ภาษาอีโลกาโน (อักษรโรมัน: Ilokano, /lˈkɑːn/;[6] อีโลกาโน: Pagsasao nga Ilokano) เป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟีจี ภาษามาวรี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และภาษาไปวัน

ภาษาอีโลกาโน
Ilokano
Iloko, Iluko, Pagsasao nga Ilokano, Samtoy, Sao mi ditoy
ประเทศที่มีการพูดประเทศฟิลิปปินส์
ภูมิภาคลูซอนเหนือ ลูซอนกลางหลายพื้นที่ (ตาร์ลักเหนือ, จังหวัดนูเวบาเอซีฮา จังหวัดซัมบาเลสตอนเหนือ และจังหวัดเอาโรรา) และเขตโซกซาร์เจนบางส่วนในเกาะมินดาเนา
ชาติพันธุ์ชาวอีโลกาโน
จำนวนผู้พูด8.1 ล้านคน  (2015)[1]
ผู้พูดภาษาที่สอง 2 ล้านคน (2000)[2]
เป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากเป็นอันับ 3 ของประเทศฟิลิปปินส์[3]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรอีโลกาโน),
อักษรเบรลล์อีโลกาโน
อดีต: อักษรไบบายิน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการจังหวัดลาอูนยอน[4]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ฟิลิปปินส์
ผู้วางระเบียบKomisyon sa Wikang Filipino
รหัสภาษา
ISO 639-2ilo
ISO 639-3ilo
Linguasphere31-CBA-a
พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาอีโลกาโนจากข้อมูลของ Ethnologue[5]
บริเวณที่เป็นแถบคือชุมชนที่สามารถพูดภาษาอีโลกาโน-Itnegในจังหวัดอาบรา
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ระบบการเขียน

แก้
 
คำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้าจาก Doctrina Cristiana ค.ศ. 1621 เขียนในภาษาอีโลกาโนแบบอักษรไบบายิน

อักษรสมัยใหม่

แก้

อักษรอีโลกาโนสมัยใหม่ประกอบด้วย 28 ตัวอักษร:[7]

Aa Bb Cc Dd Ee Ff Gg Hh Ii Jj Kk Ll Mm Nn Ññ NGng Oo Pp Qq Rr Ss Tt Uu Vv Ww Xx Yy Zz

ตัวอย่างจากสองระบบ

แก้

ตัวอย่างข้างล่างนี้มาจากคำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้าสองฉบับ โดยฉบับด้านซ้ายใช้อักขรวิธีฐานภาษาสเปน ส่วนฉบับด้านขวาใช้อักขรวิธีฐานภาษาตากาล็อก


ไวยากรณ์

แก้

ภาษาอีโลกาโนมีรากศัพท์และการลงวิภัติปัจจัยที่ซับซ้อน มีทั้งเติมข้างหน้า ตรงกลางและท้ายคำ รวมถึงการซ้ำบางส่วนของคำด้วย ตัวอย่างเช่น รากศัพท์ของคำว่าอาบน้ำคือ digos ผันได้เป็น Agdigos = อาบน้ำ Agdigdigos = การอาบน้ำ Agdigdigosak = กำลังอาบน้ำ Agindidigosak = แกล้งทำเป็นอาบน้ำ Nagdigosak = อาบน้ำแล้ว

คำสรรพนาม

แก้
สรรพนามแทนบุคคล
การกสมบูรณ์ การกเกี่ยวพัน การกกรรม
อิสระ ภายใน (-ak) ภายใน (-ko อิสระ
บุรุษที่ 1 เอกพจน์ siák -ak -k (o) kaniák
บุรุษที่ 1 ทวิพจน์ datá, sitá -ta -ta kadatá
บุรุษที่ 2 เอกพจน์ siká -ka -m (o) kenká
บุรุษที่ 3 เอกพจน์ isú (na) -na kenkuána
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ รวมผู้ฟัง datayó, sitayó -tayó -tayó kadatayó
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ ไม่รวมผู้ฟัง dakamí, sikamí -kamí -mi kadakamí
บุรุษที่ 2 พหูพจน์ dakayó, sikayó -kayó -yo kadakayó
บุรุษที่ 3 พหูพจน์ isúda -da -da kadakuáda

