สหภาพยุโรป
สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,233,255 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 447 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า[6] เกษตรกรรม[7] การประมงและการพัฒนาภูมิภาค[8] การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร
สหภาพยุโรป รายการ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ธงสหภาพยุโรป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เพลงชาติ: อันดีฟร็อยเดอ (ทำนอง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | บรัสเซลส์ (โดยพฤตินัย) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมืองใหญ่สุด | ปารีส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาราชการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เดมะนิม | ยุโรป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐสมาชิก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การปกครอง | สหภาพเศรษฐกิจและการเมือง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โรเบอร์ตา เมทโซลา (รักษาการ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชาร์ล มีแชล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การก่อตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 มีนาคม 2500 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 กุมภาพันธ์ 2535 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 ธันวาคม 2552 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 กรกฎาคม 2556 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 มกราคม 2563 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• รวม | 4,233,262 ตารางกิโลเมตร (1,634,472 ตารางไมล์) (7) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.08 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 2562 ประมาณ | 446,834,579[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 ต่อตารางกิโลเมตร (274.5 ต่อตารางไมล์) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ปี 2563 (ประมาณ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• รวม | 20.2 ล้านล้านดอลลาร์[2] (2) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• ต่อหัว | 45,315 ดอลลาร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จีดีพี (ราคาตลาด) | ปี 2563 (ประมาณ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• รวม | 16.0 ล้านล้านดอลลาร์[2] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• ต่อหัว | 35,883 ดอลลาร์[3] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จีนี (2561) | 30.7[4] ปานกลาง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอชดีไอ (2562) | 0.911[5] สูงมาก · อันดับที่ 14 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เขตเวลา | UTC+0 ถึง +2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+1 ถึง +3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสโทรศัพท์ | +3 และ +4 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โดเมนบนสุด | .eu | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ europa |
สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล[9][10][11] องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป
สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป[12] การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552
สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก[13] ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[14] นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ[15] สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก กลุ่ม 7 และกลุ่ม 20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต
ภูมิศาสตร์
แก้รัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปครอบคลุมพื้นที่ 4,233,262 ตารางกิโลเมตร ยอดเขาสูงสุดในสหภาพยุโรป คือ ยอดเขามงบล็องในเทือกเขาเกรเอียนแอลป์ (Graian Alps) มีความสูง 4,810.45 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จุดต่ำสุดในสหภาพยุโรปคือ แลมเมอฟยอร์เดน (Lammefjorden) ประเทศเดนมาร์ก และซาวด์เพลสปอลเดอร์ (Zuidplaspolder) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ความสูง 7 เมตรต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ภูมิภาพ ภูมิอากาศและเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้รับอิทธิพลจากแนวชายฝั่ง ซึ่งมีความยาว 65,993 กิโลเมตร
เมื่อรวมดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่นอกทวีปยุโรปแต่ยังเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว สหภาพยุโรปจะมีภูมิอากาศเกือบทุกชนิดตั้งแต่อาร์กติก (ยุโรปเหนือ-ตะวันออก) ถึงเขตร้อน (เฟรนช์เกียนา) ทำให้ค่าเฉลี่ยทางอุตุนิยมวิทยาของสหภาพยุโรปสิ้นความหมายโดยสิ้นเชิง ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (ยุโรปเหนือ-ตะวันตกและกลาง) ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (ยุโรปใต้) หรือภูมิอากาศอบอุ่นฤดูร้อนภาคพื้นทวีปหรือกึ่งเขตหนาว (บอลข่านเหนือและยุโรปกลาง)
ประชากรของสหภาพยุโรปมีความเป็นเมืองสูง โดยผู้อยู่อาศัยประมาณ 75% อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองในปี 2549 นครส่วนใหญ่กระจายทั่วสหภาพยุโรป แม้มีจำนวนมากกระจุกอยู่ในและรอบ ๆ เบเนลักซ์
รัฐสมาชิก
แก้สหภาพยุโรปเติบโตขึ้นจากรัฐผู้ก่อตั้งหกรัฐ ได้แก่ ประเทศเบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนีตะวันตก อิตาลี ลักเซมเบิร์กและเนเธอร์แลนด์ ผ่านการขยายในเวลาต่อมาเป็น 27 ประเทศในปัจจุบัน ประเทศเข้าร่วมสหภาพโดยกลายเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อตั้ง ฉะนั้นจึงอยู่ภายใต้เอกสิทธิ์และพันธกรณีของสมาชิกสภาพสหภาพยุโรป ดังนี้เป็นการมอบอำนาจอธิปไตยบางส่วนแก่สถาบันโดยแลกเปลี่ยนกับการมีผู้แทนในสถาบันเหล่านั้น มักเรียกการปฏิบัติดังนี้ว่า "การรวมอำนาจอธิปไตย" (pooling of sovereignty)
ในการเข้าเป็นสมาชิก ประเทศนั้นต้องเข้าเกณฑ์โคเปนเฮเกนซึ่งนิยามไว้ ณ ที่ประชุมยุโรปในกรุงโคเปนเฮเกนเมื่อปี 2536 เกณฑ์ดังกล่าวกำหนดให้มีประชาธิปไตยเสถียรซึ่งเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม เศรษฐกิจแบบตลาดที่ทำหน้าที่ และการยอมรับพันธกรณีของสมาชิกภาพรวมทั้งกฎหมายสหภาพยุโรป การประเมินการบรรลุเกณฑ์ดังกล่าวของประเทศเป็นความรับผิดชอบของที่ประชุมยุโรป ยังไม่มีรัฐสมาชิกใดเคยออกจากสหภาพ แม้กรีนแลนด์ (จังหวัดปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก) ถอนตัวในปี 2528 ปัจจุบันสนธิสัญญาลิสบอนมีวรรคในข้อที่ 50 กำหนดสำหรับสมาชิกในการออกจากสหภาพยุโรป
ปัจจุบันมีหกประเทศซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นสมาชิก ได้แก่ ประเทศแอลเบเนีย ไอซ์แลนด์ มาซิโดเนีย มอนเตเนโกร เซอร์เบียและตุรกี แม้ไอซ์แลนด์ระงับการเจรจาไปในปี 2556 ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและคอซอวอได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าเป็นผู้ที่อาจมีคุณสมบัติ โดยบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนากำลังยื่นคำขอเป็นสมาชิก
สี่ประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) มิใช่สมาชิกสหภาพยุโรป แต่ได้ผูกมัดบางส่วนต่อเศรษฐกิจและข้อบังคับของสหภาพยุโรป ได้แก่ ไอซ์แลนด์, ลีชเทินชไตน์ และนอร์เวย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดเดี่ยวผ่านพื้นที่เศรษฐกิจยุโรป และสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีความสัมพันธ์คล้ายกันผ่านสนธิสัญญาทวิภาคี ความสัมพันธ์ของจุลรัฐ อันดอร์รา โมนาโก ซานมารีโนและนครรัฐวาติกันมีการใช้เงินสกุลยูโรและขอบเขตความร่วมมืออื่น รัฐเอกราช 27 รัฐต่อไปนี้ประกอบเป็นสหภาพยุโรป คือ
ชื่อ | เมืองหลวง | วันที่เข้าร่วม | ประชากร[1] | พื้นที่ (กม.2) |
---|---|---|---|---|
ออสเตรีย | เวียนนา | 1 มกราคม 2538 | 8,700,471 | 83,855 |
เบลเยียม | บรัสเซลส์ | ผู้ก่อตั้ง | 11,289,853 | 30,528 |
บัลแกเรีย | โซเฟีย | 1 มกราคม 2550 | 7,153,784 | 110,994 |
โครเอเชีย | ซาเกร็บ | 1 กรกฎาคม 2556 | 4,190,669 | 56,594 |
ไซปรัส | นิโคเซีย | 1 พฤษภาคม 2547 | 848,319 | 9,251 |
สาธารณรัฐเช็ก | ปราก | 1 พฤษภาคม 2547 | 10,553,843 | 78,866 |
เดนมาร์ก | โคเปนเฮเกน | 1 มกราคม 2516 | 5,707,251 | 43,075 |
เอสโตเนีย | ทาลลินน์ | 1 พฤษภาคม 2547 | 1,315,944 | 45,227 |
ฟินแลนด์ | เฮลซิงกิ | 1 มกราคม 2538 | 5,487,308 | 338,424 |
ฝรั่งเศส | ปารีส | ผู้ก่อตั้ง | 66,661,621 | 640,679 |
เยอรมนี | เบอร์ลิน | [a] | ผู้ก่อตั้ง82,162,000 | 357,021 |
กรีซ | เอเธนส์ | 1 มกราคม 2524 | 10,793,526 | 131,990 |
ฮังการี | บูดาเปสต์ | 1 พฤษภาคม 2547 | 9,830,485 | 93,030 |
ไอร์แลนด์ | ดับลิน | 1 มกราคม 2516 | 4,658,530 | 70,273 |
อิตาลี | โรม | ผู้ก่อตั้ง | 60,665,551 | 301,338 |
ลัตเวีย | ริกา | 1 พฤษภาคม 2547 | 1,968,957 | 64,589 |
ลิทัวเนีย | วิลนีอัส | 1 พฤษภาคม 2547 | 2,888,558 | 65,200 |
ลักเซมเบิร์ก | นครลักเซมเบิร์ก | ผู้ก่อตั้ง | 576,249 | 2,586 |
มอลตา | วัลเลตตา | 1 พฤษภาคม 2547 | 434,403 | 316 |
เนเธอร์แลนด์ | อัมสเตอร์ดัม | ผู้ก่อตั้ง | 16,979,120 | 41,543 |
โปแลนด์ | วอร์ซอ | 1 พฤษภาคม 2547 | 37,967,209 | 312,685 |
โปรตุเกส | ลิสบอน | 1 มกราคม 2529 | 10,341,330 | 92,390 |
โรมาเนีย | บูคาเรสต์ | 1 มกราคม 2550 | 19,759,968 | 238,391 |
สโลวาเกีย | บราติสลาวา | 1 พฤษภาคม 2547 | 5,426,252 | 49,035 |
สโลวีเนีย | ลูบลิยานา | 1 พฤษภาคม 2547 | 2,064,188 | 20,273 |
สเปน | มาดริด | 1 มกราคม 2529 | 46,438,422 | 504,030 |
สวีเดน | สต็อกโฮล์ม | 1 มกราคม 2538 | 9,851,017 | 449,964 |
รวม: | 27 ประเทศ | 446,834,579 | 4,233,262 |
การเมือง
แก้สหภาพยุโรปดำเนินการตามหลักการให้ (conferral) ซึ่งกล่าวว่า ควรกระทำเฉพาะภายในข้อจำกัดอำนาจหน้าที่ที่มอบหมายให้ตามสนธิสัญญา และการเสริมอำนาจปกครอง (subsidiarity) ซึ่งกล่าวว่า ควรกระทำเฉพาะเมื่อรัฐสมาชิกกระทำเพียงลำพังแล้วไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เพียงพอ กฎหมายที่สถาบันของสหภาพยุโรปออกสามารถผ่านได้หลายแบบ กล่าวโดยทั่วไป กฎหมายสามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่ม คือ กฎหมายที่มีผลใช้บังคับโดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการนำไปปฏิบัติระดับชาติ (ข้อบังคับ) และกฎหมายที่เจาะจงต้องการมาตรการนำไปปฏิบัติระดับชาติ (คำสั่ง)
