หมู่เกาะฮาวายเป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วย 8 เกาะใหญ่, อะทอลล์, เกาะเล็ก ๆ และภูเขาใต้ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทอดตัวยาวเป็นระยะทาง 2,400 กิโลเมตรจากเกาะฮาวายทางตอนใต้ไปถึงอะทอลล์เคอร์ทางตอนเหนือ ในอดีตชาวยุโรปและชาวอเมริกันเรียกกลุ่มเกาะนี้ว่า"หมู่เกาะแซนวิช"อันเป็นชื่อที่เจมส์ คุกตั้งให้เพื่อเป็นเกียรติแก่จอห์น มอนทากิว เอิร์ลที่ 4 แห่งแซนด์วิช ปัจจุบันเรียกชื่อว่าหมู่เกาะฮาวายตามชื่อของเกาะที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเกาะนี้

หมู่เกาะฮาวาย
ภาพถ่ายจากดาวเทียมของหมู่เกาะฮาวาย
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ
จุดสูงสุดภูเขาไฟเมานาเคอา
13,796 ft (4,205 m)
การปกครอง
ประชากรศาสตร์
ประชากร1,450,000

การปกครองแบบราชาธิปไตยฮาวายถูกล้มล้างใน ค.ศ. 1893 ทำให้เกาะอยู่ภายใต้การปกครองแบบสาธารณรัฐและถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐใน ค.ศ. 1898[1] ปัจจุบันรัฐฮาวายและพื้นที่ของกลุ่มเกาะเกือบทั้งหมดเป็นรัฐของสหรัฐ (รวมถึงหมู่เกาะฮาวายตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นเกาะที่ไม่มีคนอยู่อาศัย) ยกเว้นมิดเวย์อะทอลล์ซึ่งเป็นหมู่เกาะและดินแดนห่างไกลที่ไม่มีหน่วยงานปกครองภายในสหรัฐ

หมู่เกาะฮาวายเป็นยอดของเทือกเขาใต้ทะเลที่เรียกว่าเทือกเขาใต้ทะเลฮาวาย–เอมเพอเรอะซึ่งเกิดจากกิจกรรมทางภูเขาไฟและจุดร้อน เกาะนี้อยู่ห่างจากชายฝั่งทวีปที่ใกล้ที่สุด 3,000 กิโลเมตร[2]

เกาะและปะการัง แก้

หัวข้อเรื่องการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกบนหมู่เกาะนี้ยังเป็นที่ถกเถียง[3] แต่มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานในช่วง ค.ศ. 124[4]

เจมส์ คุก พบเกาะนี้ครั้งแรกในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1778[5] พร้อมตั้งชื่อให้ว่า "หมู่เกาะแซนวิช" เพื่อเป็นเกียรติแก่จอห์น มอนทากิว เอิร์ลที่ 4 แห่งแซนด์วิชตำแหน่งที่ปรึกษาใหญ่รัฐบาลด้านกิจการราชนาวีหนึ่งในผู้สนับสนุนเขา[6] ชื่อนี้ถูกใช้ต่อจนถึงทศวรรษที่ 1840 เมื่อชื่อท้องถิ่นอย่าง "ฮาวาย" เริ่มมีความสำคัญขึ้น[7]

หมูเกาะฮาวายมีพื้นที่รวมประมาณ 16,636.5 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมมิดเวย์อะทอลล์) เกาะและเกาะเล็กเหล่านี้รวมกันเป็นรัฐฮาวาย รัฐที่ 50 ของสหรัฐ[8]

