ในภาษาศาสตร์ คำร่วมเชื้อสาย[1] (อังกฤษ: cognate) คือคำศัพท์ที่มีต้นกำเนิดทางศัพทมูลวิทยาหรือ รากศัพท์ ร่วมกัน[2] คำร่วมเชื้อสายมักจะถูกสืบทอดจากภาษาบรรพบุรุษร่วมกัน แต่ก็อาจมีการยืมคำจากภาษาอื่น ตัวอย่างเช่นคำว่า dish (ดิช) และ desk (เดสฺก) ในภาษาอังกฤษและคำว่า Tisch (ทิช, "โต๊ะ") ในภาษาเยอรมันเป็นคำร่วมเชื้อสายเพราะทั้งสองมาจากคำว่า discus (ดิสกุส) ในภาษาละตินซึ่งเกี่ยวข้องกับพื้นผิวเรียบ ๆ ของพวกมัน คำร่วมเชื้อสายอาจวิวัฒน์ความหมายที่คล้ายกัน ต่างกัน หรือแม้กระทั่งตรงข้ามกัน แต่ในกรณีส่วนใหญ่จะมีเสียงหรือตัวอักษรที่คล้ายกันหรือในบางกรณีแตกต่างกัน บางคำที่เสียงเหมือนกันแต่ไม่ได้มีรากศัพท์ร่วมกันเรียกว่าคำร่วมเชื้อสายเทียม (อังกฤษ: false cognate) ในขณะที่บางคำที่เป็นคำร่วมเชื้อสายแต่ความหมายต่างกันเรียกว่าเพื่อนเทียม (อังกฤษ: false friend)

แผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำที่เกี่ยวข้องกันทางศัพทมูลวิทยา

คำว่า cognate (คอกเนต) ในภาษาอังกฤษก็อนุพัทธ์มาจากคำนามในภาษาละตินว่า cognatus (กองนาตุส) ซึ่งแปลว่า "ญาติสายโลหิต"[3]

คุณลักษณะ

แก้

คำร่วมเชื้อสายไม่จำเป็นต้องมีความหมายเดียวกัน เพราะจะเปลี่ยนแปลง (semantic change) ไปในขณะที่ภาษาต่าง ๆ พัฒนาแยกจากกัน ตัวอย่างเช่นคำว่า starve (สตารฺฟ) ในภาษาอังกฤษ และ sterven (แชฺตรฺเวิน) ในภาษาดัตช์หรือ sterben (แชฺตรฺเบิน, "ตาย") ในภาษาเยอรมันล้วนอนุพัทธ์มาจากรากภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิม (proto-germanic language) *sterbaną (เสฺตรฺบานาง์, "die") Discus ก็มาจากคำว่า δίσκος (ดิสโกส) ในภาษากรีก (จากกริยา δικεῖν ดิเกน, "โยน") คำทายาท (reflex (linguistics)) ของคำว่า discus ในภาษาอังกฤษที่มาทีหลังและเป็นคนละคำกันซึ่งอาจมาจากภาษาละตินยุคกลาง (medieval latin) คำว่า desca คือคำว่า desk (ดูพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดใต้คำว่า desk)

แต่คำร่วมเชื่อสายไม่จำเป็นต้องมีรูปที่คล้ายกัน: คำว่า father (ฟาเธอรฺ) ในภาษาอังกฤษ père (แปรฺ) ในภาษาฝรั่งเศส และ հայր (ฮายฺร hayr) ในภาษาอาร์มีเนียล้วนอนุพัทธ์มาโดยตรงจากคำว่า *ph₂tḗr (ประมาณ เปฺหฺ2ตรฺ) ในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม ตัวอย่างที่สุดขีดคือคำว่า երկու (เอรฺกุ erku) ในภาษาอาร์มีเนียและ two (ทู, "สอง") ในภาษาอังกฤษซึ่งทั้งสองเป็นคำร่วมเชื้อสายและอนุพัทธ์มาจากคำว่า *dwóh₁ (ประมาณ โดฺวหฺ1) ในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม (ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงของเสียง *dw > erk ในภาษาอาร์มีเนียนั้นเกิดขึ้นตามปรกติ คือมีรูปแบบและลายที่แน่นอน)