โครงสร้างรัฐธรรมนูญ
แก้การจำแนกประเภทสหภาพยุโรปในแง่กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายรัฐธรรมนูญมีการถกเถียงอย่างมาก สหภาพฯ เริ่มต้นเป็นองค์การระหว่างประเทศและค่อย ๆ พัฒนาเป็นสมาพันธรัฐ ทว่า ตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1960 สหภาพฯ ได้เพิ่มลักษณะสำคัญหลายประการของสหพันธรัฐ ดังเช่นผลโดยตรงของกฎหมายรัฐบาลระดับรวม (general level of government) ต่อปัจเจกบุคคล และการออกเสียงลงคะแนนฝ่ายข้างมากในกระบกวนการตัดสินใจของรัฐบาลระดับรวม โดยไม่กลายเป็นสหพันธรัฐโดยสภาพ ฉะนั้นปัจจุบันนักวิชาการจึงมองสหภาพฯ ว่าเป็นแบบกึ่งกลางระหว่างสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ โดยเป็นตัวอย่างที่มิใช่โครงสร้างการเมืองทั้งสองแบบ ด้วยเหตุนี้ องค์การดังกล่าวจึงมีคำเรียกว่า มีลักษณะเฉพาะตัว (sui generis) แม้บางคนอาจแย้งว่าการเรียกแบบนี้ใช้ไม่ได้แล้ว
องค์การดังกล่าวเดิมใช้คำว่า "ประชาคม" และต่อมา "สหภาพ" อธิบายตนเอง ความยุ่งยากของการจำแนกประเภทเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างกฎหมายระดับชาติ (ซึ่งคนในบังคับของกฎหมายได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) และกฎหมายระหว่างประเทศ (ซึ่งคนในบังคับได้แก่รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ) นอกจากนี้ ยังสามารถมองในแง่ของข้อแตกต่างระหว่างประเพณีนิยมรัฐธรรมนูญของยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของประเพณีนิยมยุโรป คำว่า สหพันธรัฐ เทียบเท่ากับรัฐสหพันธ์เอกราชในกฎหมายระหว่างประเทศ ฉะนั้นจึงไม่อาจเรียกสหภาพยุโรปว่าสหพันธรัฐได้โดยปราศจากคุณสมบัติ ทว่า มีการอธิบายโดยยึดแบบจำลองสหพันธ์หรือสหพันธ์โดยสภาพ ฉะนั้นจึงอาจเหมาะสมที่จะพิจารณาสหภาพฯ ว่าเป็นสหภาพรัฐสหพันธ์ (federal union of states) อันเป็นโครงสร้างเชิงความคิดระหว่างสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งเยอรมนีเรียกสหภาพยุโรปว่า ชตาเทนเวอร์บุนด์ เป็นโครงสร้างกึ่งกลางระหว่างชตาเทนบุนด์ (สมาพันธรัฐ) และบุนเดสส์ทาท (สหพันธรัฐ) ซึ่งเข้ากับมโนทัศน์นี้ สหภาพรัฐสหพันธ์อาจเป็นแบบการเมืองที่อยู่ยืนยาว ศาสตราจารย์แอนดรูว์ โมราฟซิกอ้างว่าสหภาพยุโรปไม่น่าจะพัฒนาต่อไปเป็นสหพันธรัฐ แต่อาจถึงเติบโตเต็มที่เป็นระบบรัฐธรรมนูญแล้ว
การปกครอง
แก้สหภาพยุโรปมีหกสถาบัน ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป อำนาจหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแบ่งกันระหว่างคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและรัฐสภายุโรป ส่วนคณะกรรมาธิการยุโรปและที่ประชุมยุโรปในขอบเขตจำกัดเป็นผู้ดำเนินภาระงานฝ่ายบริหาร ธนาคารกลางยุโรปเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินของยูโรโซน ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ตีความและการใช้บังคับกฎหมายสหภาพยุโรปและประกันสนธิสัญญา ศาลผู้สอบบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบงบประมาณของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังมีองค์กรสนับสนุนซึ่งให้คำแนะนำสหภาพยุโรปหรือดำเนินการในด้านหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ
คณะมนตรียุโรป (European Council) - กำหนดแรงผลักดันและทิศทาง - |
คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (The Council of the European Union) - สภานิติบัญญัติ - |
รัฐสภายุโรป (European Parliament) - สภานิติบัญญัติ - |
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) - ฝ่ายบริหาร - | |||||
|
|
|
| |||||
ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป (Court of Justice of the European Union) - ฝ่ายตุลาการ - |
ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) - ธนาคารกลาง - |
ศาลผู้สอบบัญชียุโรป (European Court of Auditors) - ผู้สอบบัญชีการเงิน - |
||||
|
|
|
ที่ประชุมยุโรป
แก้คณะมนตรียุโรป หรือ ที่ประชุมยุโรป (European Council) ให้ทิศทางการเมืองแก่สหภาพยุโรป มีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้งและประกอบด้วยประธานที่ประชุมยุโรป (คนปัจจุบันคือ ดอนัลต์ ตุสก์) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและผู้แทนหนึ่งคนจากรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ (อาจเป็นประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) ผู้แทนระดับสูงของสหภาพด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง (คนปัจจุบันคือ เฟเดริกา โมเกรินี) ก็เข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน มีผู้อธิบายว่าเป็น "ผู้มีอำนาจการเมืองสูงสุด" ของสหภาพยุโรป ที่ประชุมยุโรปเกี่ยวข้องโดยตรงในการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาและการนิยามวาระและยุทธศาสตร์นโยบายของสหภาพยุโรป
ที่ประชุมยุโรปใช้บทบาทผู้นำของตนสะสางข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกและสถาบัน และระงับวิกฤตการเมืองและความไม่ลงรอยระหว่างปัญหาและนโยบายที่มีข้อโต้เถียง คณะมนตรีฯ แสดงออกภายนอกเป็น "ประมุขแห่งรัฐร่วมกัน" และให้สัตยาบันเอกสารสำคัญ (ตัวอย่างเช่น ความตกลงระหว่างประเทศและสนธิสัญญา)
ภาระหน้าที่ของประธานที่ประชุมยุโรป คือ การประกันการเป็นผู้แทนภายนอกของสหภาพยุโรป การขับเคลื่อนการเห็นพ้องต้องกันและระงับความแตกต่างในหมู่รัฐสมาชิก ทั้งระหว่างการประชุมของที่ประชุมยุโรปและสมัยระหว่างการประชุม
ระวังสับสนระหว่างที่ประชุมยุโรปกับสภายุโรป (Council of Europe) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เป็นอิสระต่อสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ในสทราซบูร์
คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
แก้คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (หรือเรียก "คณะมนตรี" และ "สภารัฐมนตรี" ซึ่งเป็นชื่อเก่า) (Council of the European Union) เป็นครึ่งหนึ่งของสภานิติบัญญัติของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยรัฐมนตรีจากรัฐสมาชิกแต่ละรัฐและประชุมกันในหลายองค์ประกอบขึ้นอยู่กับขอบเขตนโยบายที่กำลังจัดการอยู่ แม้ว่าจะมีองค์ประกอบต่างกัน แต่ยังถือเป็นองค์กรหนึ่งเดียว นอกเหนือจากการทำหน้าที่สภานิติบัญญัติแล้ว คณะมนตรีฯ ยังใช้การทำหน้าที่บริหารในด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม
สภา
แก้สภายุโรป (European Parliament) เป็นอีกครึ่งหนึ่งของสภานิติบัญญัติยุโรป สมาชิก 751 คนของรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองสหภาพยุโรปทุกห้าปีโดยยึดหลักการมีผู้แทนตามสัดส่วน แม้สมาชิกรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งระดับชาติ แต่นั่งประชุมตามกลุ่มการเมืองมากกว่าสัญชาติ แต่ละประเทศมีจำนวนที่นั่งจำนวนหนึ่งและแบ่งเป็นเขตเลือกตั้งต่ำกว่าชาติโดยที่ไม่กระทบต่อสภาพสัดส่วนของระบบการออกเสียงลงคะแนน
สภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปผ่านกฎหมายร่วมกันในแทบทุกด้านภายใต้กระบวนวิธีสภานิติบัญญัติทั่วไป ซึ่งยังใช้กับงบประมาณสหภาพยุโรปด้วย คณะกรรมาธิการยุโรปต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา โดยต้องอาศัยการอนุมัติจากสภาจึงจะดำรงตำแหน่งได้ ต้องรายงานต่อรัฐสภาและอยู่ภายใต้ญัตติไม่ไว้วางใจจากรัฐสภา ประธานรัฐสภายุโรป (คนปัจจุบันคือ อันโทนิโอ ทาญานี) ดำเนินบทบาทประธานรัฐสภาและเป็นผู้แทนภายนอก ประธานและรองประธานมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาทุกสองปีครึ่ง
คณะกรรมาธิการ
แก้คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปและรับผิดชอบต่อการริเริ่มกฎหมายและการดำเนินงานวันต่อวันของสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการฯ ยังถูกมองว่าเป็นผู้สั่งการบูรณาการยุโรป คณะกรรมาธิการฯ ดำเนินการราวกับเป็นการปกครองระบบรัฐสภา โดยมีกรรมาธิการ 27 คนสำหรับขอบเขตนโยบายต่าง ๆ มาจากรัฐสมาชิกรัฐละหนึ่งคน แต่กรรมาธิการถูกผูกมัดให้ดูแลผลประโยชน์ของสหภาพยุโรปโดยรวมมากกว่าของรัฐบ้านเกิดของตน
กรรมาธิการคนหนึ่งจาก 27 คนเป็นประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (คนปัจจุบันคือ ฌอง-โคลด ยุงเคอร์) มาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมยุโรป รองจากประธาน กรรมาธิการคนที่โดดเด่นที่สุดคือ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพด้านกิจการต่างประเทศและความมั่นคง ซึ่งโดยตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมาธิการฯ และมาจากการเลือกโดยที่ประชุมยุโรปเช่นกัน แล้วกรรมาธิการอีก 26 คนที่เหลือมาจากการแต่งตั้งของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปโดยตกลงกับประธานฯ ที่ได้รับเสนอชื่อ กรรมาธิการ 27 คนรวมเป็นองค์กรเดียวอยู่ภายใต้การออกเสียงอนุมัติโดยรัฐสภายุโรป
งบประมาณ
แก้สหภาพยุโรปตกลงงบประมาณ 120,700 ล้านยูโรสำหรับปี 2550 และ 864,300 ล้านยูโรสำหรับช่วงปี 2550–2556 คิดเป็น 1.10% และ 1.05% สำหรับการพยากรณ์รายได้มวลรวมประชาชาติของอียู-27 สำหรับสองช่วงตามลำดับ ในปี 2503 งบประมาณของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปขณะนั้นคิดเป็น 0.03% ของจีดีพี
ในปี 2553 งบประมาณ 141,500 ล้านยูโร รายการรายจ่ายเดี่ยวใหญ่สุด คือ "ความเชื่อมแน่นและความสามารถแข่งขัน" โดยคิดเป็นประมาณ 45% ของงบประมาณทั้งหมด รองลงมาเป็น "เกษตรกรรม" โดยคิดเป็นประมาณ 31% ของทั้งหมด "การพัฒนาชนบท สิ่งแวดล้อมและการประมง" คิดเป็นประมาณ 11% "การปกครอง" คิดเป็นประมาณ 6% "สหภาพยุโรปที่เป็นหุ้นส่วนโลก" และ "ความเป็นพลเมือง เสรีภาพ ความมั่นคงและความยุติธรรม" คิดเป็นประมาณ 6% และ 1% ตามลำดับ
ศาลผู้สอบบัญชีมีข้อผูกพันตามกฎหมายจัดหา "คำแถลงการประกันในเรื่องความน่าเชื่อถือของบัญชีและความถูกต้องตามกฎหมายและความถูกต้องตามระเบียบของธุรกรรมพื้นเดิม" แก่รัฐสภาและคณะมนตรีฯ ศาลฯ ยังให้ความเห็นและข้อเสนอกฎหมายการเงินและการกระทำต่อต้านการฉ้อฉล รัฐสภาใช้ข้อมูลดังกล่าวตัดสินใจว่าจะอนุมัติการจัดการงบประมาณของคณะกรรมาธิการฯ หรือไม่
ศาลผู้สอบบัญชียุโรปลงนามบัญชีสหภาพยุโรปทุกปีตั้งแต่ปี 2550 และได้แสดงให้เห็นว่าข้อผิดพลาดส่วนมากเกิดขึ้นในระดับชาติ ในรายงานปี 2552 ผู้สอบบัญชีพบว่ารายจ่ายของสหภาพฯ ห้าด้าน เกษตรกรรมและกองทุนความเชื่อมแน่น ได้รับผลกระทบอย่างสำคัญจากข้อผิดพลาด คณะกรรมาธิการยุโรปประเมินในปี 2552 ว่าผลการเงินของความไม่ถูกต้องคิดเป็น 1,863 ล้านยูโร
