ฮาวาย (อังกฤษ: Hawaii, ออกเสียง: /həˈwaɪ.i/; ฮาวาย: Hawaiʻi, ออกเสียง: [həˈvɐjʔi] หรือ [həˈwɐjʔi]) เป็นรัฐหนึ่งในภาคตะวันตกของสหรัฐ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากแผ่นดินใหญ่สหรัฐออกไปประมาณ 3,200 กิโลเมตร (2,000 ไมล์) เป็นรัฐเดียวของสหรัฐที่เป็นกลุ่มเกาะ เป็นรัฐเดียวที่ตั้งอยู่นอกทวีปอเมริกาเหนือ และเป็นรัฐเดียวที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน

รัฐฮาวาย

State of Hawaii (อังกฤษ)
Mokuʻāina o Hawaiʻi (ฮาวาย)
สมญา: 
รัฐอาโลฮา (ทางการ),
สวรรค์แห่งแปซิฟิก,[1] หมู่เกาะอาโลฮา, รัฐ 808[2]
คำขวัญ: 
เพลง: "ฮาไวอีโปโนอี"
(ฮาวาย: Hawaiʻi Ponoʻī)[4]
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐฮาวาย
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐฮาวาย
ประเทศสหรัฐ
สถานะก่อนเป็นรัฐดินแดนฮาวาย
เข้าร่วมสหรัฐ21 สิงหาคม 1959; 64 ปีก่อน (1959-08-21) (ลำดับที่ 50)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
โฮโนลูลู
มหานครใหญ่สุดโฮโนลูลู
การปกครอง
 • ผู้ว่าการจอช กรีน ()
 • รองผู้ว่าการซิลเวีย ลู้ก (ด)
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติรัฐฮาวาย
 • สภาสูงวุฒิสภา
 • สภาล่างสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายตุลาการศาลสูงสุดฮาวาย
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร1: เอ็ด เคส (ด)
2: จิลล์ โทคูดา (ด)
พื้นที่
 • ทั้งหมด10,931 ตร.ไมล์ (28,311 ตร.กม.)
 • พื้นดิน6,423 ตร.ไมล์ (16,638 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ4,507 ตร.ไมล์ (11,672 ตร.กม.)  41.2%
อันดับพื้นที่อันดับที่ 43
ขนาด
 • ความยาว1,522 ไมล์ (2,450 กิโลเมตร)
ความสูง3,030 ฟุต (920 เมตร)
ความสูงจุดสูงสุด (เมานาเคอา[5][6])13,796 ฟุต (4,205.0 เมตร)
ความสูงจุดต่ำสุด (มหาสมุทรแปซิฟิก[6])0 ฟุต (0 เมตร)
ประชากร
 (2020)
 • ทั้งหมด1,455,271 คน
 • อันดับอันดับที่ 40
 • ความหนาแน่น221 คน/ตร.ไมล์ (82.6 คน/ตร.กม.)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 13
 • ค่ามัธยฐานรายได้ครัวเรือน83,200 ดอลลาร์[7]
 • อันดับรายได้อันดับที่ 4
ภาษา
 • ภาษาทางการอังกฤษ, ฮาวาย
เขตเวลาUTC−10:00 (เวลาฮาวาย)
อักษรย่อไปรษณีย์HI
รหัส ISO 3166US-HI
อักษรย่อเดิมH.I.
ละติจูด18° 55′ เหนือ ถึง 28° 27′ เหนือ
ลองจิจูด154° 48′ ตะวันตก ถึง 178° 22′ ตะวันตก
เว็บไซต์portal.ehawaii.gov

รัฐฮาวายประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ 137 เกาะที่ประกอบเป็นส่วนใหญ่ของกลุ่มเกาะฮาวายและวางตัวเรียงรายเป็นระยะทาง 2,400 กิโลเมตร (1,500 ไมล์) โดยเป็นส่วนหนึ่งของอนุภูมิภาคพอลินีเชียของเขตโอเชียเนียในทางภูมิศาสตร์กายภาพและชาติพันธุ์วิทยา[8] แนวชายฝั่งมหาสมุทรของฮาวายจึงมีความยาวเป็นอันดับที่ 4 ของสหรัฐ กล่าวคือ ประมาณ 1,210 กิโลเมตร (750 ไมล์) เกาะหลัก 8 เกาะจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ นีเฮา, คาไว, โอวาฮู, โมโลไก, ลานาอี, กาโฮโอลาเว, เมาวี และฮาวายซึ่งเป็นที่มาของชื่อรัฐ และมักเรียกว่า "เกาะใหญ่" หรือ "เกาะฮาวาย" เพื่อไม่ให้สับสนกับรัฐฮาวายหรือกลุ่มเกาะฮาวาย หมู่เกาะฮาวายตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยอยู่นั้นประกอบเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติทางทะเลปาปาฮาเนาโมกูวาเกยา ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก

ในบรรดา 50 รัฐของสหรัฐ ฮาวายเป็นรัฐที่มีพื้นที่น้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 8 และมีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 11 แต่ด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัย 1.4 ล้านคน จึงอยู่ในอันดับที่ 13 ในแง่ความหนาแน่นของประชากร ชาวฮาวายประมาณสองในสามอาศัยอยู่บนเกาะโอวาฮูซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐอย่างโฮโนลูลู ฮาวายเป็นหนึ่งในรัฐที่มีความหลากหลายมากที่สุดของประเทศ เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิกและมีการอพยพย้ายถิ่นมานานกว่าสองศตวรรษ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในหกรัฐที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยของสหรัฐ ฮาวายเป็นรัฐเดียวที่มีชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียเป็นชนกลุ่มใหญ่ มีชุมชนชาวพุทธที่ใหญ่ที่สุด[9] และมีประชากรหลายเชื้อชาติในสัดส่วนที่มากที่สุดในสหรัฐ[10] ด้วยเหตุนี้ ฮาวายจึงเป็นแหล่งหลอมรวมวัฒนธรรมอเมริกาเหนือกับเอเชียตะวันออกเข้าด้วยกันอย่างมีลักษณะเฉพาะ นอกเหนือจากมรดกของชนพื้นเมืองฮาวายเอง

หลังจากที่ชาวพอลินีเชียเข้ามาตั้งรกรากในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่าง ค.ศ. 1000 ถึง ค.ศ. 1200 ฮาวายก็กลายเป็นที่ตั้งของเขตหัวหน้าเผ่าจำนวนมาก[11] ใน ค.ศ. 1778 เจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษ เป็นบุคคลแรก (เท่าที่ทราบ) ที่ไม่ใช่ชาวพอลินีเชียที่มาถึงกลุ่มเกาะนี้ อิทธิพลของอังกฤษในยุคแรกเริ่มสะท้อนให้เห็นในธงประจำรัฐซึ่งมียูเนียนแจ็กอยู่ด้วย ในไม่ช้าบรรดานักสำรวจ พ่อค้า และนักล่าวาฬชาวยุโรปและอเมริกันก็หลั่งไหลเข้ามาและนำโรคต่าง ๆ ติดตัวมาด้วย เช่น ซิฟิลิส วัณโรค ฝีดาษ โรคหัด ส่งผลให้ชนพื้นเมืองที่ครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่โดดเดี่ยวเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ประชากรฮาวายพื้นเมืองลดลงจากระหว่าง 300,000 ถึง 1,000,000 คน เหลือไม่ถึง 40,000 คนเมื่อถึง ค.ศ. 1890[12][13][14]

