www.hawaiinewsnow.com. สืบค้นเมื่อ 2023-01-21.
  10. see e.g. (Hinton & Hale 2001)
  11. "The 1897 Petition Against the Annexation of Hawaii". National Archives and Records Administration. 15 August 2016.
  12. "UNESCO Atlas of the World's Languages in danger". unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-20.
  13. "Languages Spoken in Hawaii". Exclusive Hawaii Rehab. 3 December 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
  14. Fishman, Joshua A. (1977). ""Standard" versus "Dialect" in Bilingual Education: An Old Problem in a New Context". The Modern Language Journal. 61 (7): 315–325. doi:10.1111/j.1540-4781.1977.tb05146.x. ISSN 0026-7902.
  15. Haertig, E.W. (1972). Nana i Ke Kumu Vol 2. Hui Hanai.
  16. Lyovin (1997:257–258)
  17. "Polynesian languages". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-02.
  18. Schütz (1994:334–336, 338 20n)
  19. Elbert & Pukui (1979:35–36)
  20. Kimura & Wilson (1983:185)
  21. Schütz, Albert J. (2020). Hawaiian Language Past, Present, and Future. United States: University of Hawaii Press. p. 31. ISBN 978-0824869830.
  22. Wight (2005:x)
  23. Schütz (1994:217, 223)

ข้อมูล

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้