เกาะหลัก แก้

เกาะ ชื่อเล่น ขนาด (ตร.กม.) ประชากร
(ค.ศ. 2010)
ความหนาแน่น
(คน : ตร.กม.)
จุดสูงสุด ความสูง อายุ (ล้านปีก่อน)[9] ที่ตั้ง
ฮาวาย[10] The Big Island 1 10,432.5 185,079 4 17.7407 ภูเขาไฟเมานาเคอา 1 13,796 ฟุต (4,205 เมตร) 0.4 19°34′N 155°30′W / 19.567°N 155.500°W / 19.567; -155.500 (Hawaii)
เมาวี[11] The Valley Isle 2 1,883.4 144,444 2 76.692 ภูเขาไฟฮาเลอาคาลา 2 10,023 ฟุต (3,055 เมตร) 1.3–0.8 20°48′N 156°20′W / 20.800°N 156.333°W / 20.800; -156.333 (Maui)
โอวาฮู[12] The Gathering Place 3 1,545.4 953,207 1 616.78 คาอาลา 5 4,003 ฟุต (1,220 เมตร) 3.7–2.6 21°28′N 157°59′W / 21.467°N 157.983°W / 21.467; -157.983 (Oahu)
คาไว[13] The Garden Isle 4 1,430.5 66,921 3 46.783 คาไวคีนี 3 5,243 ฟุต (1,598 เมตร) 5.1 22°05′N 159°30′W / 22.083°N 159.500°W / 22.083; -159.500 (Kauai)
โมโลไก[14] The Friendly Isle 5 673.4 7,345 5 10.9074 คามาคุ 4 4,961 ฟุต (1,512 เมตร) 1.9–1.8 21°08′N 157°02′W / 21.133°N 157.033°W / 21.133; -157.033 (Molokai)
ลาไน[15] The Pineapple Isle 6 363.9 3,135 6 8.615 ลาไนฮาเล่ 6 3,366 ฟุต (1,026 เมตร) 1.3 20°50′N 156°56′W / 20.833°N 156.933°W / 20.833; -156.933 (Lanai)
นีเฮา[16] The Forbidden Isle 7 180.0 170 7 0.944 พานิเอา 8 1,250 ฟุต (381 เมตร) 4.9 21°54′N 160°10′W / 21.900°N 160.167°W / 21.900; -160.167 (Niihau)
คาโฮโอลาวี[17] The Target Isle 8 115.5 0 8 0 ปูโมโลอานุย 7 1,483 ฟุต (452 เมตร) 1.0 20°33′N 156°36′W / 20.550°N 156.600°W / 20.550; -156.600 (Kahoolawe)

เกาะหลัก 8 เกาะของรัฐฮาวาย (บางเรียกเกาะฮาวายวินด์เวิร์ด) อยู่ในตารางนี้ทั้งหมด เกาะทั้งหมดนอกจากเกาะคาโฮโอลาวีล้วนมีคนอาศัยอยู่[18]

อ้างอิง แก้

  1. Kent, Noel J. (1993). Hawaii: Islands Under the Influence. University of Hawaii Press. pp. x. ISBN 0-8248-1552-1.
  2. Macdonald, Abbott, and Peterson, 1984
  3. Pearce, Charles E.M.; Pearce, F. M. (2010). Oceanic Migration: Paths, Sequence, Timing and Range of Prehistoric Migration in the Pacific and Indian Oceans. Springer Science & Business Media. p. 167. ISBN 978-90-481-3826-5.
  4. Whittaker, Elvi W. (1986). The Mainland Haole: The White Experience in Hawaii. Columbia University Press. p. 3. ISBN 978-0-231-05316-7.
  5. Rayson, Ann; Bauer, Helen (1997). Hawaii: The Pacific State. Bess Press. p. 26. ISBN 1573060968.
  6. James Cook and James King (1784). A Voyage to the Pacific Ocean: Undertaken, by the Command of His Majesty, for Making Discoveries in the Northern Hemisphere, to Determine the Position and Extent of the West Side of North America, Its Distance from Asia, and the Practicability of a Northern Passage to Europe: Performed Under the Direction of Captains Cook, Clerke, and Gore, in His Majesty's Ships the Resolution and Discovery, in the Years 1776, 1777, 1778, 1779, and 1780. Vol. 2. Nicol and Cadell, London. p. 222.
  7. Clement, Russell. "From Cook to the 1840 Constitution: The Name Change from Sandwich to Hawaiian Islands" (PDF). University of Hawai'i at Manoa Hamilton Library. สืบค้นเมื่อ June 17, 2012.
  8. "Guide to State and Local Census Geography – Hawaii" (PDF). Washington, DC: U.S. Census Bureau. 2013-09-09. pp. 1–2. สืบค้นเมื่อ 2016-09-16.
  9. Blay, Chuck, and Siemers, Robert. Kauai‘’s Geologic History: A Simplified Guide. Kaua‘i: TEOK Investigations, 2004. ISBN 9780974472300. (Cited in "Hawaiian Encyclopedia : The Islands". สืบค้นเมื่อ June 20, 2012.)
  10. U.S. Geological Survey Geographic Names Information System: Island of Hawaiʻi
  11. U.S. Geological Survey Geographic Names Information System: Maui Island
  12. U.S. Geological Survey Geographic Names Information System: Oʻahu Island
  13. U.S. Geological Survey Geographic Names Information System: Kauaʻi Island
  14. U.S. Geological Survey Geographic Names Information System: Molokaʻi Island
  15. U.S. Geological Survey Geographic Names Information System: Lānaʻi Island
  16. U.S. Geological Survey Geographic Names Information System: Niʻihau Island
  17. U.S. Geological Survey Geographic Names Information System: Kahoʻolawe Island
  18. "Hawaii Population 2016 (Demographics, Maps, Graphs)". worldpopulationreview.com. สืบค้นเมื่อ 2016-09-12.

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้

21°N 157°W / 21°N 157°W / 21; -157