อำนาจหน้าที่
แก้รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปคงอำนาจทั้งหมดที่มิได้ถูกมอบอย่างชัดเจนให้สหภาพยุโรป ในบางขอบเขต สหภาพยุโรปมีอำนาจหน้าที่สิทธิ์ขาดเฉพาะ เหล่านี้เป็นพื้นที่ซึ่งรัฐสมาชิกสละความสามารถใด ๆ ในการตรากฎหมาย ในขอบเขตอื่น สหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกมีอำนาจหน้าที่ร่วมกันออกกฎหมาย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายสามารถออกกฎหมายได้ แต่รัฐสมาชิกสามารถออกกฎหมายเฉพาะจนถึงขอบเขตที่สหภาพยุโรปไม่มีขอบเขตเท่านั้น ในขอบเขตนโยบายอื่น สหภาพยุโรปสามารถประสานงาน สนับสนุนและส่งเสริมการกระทำของรับสมาชิกเท่านั้น แต่ไม่สามารถตรากฎหมายโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกฎหมายระดับชาติให้สอดคล้องกันได้
ข้อเท็จจริงว่าขอบเขตนโยบายหนึ่ง ๆ จัดอยู่ในหมวดอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมิได้บ่งชี้เสมอไปว่ามีการใช้วิธีดำเนินการนิติบัญญัติใดในการตรากฎหมายในขอบเขตนโยบายนั้น มีการใช้วิธีดำเนินการนิติบัญญัติต่าง ๆ ในหมวดอำนาจหน้าที่เดียวกัน และแม้แต่ในขอบเขตนโยบายเดียวกัน
การแบ่งอำนาจหน้าที่ในขอบเขตนโยบายต่าง ๆ ระหว่างรัฐสมาชิกและสหภาพฯ แบ่งออกเป็นสามหมวดดังนี้
ดังที่ปรากฏในมาตรา 1 ของส่วนที่ 1 แห่งสนธิสัญญารวมว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป | |||||||||||||
|
|
| |||||||||||
|
|
|
|
เศรษฐกิจ
แก้สหภาพยุโรปสถาปนาตลาดเดียวทั่วดินแดนของสมาชิกทั้งหมดซึ่งมีพลเมือง 508 ล้านคน ในปี 2557 สหภาพยุโรปมีจีดีพีรวมกัน 18.640 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างประเทศ (international dollar) คิดเป็นสัดส่วน 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลกเรียงตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) สหภาพยุโรปที่เป็นองค์การการเมืองมีผู้แทนในองค์การการค้าโลก รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปมีความมั่งคั่งสุทธิประเมินมากที่สุดในโลก คิดเป็น 30% ของความมั่งคั่งทั่วโลก 223 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างประเทศ
รัฐสมาชิก 19 รัฐเข้าร่วมสหภาพการเงิน เรียก ยูโรโซน ซึ่งใช้เงินตราเดี่ยวคือ ยูโร สหภาพการเงินมีพลเมืองสหภาพยุโรป 338 ล้านคน ยูโรเป็นเงินตราสำรองใหญ่สุดอันดับสองตลอดจนเงินตราที่มีการซื้อขายมากที่สุดอันดับสองของโลกรองจากดอลลาร์สหรัฐ
ในบรรดา 500 บรรษัทใหญ่สุดในโลกวัดตามรายได้ในปี 2553 จำนวนนี้มี 161 บรรษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรป ในปี 2559 อัตราการว่างงานในสหภาพยุโรปอยู่ที่ 8.9% ขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 2.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ −0.9% ของจีดีพี ค่าจ้างสุทธิต่อปีเฉลี่ยในสหภาพยุโรปอยู่ที่ประมาณ $20,000 ในปี 2558 ซึ่งคิดเป็นประมาณกึ่งหนึ่งของค่าจ้างสุทธิต่อปีเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา
มีความผันแปรของจีดีพี (พีพีพี) ต่อหัวอย่างสำคัญภายในรัฐสหภาพยุโรปหนึ่ง ๆ ความแตกต่างระหว่างภูมิภาคที่รวยและจนที่สุด (ภูมิภาค NUTS-2 ตามการตั้งชื่อหน่วยดินแดนเพื่อสถิติจำนวน 276 ภูมิภาค) ในปี 2557 มีพิสัยระหว่าง 30% ของค่าเฉลี่ยสมาชิกสหภาพยุโรป 28 รัฐถึง 539% หรือตั้งแต่ 8,200 ถึง 148,000 ยูโร (ประมาณ 9,000 ถึง 162,000 ดอลลาร์สหรัฐ)