ฮาวายกลายเป็นราชอาณาจักรที่เป็นปึกแผ่นและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติใน ค.ศ. 1810 และยังคงเป็นอิสระจนกระทั่งนักธุรกิจและทหารชาวอเมริกันและชาวยุโรปล้มล้างระบอบราชาธิปไตยใน ค.ศ. 1893 นำไปสู่การผนวกฮาวายเข้ากับสหรัฐใน ค.ศ. 1898 ในฐานะดินแดนสหรัฐที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ฮาวายถูกญี่ปุ่นโจมตีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ส่งผลให้กลุ่มเกาะนี้เป็นที่จับตามองในระดับโลกและในประวัติศาสตร์ และมีส่วนทำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเต็มตัว ฮาวายเป็นรัฐล่าสุดที่เข้าร่วมกับสหรัฐเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1959[15] ใน ค.ศ. 1993 รัฐบาลสหรัฐกล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการกับบทบาทของตนในการโค่นล้มรัฐบาลฮาวาย ซึ่งกระตุ้นความเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชฮาวายและนำไปสู่ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการชดเชยแก่ประชากรพื้นเมือง

เศรษฐกิจฮาวายในอดีตขึ้นอยู่กับการทำไร่ขนาดใหญ่ และในปัจจุบันรัฐนี้ยังคงเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่เนื่องจากดินที่อุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศเขตร้อนที่ไม่เหมือนใครในสหรัฐ เศรษฐกิจฮาวายเริ่มมีความหลากหลายตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยการท่องเที่ยวและกลาโหมกลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดสองภาค รัฐนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยว นักโต้คลื่น และนักวิทยาศาสตร์ด้วยทัศนียภาพทางธรรมชาติที่หลากหลาย ภูมิอากาศเขตร้อนอันอบอุ่น ชายหาดสาธารณะที่มีอยู่มากมาย สภาพแวดล้อมแบบมหาสมุทร ภูเขาไฟที่ยังมีพลัง และท้องฟ้าแจ่มใสบนเกาะใหญ่ ฮาวายเป็นที่ตั้งของทัพเรือแปซิฟิกของสหรัฐซึ่งเป็นหน่วยบัญชาการกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่พำนักของลูกจ้างกระทรวงกลาโหมประมาณ 75,000 คน[16]

ทำเลที่ตั้งอันห่างไกลของฮาวายส่งผลให้รัฐนี้เป็นหนึ่งในรัฐที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ฮาวายเป็นรัฐที่มีความมั่งคั่งมากเป็นอันดับที่ 3[16] และผู้อยู่อาศัยของรัฐมีอายุคาดเฉลี่ยยืนยาวที่สุดในบรรดารัฐใด ๆ ของสหรัฐ อยู่ที่ 80.7 ปี[17]

ศัพทมูลวิทยา แก้

ชื่อรัฐฮาวายตั้งตามชื่อเกาะฮาวายหรือฮาไวอี (Hawaiʻi) เกาะขนาดใหญ่สุดของรัฐ โดยทั่วไปอธิบายว่าชื่อเกาะแผลงมาจากชื่อของฮาไวอีโลอา (Hawaiʻiloa) บุคคลจากประเพณีมุขปาฐะฮาวาย กล่าวกันว่าเขาเป็นผู้ค้นพบหมู่เกาะนี้ระหว่างการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุคเริ่มแรก[18][19]

คำว่า Hawaiʻi ในภาษาฮาวายมีความคล้ายคลึงกับคำว่า *Sawaiki ในภาษาพอลินีเชียดั้งเดิมซึ่งมีความหมายที่สืบสร้างขึ้นว่า "บ้านเกิด"[a] คำร่วมเชื้อสายของคำว่า Hawaiʻi สามารถพบได้ในภาษากลุ่มพอลินีเชียอื่น ๆ เช่น ภาษามาวรี (Hawaiki), ภาษาราโรโตงา (ʻAvaiki) และภาษาซามัว (Savaiʻi) ปูกูอีและเอลเบิร์ต นักภาษาศาสตร์ กล่าวว่า[21] "ในที่อื่น ๆ ของพอลินีเชีย คำว่า Hawaiʻi หรือคำร่วมเชื้อสายของมันเป็นชื่อของโลกใต้พิภพหรือชื่อของบ้านเกิดบรรพชน แต่ในฮาวาย ชื่อนี้กลับไม่มีความหมายใด ๆ"[22]

อรรถาธิบาย แก้

  1. Pollex—a reconstruction of the Proto-Polynesian lexicon, Biggs and Clark, 1994.[20] เครื่องหมายดอกจันที่อยู่หน้าคำแสดงว่าคำนั้นเป็นคำที่สืบสร้างขึ้น

