ภาษาฟีจี อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย พูดในประเทศฟีจี ประมาณ 320,000 คน และมีผู้ใช้ภาษาฟีจีในประเทศนิวซีแลนด์อีกเกือบพันคน

ภาษาฟีจี
Vakaviti บากาบีตี
ออกเสียง/βakaβiti/
ประเทศที่มีการพูดฟีจี นิวซีแลนด์
จำนวนผู้พูดประมาณ 320,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการฟีจี
ผู้วางระเบียบ-
รหัสภาษา
ISO 639-1fj
ISO 639-2fij
ISO 639-3fij
ภาษาฟีจี

ประวัติ

แก้

เดวิด คาร์กิล (1809-1843) เป็นหมอสอนศาสนาและนักสำรวจชาวสกอตที่ศึกษาภาษาฟีจี และเป็นผู้กำหนดอักษรละตินเพื่อใช้กับภาษาฟีจีโดยยึดตามสำเนียงบาอูเป็นหลัก เขาได้กำหนดไว้หลายแบบ ซึ่งมีข้อโต้แย้งจากชาวฟีจี และเขาก็ดำเนินงานต่อ ตอนแรกเขาได้กำหนดตัว mb และ nd ใช้แทนเสียง /mb/ และ /nd/ แต่ชาวฟีจีกลับออกเสียงเป็นสองเสียง ในที่สุดเขาจึงกำหนดระบบสะกดให้เข้ากับความเข้าใจของชาวฟีจี และใช้มาจนถึงทุกวันนี้[1]

b = [mb] มฺบ

c = [ð] ฑ

d = [nd] (di = [ndʒi]) นฺด (นฺจี)

f = [f] ฟ

g = [ŋ] ง

j = [tʃ] ~ [ndʒ] จ

k = [k] ก

l = [l] ล

m = [m] ม

n = [n] น

nr = [ɳɖ] ณฺฎ

p = [p] ป

q = [ŋɡ] งฺก

r = [r] ร

s = [s] ส

t = [t] (ti = [tʃi]) ต (จี)

v = [β] ฝ

w = [ɰ] ว (ง ไม่นาสิก)

y = [j] ย


a [a] อา

e [e] เอ

i [i] อี

o [o] โอ

u [u] อู

ai au ei eu oi ou

[aj,aw,ej,ew,oj,ow]

ไอ เอา เอย์ เอว โอย โอว

อ้างอิง

แก้