ระหว่างภาษา

แก้

ตัวอย่างของคำร่วมเชื้อสายในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนคือคำว่า "กลางคืน" เช่น night (ภาษาอังกฤษ) nicht (ภาษาสกอต) Nacht (ภาษาเยอรมัน) nacht (ภาษาดัตช์) nag (ภาษาอาฟรีกานส์) Naach (ภาษาโคโลญ (Colognian)) natt (ภาษาสวีเดนและภาษานอร์เวย์) nat (ภาษาเดนมาร์ก) nátt (ภาษาแฟโร) nótt (ภาษาไอซ์แลนด์) noc (ภาษาเช็ก ภาษาสโลวักและภาษาโปแลนด์) ночь noch (ภาษารัสเซีย) ноќ noć (ภาษามาซิโดเนีย), нощ, nosht (ภาษาบัลแกเรีย), nishi (ภาษาเบงกอล), ніч, nich (ภาษายูเครน), ноч, noch/noč (ภาษาเบลารุส) noč (ภาษาสโลวีเนีย) noć (ภาษาบอสเนีย ภาษาเซอร์เบียและภาษาโครเอเชีย) nakts (ภาษาลัตเวีย) naktis (ภาษาลิทัวเนีย) νύξ nyx (ภาษากรีกโบราณ νύχτα / nychta ในภาษากรีกสมัยใหม่ (Modern Greek)) nakt- (ภาษาสันสกฤต) natë (ภาษาแอลเบเนีย) nos (ภาษาเวลส์และภาษาคอร์นวอลล์) noz (ภาษาเบรอตง) nox/nocte (ภาษาละติน) nuit (ภาษาฝรั่งเศส) noche (ภาษาสเปน) nueche (ภาษาอัสตูเรียส) noite (ภาษาโปรตุเกสและภาษากาลิเซีย) notte (ภาษาอิตาลี) nit (ภาษากาตาลา) nuèch / nuèit (ภาษาอ็อกซิตัน)และ noapte (ภาษาโรมาเนีย) ล้วนมีความหมายว่า "กลางคืน" และอนุพัทธ์มาจากคำว่า*nókʷts ในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม

ตัวอย่างของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนอีกคำคือคำว่า "ดาว" เช่น star (ภาษาอังกฤษ) starn (ภาษาสกอต) Stern (ภาษาเยอรมัน) ster (ภาษาดัตช์และภาษาอาฟรีกานส์) Schtähn (ภาษาโคโลญ) stjärna (ภาษาสวีเดน) stjerne (ภาษานอร์เวย์และภาษาเดนมาร์ก) stjarna (ภาษาไอซ์แลนด์) stjørna (ภาษาแฟโร) stairno (ภาษากอทิก (Gothic language)) str- (ภาษาสันสกฤต และเป็นรากศัพท์ของคำว่า "ดารา" ในภาษาไทย) tara (ภาษาฮินดีและภาษาเบงกอล) tera (ภาษาสิเลฏี) tora (ภาษาอัสสัม) setāre (ภาษาฟาร์ซี) stoorei (ภาษาปาทาน) estêre หรือ stêrk (ภาษาเคิร์ด) astgh (ภาษาอาร์มีเนีย) ἀστήρ (astēr) (ภาษากรีกหรือ ἀστέρι / ἄστρο asteri / astro ในภาษากรีกสมัยใหม่) astrum / stellă (ภาษาละติน) astre / étoile (ภาษาฝรั่งเศส) astro / stella (ภาษาอิตาลี) stea (ภาษาโรมาเนียและภาษาเวเนโต (Venetian language)) estel (ภาษากาตาลา) astru / isteddu (ภาษาซาร์เดญญา (Sardinian language)) estela (ภาษาอ็อกซิตัน) estrella และ astro (ภาษาสเปน) estrella (ภาษาอัสตูเรียสและภาษาเลโอน (Leonese dialect)) estrela และ astro (ภาษาโปรตุเกสและภาษากาลิเซีย) seren (ภาษาเวลส์) steren (ภาษาคอร์นวอลล์) และ sterenn (ภาษาเบรอตง) มาจากคำในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมว่า *h₂stḗr แปลว่า "ดาว"