อ้างอิง แก้

  1. Brodie, Carolyn S; Goodrich, Debra; Montgomery, Paula Kay (1996). The Bookmark Book. Englewood, CO: Libraries Unlimited. ISBN 9781563083006. OCLC 34164045. สืบค้นเมื่อ August 5, 2015.
  2. "Play Ball holds unforgettable 1st event in Hawaii". MLB.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 6, 2020.
  3. Hawaii State Legislature. "Haw. Rev. Stat. § 5–9 (State motto)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2015. สืบค้นเมื่อ December 9, 2013.
  4. Hawaii State Legislature. "Haw. Rev. Stat. § 5–10 (State song)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2003. สืบค้นเมื่อ December 9, 2013.
  5. "Summit USGS 1977". NGS data sheet. U.S. National Geodetic Survey.
  6. 6.0 6.1 "Elevations and Distances in the United States". United States Geological Survey. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2011. สืบค้นเมื่อ October 21, 2011.
  7. "US Census Bureau QuickFacts: Hawaii". US Census Bureau. สืบค้นเมื่อ May 9, 2022.
  8. "Is Hawaii a Part of Oceania or North America?". WorldAtlas. January 12, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2019. สืบค้นเมื่อ June 24, 2019.
  9. "Religious Landscape Study". Pewforum.org. May 11, 2015. Retrieved May 27, 2018
  10. "Hawaii is home to the nation's largest share of multiracial Americans". Pew Research Center. สืบค้นเมื่อ December 14, 2020.
  11. Kirch, Patrick (2011). "When did the Polynesians Settle Hawaii? A review of 150 years of scholarly inquiry". Hawaiian Archaeology. 12: 3–26.
  12. Office of Hawaiian Affairs (May 2017). "Native Hawaiian Population Enumerations in Hawai'i" (PDF). p. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
  13. Trask, Haunani-Kay (July 2016). "Lovely Hula Lands: Corporate Tourism and the Prostitution of Hawaiian Culture". Border/Lines. 23.
  14. Trask, Haunani-Kay (1999). From a Native Daughter: Colonialism and Sovereignty in Hawai'i. Honolulu: University of Hawaiʻi.
  15. "[USC02] 48 USC Ch. 3: Front Matter". uscode.house.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2018. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  16. 16.0 16.1 "Top 5 richest states in the US". www.worldfinance.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
  17. Arias, Elizabeth (August 23, 2022). "National Vital Statistics Reports" (PDF). CDC.gov. สืบค้นเมื่อ February 20, 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. Bruce Cartwright (1929). "The Legend of Hawaii-loa" (PDF). Journal of the Polynesian Society. 38: 105–121. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 13, 2007 – โดยทาง Ethnomathematics Digital Library (EDL).
  19. "Origins of Hawaii's Names". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2006. สืบค้นเมื่อ February 24, 2007.
  20. Biggs, Bruce (1994). "Does Māori have a closest relative?". ใน Sutton, Douglas G. (บ.ก.). The Origins of the First New Zealanders. Auckland, NZ: Auckland University Press. pp. 96–105. ISBN 978-1-86940-098-9.
    Clark, Ross (1994). "Moriori and Māori: The Linguistic Evidence". ใน Sutton, Douglas G. (บ.ก.). The Origins of the First New Zealanders. Auckland, NZ: Auckland University Press. pp. 123–135. ISBN 978-1-86940-098-9.
  21. Pukui, M.K.; Elbert, S.H. (1986). Hawaiian Dictionary. Honolulu, HI: University of Hawaiʻi Press. p. 62. ISBN 978-0-8248-0703-0.
  22. Pukui, M.K.; Elbert, S.H.; Mookini, E.T. (1974). Place Names of Hawaii. Honolulu, HI: University of Hawaiʻi Press. ISBN 978-0-8248-0208-0.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 21°30′N 158°00′W / 21.5°N 158.0°W / 21.5; -158.0 (รัฐฮาวาย)