คำสรรพนามรูปสมบูรณ์แบ่งเป็น 2 รูปคือรูปสมบูรณ์และรูปภายใน รูปสมบูรณ์จะไม่เชื่อมต่อกับคำอื่น ส่วนรูปภายในจะต่อท้ายคำอื่นเช่น

  • Siák' ti gayyem ni Juan = ฉันคือเพื่อนของฮวน
  • Dakamí ti napan idiay Laoag = นั่นคือเราผู้ไปยัง Laoag

Gumatgatangak iti saba = ฉันกำลังซื้อกล้วย Agawidkayonto kadi intono Sabado? = พวกคุณทั้งหมดจะกลับบ้านวันเสาร์ใช่ไหม คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของต่อกับคำนามที่เป็นเจ้าของหรือคำกริยาเพื่อแสดงการกเกี่ยวข้อง คำสรรพนาม -mo และ -ko ถูกลดลงเหลือ-m และ -k เมื่อตามหลังสระ เข่น

  • Napintas ti balaymo = บ้านของคุณสวย
  • Ayanna daydiay asok = หมาของฉันอยู่ที่ไหน
  • Basbasaenda ti diario = พวกเขากำลังอ่านหนังสือพิมพ์

สรรพนามรูปกรรมมักใช้แสดงความหมายเพื่อหรือสำหรับใครบางคน เช่น

  • Intedna kaniak = เขาให้มันแก่ฉัน
  • Imbagan kaniana = คุณบอกเธอ!

คำยืม

แก้

คำศัพท์ภาษาอีโลกาโนใกล้เคียงกับภาษาในเกาะบอร์เนียว คำยืมจากภาษาอื่นได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาอาหรับและภาษาสันสกฤต ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างคำยืม
คำ ที่มา ความหมายเดิม ความหมายในภาษาอีโลกาโน
arak ภาษาอาหรับ เครื่องดื่มคล้ายไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป
karma ภาษาสันสกฤต กรรม สปิริต
Sanglay ภาษาจีนฮกเกี้ยน ส่งสินค้า ส่งสินค้า/พ่อค้าจีน
agbuldos ภาษาอังกฤษ ขู่เข็ญ ขู่เข็ญ
kuarta ภาษาสเปน เหรียญทองแดง เงิน
kumusta ภาษาสเปน เป็นอย่างไรบ้าง เป็นอย่างไรบ้าง

อ้างอิง

แก้
  1. Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin
  2. Rubino (2000)
  3. Philippine Census, 2000. Table 11. Household Population by Ethnicity, Sex and Region: 2000
  4. Elias, Jun (19 September 2012). "Iloko La Union's official language". Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 24 September 2012.
  5. Ethnologue. "Language Map of Northern Philippines". ethnologue.com. Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 7 December 2015.
  6. Bauer, Laurie (2007). The Linguistics Student's Handbook. Edinburgh: Edinburgh University Press.
  7. Komisyon sa Wikang Filipino (2012). Tarabay iti Ortograpia ti Pagsasao nga Ilokano. Komisyon sa Wikang Filipino. p. 25.

บรรณานุกรม

แก้
  • Rubino, Carl (1997). Ilocano Reference Grammar (วิทยานิพนธ์ PhD). University of California, Santa Barbara.
  • Rubino, Carl (2000). Ilocano Dictionary and Grammar: Ilocano-English, English-Ilocano. University of Hawai'i Press. ISBN 0-8248-2088-6.
  • Vanoverbergh, Morice (1955). Iloco Grammar. Baguio, Philippines: Catholic School Press/Congregation of the Sacred Heart of Mary.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้