ตัวอย่างของคำในภาษาไทยที่เป็นคำร่วมเชื้อสายกับคำภาษาอังกฤษซึ่งยืมมาจากภาษาเขมรโบราณและสันสกฤตตามลำดับคือคำว่า รถ (ดูวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษและไทย) กับคำว่า rotate ("หมุน") ทั้งสองมาจากคำว่า *hret- ในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมซึ่งแปลว่า "กลิ้ง"

คำว่า سلام salām ในภาษาอาหรับ שלום shalom ในภาษาฮีบรู shlama ในภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียและ selamในภาษาอัมฮารา (Amharic) ก็เป็นคำร่วมเชื้อสายที่แปลว่า สันติภาพ โดยอนุพัทธ์มาจากคำว่า *šalām- ในภาษาเซมิติกดั้งเดิม (proto-semetic) ซึ่งมีความหมายเดียวกัน

บางครั้งคำร่วมเชื้อสายจะมองเห็นได้ยากกว่าตัวอย่างด้านบนและบางคนหรือองกรณ์ก็จะตีความหลักฐานไปแตกต่างกัน อย่างคำว่า milk ในภาษาอังกฤษเป็นคำร่วมเชื้อสายชัดเจนกับคำว่า Milch ในภาษาเยอรมัน melk ในภาษาดัตช์ молоко (moloko) ในภาษารัสเซีย mleko ในภาษาเซอร์เบียและภาษาสโลวีเนีย และ mlijeko ในภาษามอนเตเนโกร ภาษาบอสเนียและภาษาโครเอเชีย[4] ในทางกลับกันคำว่า lait ในภาษาฝรั่งเศส llet ในภาษากาตาลา latte ในภาษาอิตาลี lapte ในภาษาโรมาเนีย leche ในภาษาสเปน และ leite ในภาษาโปรตุเกสและภาษากาลิเซีย (ทั้งหมดแปลว่า "นม") นั้นเป็นคำร่วมเชื้อสายที่ชัดเจนน้อยกว่าของคำว่า γάλακτος gálaktos กาลักโตส ในภาษากรีกโบราณ (รูปสัมพันธการกเอกพจน์ (genitive singular) ของคำว่า γάλα gála กาลา "นม") ความสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัดยิ่งกว่าเดิมอยู่ในคำว่า lac "นม" ภาษาละตินซึ่งเป็นคำระหว่างทางไปสู่คำว่า lactic และคำศัพท์อื่น ๆ ที่ยืมมาจากภาษาละตินในภาษาอังกฤษ

คำร่วมเชื้อสายบางคำตรงข้ามกันทางอรรถศาสตร์ หรือมีความหมายตรงข้ามกัน ตัวอย่างเช่นในขณะที่คำว่า חוצפה chutzpah คุตสปะห์ ในภาษาฮิบรูแปลว่า "ความโอหัง" คำร่วมเชื้อสายในภาษาอาหรับคลาสสิก حصافة ḥaṣāfah ฮะศอฟะฮ์ แปลว่า "การตัดสินที่น่าเชื่อถือ"[5] ตัวอย่างอีกคำคือคำว่า empathy "ความร่วมรู้สึก" ในภาษาอังกฤษ และคำว่า εμπάθεια empátheia เอมปะเธีย "ความมุ่งร้าย" ในภาษากรีก

ภายในภาษาเดียวกัน

แก้

คำร่วมเชื้อสายในภาษาเดียวกัน หรือคำฝาแฝด (doublet (linguistics)) อาจมีความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยไปถึงต่างกันสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่นคำว่า ward และ guard "ปกป้อง ระวัง"(<PIE *wer-, "to perceive, watch out for" "รับรู้ ระวัง") ในภาษาอังกฤษเป็นคำร่วมเชื้อสาย เช่นเดียวกับคำว่า shirt "เสื้อ" และ skirt "กระโปรง" (<PIE *sker-, "to cut" "ตัด") ในบางกรณีรวมถึงกรณีนี้ด้วย คำหนึ่ง ("skirt") ได้รับมาจากภาษาอื่นที่ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ[6] ส่วนอีกคำเป็นคำพื้นเมื่อง ("shirt") [7] คำยืมหลายคำเป็นแบบนี้ ซึ่งคำว่า skirt ในตัวอย่างนี้ยืมมาจากภาษานอร์สเก่าในช่วงเดนลอว์

บางครั้งฝาแฝดทั้งสองก็มาจากภาษาอื่นทั้งคู่โดยปกติจะเป็นภาษาเดียวกันแต่ช่วงเวลาต่างกัน ตัวอย่างเช่นคำว่า chief (ที่แปลว่าหัวหน้าในภาษาอังกฤษ) มาจากคำว่า chef ("หัว") ในภาษาฝรั่งเศสสมัยกลางและการออกเสียงสมัยใหม่ก็อนุรักษ์เสียงพยัญชนะของภาษาฝรั่งเศสสมัยกลาง ส่วนคำว่า chef (เชฟ หัวหน้าครัว) ถูกยืมมาจากคำเดียวกันในศตวรรษต่อ ๆ มาแต่เสียงพยัญชนะได้เปลี่ยนแปลงเป็นเสียง "sh" แล้วในภาษาฝรั่งเศส คำเช่นนี้ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นฝาแฝดทางศัพทมูลวิทยา และยังพบได้ในปริมาณที่มากกว่าสองเช่นกับคำว่า wain ("เกวียน" ภาษาอังกฤษพื้นเมือง) waggon/wagon ("เกวียน รถตู้ ตู้รถไฟ" จากภาษาดัตช์) และ vehicle ("ยานพาหนะ" จากภาษาละติน) ในภาษาอังกฤษ

คำในภาษาหนึ่งอาจถูกยืมไปในภาษาอื่นและได้พัฒนาความหมายใหม่หรือรูปใหม่ขึ้นมาแล้วถูกยืมกลับเข้าไปภาษาต้นฉบับ นี่เรียกว่าการยืมใหม่ (reborrowing) ตัวอย่างเช่นคำว่า κίνημα (กินิมา, "การเคลื่อนไหว") ในภาษากรีกกลายเป็นคำว่า cinéma ในภาษาฝรั่งเศส (สิเนมา เปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษอเมริกันคำว่า movie) และสุดท้ายถูกยืมกลับเข้าภาษากรีกเป็นคำว่า σινεμά (สิเนมา, "ศิลปะของภาพยนตร์" "โรงภาพยนตร์") คำว่า κίνημα และ σινεμά ในภาษากรีกจึงเป็นคำฝาแฝด[8]

คำฝาแฝดที่ไม่ชัดเจนมากในภาษาอังกฤษอีกคู่คือคำว่า grammar (แกรมมาร์ "ไวยากรณ์") และ glamour (แกลเมอร์ "เสน่ห์")

คำร่วมเชื้อสายเทียม

แก้

คำร่วมเชื้อสายเทียมคือคำที่ผู้คนส่วนมากเชื่อว่าเกี่ยวข้องกัน (มีต้นกำเนิดร่วมกัน) แต่การตรวจสอบทางภาษาศาสตร์ได้เปิดเผยว่ามันไม่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่นคำกริยา ในภาษาละตินและ ในภาษาเยอรมันแปลว่า "มี" ทั้งสองดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกันหากมองแค่ที่ความคล้ายคลึงแบบผิวเผิน แต่ทว่าคำทั้งสองวิวัฒน์มาจากรากที่ต่างกัน โดยในกรณีนี้เป็นรากภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม (PIE) ที่ต่างกัน คำทั้งสองจึงไม่สามารถเป็นคำร่วมเชื่อสายกันได้ (ดูกฎของกริมม์สำหรับตัวอย่าง) คำว่า haben ในภาษาเยอรมันและ have ในภาษาอังกฤษมาจากราก *kh₂pyé- (จับ) ใน PIE และคำร่วมเชื้อสายแท้ในภาษาละตินคือคำว่า capere (ยึด จับ) ในทางตรงข้ามคำว่า habēre ในภาษาละตินมาจากราก *gʰabʰ (ให้ รับ) ใน PIE และคำร่วมเชื้อสายแท้ในภาษาอังกฤษที่มีรากเดียวกันคือคำว่า give (ให้) และ geben (ให้) ในภาษาเยอรมัน[9]

ในทางเดียวกันคำว่า much ในภาษาอังกฤษและ mucho ในภาษาสเปนดูคล้ายกันและมีความหมายคล้ายกันแต่ไม่ใช่คำร่วมเชื้อสาย เพราะทั้งสองวิวัฒน์มาจากรากต่างกัน: much มาจากราก *mikilaz ในภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิม < *meǵ- ใน PIE และ mucho มาจากคำว่า multum ในภาษาละติน < *mel- ใน PIE คำร่วมเชื้อสายแท้ของคำว่า much เป็นคำว่า maño แทนในภาษาสเปน[10]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. แสงจันทร์ แสนสุภา. (๒๕๕๑). บอกชาติจากชื่อ. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓, จาก เว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา: www.royin.go.th/?knowledges=บอกชาติจากชื่อ-๑-ธันวาคม
  2. Crystal, David, บ.ก. (2011). "cognate". A Dictionary of Linguistics and Phonetics (6th ed.). Blackwell Publishing. p. 104. ISBN 978-1-4443-5675-5. OCLC 899159900. สืบค้นเมื่อ 16 March 2016. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editorlink= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor-link=) (help)
  3. "cognate", The American Heritage Dictionary of the English Language, 4th ed.: "Latin cognātus: co-, co- + gnātus, born, past participle of nāscī, to be born." Other definitions of the English word include "[r]elated by blood; having a common ancestor" and "[r]elated or analogous in nature, character, or function".
  4. เปรียบเทียบกับ ἀμέλγω amelgō อะเมลโก "รีดนม" ในภาษากรีก
  5. Wehr, Hans (1994) [1979]. J. Milton Cowan (บ.ก.). Dictionary of Modern Written Arabic. Urbana, Illinois: Spoken Language Services, Inc. ISBN 0-87950-003-4.
  6. Harper, Douglas. "skirt (n.)". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2017-06-16. early 14c., "lower part of a woman's dress," from Old Norse skyrta "shirt, a kind of kirtle"
  7. Harper, Douglas. "shirt (n.)". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2017-06-16. Old English scyrte "skirt, tunic," from Proto-Germanic *skurtjon "a short garment"
  8. ข้อเท็จจริงคือ σινεμά คู่กับคำสร้างใหม่ในภาษากรีกคำว่า κινηματογράφος (จินิมาโตกราโฟส) ที่มีรากเดียวกันและความหมายเดียวกันทั้งสองของคำว่า cinéma/σινεμά (แต่คำว่าว่าภาพยนตร์และฟิล์มคือคำว่า เตเนีย (tainia) ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน)
  9. Lexikon der indogermanischen Verben
  10. Ringe, Don. "A quick introduction to language change" (PDF). Univ. of Pennsylvania: Linguistics 001 (Fall 2011). ¶ 29. pp. 11–12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-20. สืบค้นเมื่อ 15 June 2014.{{cite web}}: CS1 maint: location (ลิงก์)

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Rubén Morán (2011), Cognate Linguistics, Kindle Edition, Amazon.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้