กองทุนโครงสร้างและกองทุนความเชื่อมแน่นกำลังสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาคด้อยพัฒนาของสหภาพยุโรป ดินแดนดังกล่าวส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐยุโรปกลางและใต้ หลายกองทุนจัดหาการช่วยเหลือฉุกเฉิน การสนับสนุนสมาชิกผู้สมัครเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศของตนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป (Phare, ISPA, และ SAPARD) และสนับสนุนเครือจักรภพรัฐเอกราช (TACIS) TACIS ปัจจบุนัเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุโรปเอดทั่วโลก โครงการกรอบการวิจัยและเทคโนโลยีสหภาพยุโรปสนับสนุนการวิจัยที่ดำเนินการโดยกลุ่มจากสมาชิกสหภาพยุโรปทุกประเทศเพื่อมุ่งสู่พื้นที่การวิจัยยุโรปเดียว
ตลาดภายใน
แก้วัตถุประสงค์แกนกลางดั้งเดิมสองประการของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปคือการพัฒนาตลาดร่วม ซึ่งต่อมากลายเป็นตลาดเดียว และสหภาพศุลกากรระหว่างรัฐสมาชิก ตลาดเดียวเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีซึ่งสินค้า ทุน บุคคลและบริการภายในสหภาพยุโรป และสหภาพศุลกากรซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้บังคับอากรศุลกากรภายนอกร่วมต่อสินค้าทุกชนิดที่เข้าสู่ตลาดดังกล่าว เมื่อสินค้าถูกรับเข้าตลาดแล้วจะไม่มีการเก็บอากรศุลกากร ภาษีเลือกปฏิบัติหรือโควตานำเข้าอีกเมื่อมีการเคลื่อนย้ายภายใน รัฐสมาชิกที่มิใช่สหภาพยุโรป ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลีชเทินชไตน์และสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมในตลาดเดียวแต่ไม่เข้าร่วมสหภาพศุลกากร การค้ากึ่งหนึ่งในสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้กฎหมายซึ่งสหภาพยุโรปปรับปรุงให้สอดคล้องกัน
การเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีตั้งใจให้อนุญาตการเคลื่อนย้ายการลงทุน เช่น การซื้ออสังหาริมทรัพย์และการซื้อหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ ก่อนหน้ามีแรงขับสู่สหภาพเศรษฐกิจและการเงิน การพัฒนาข้อกำหนดทุนเป็นไปอย่างเชื่องช้า หลังสนธิสัญญามาสทริชต์ มีหนังสือประชุมคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปซึ่งกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านเสรีภาพซึ่งถูกละเลยในทีแรกนี้ การเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีเป็นเอกลักษณ์ถึงขนาดที่มีการให้แก่รัฐที่มิใช่สมาชิกโดยเสมอกัน
การเคลื่อนย้ายบุคคลอย่างเสรีหมายความว่าพลเมืองสหภาพยุโรปสามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีระหว่างรัฐสมาชิกเพื่ออยู่อาศัย ทำงาน ศึกษาหรือเกษียณในประเทศอื่น การเคลื่อนย้ายดังกล่าวต้องการพิธีรีตรองทางการปกครองและการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพจากรัฐอื่นลดลง
การเคลื่อนย้ายบริการและสถานที่ประกอบการอย่างเสรีทำให้บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระเคลื่อนย้ายระหว่างรัฐสมาชิกเพื่อจัดหาบริการเป็นการชั่วคราวหรือถาวรได้ แม้บริการจะคิดเป็น 60–70% ของจีดีพี แต่กฎหมายในขอบเขตดังกล่าวยังไม่มีการพัฒนาเท่ากับในขอบเขตอื่น ส่วนนี้มีการจัดการโดยมีการผ่านคำสั่งเรื่องบริการในตลาดภายในซึ่งมุ่งเปิดเสรีการจัดหาบริการให้ข้ามพรมแดน ตามสนธิสัญญาฯ การจัดหาบริการให้เป็นเสรีภาพตกค้างซึ่งใช้บังคับได้ต่อเมื่อไม่มีการใช้เสรีภาพอื่น
สหภาพการเงิน
แก้การสถาปนาเงินตราเดียวยุโรปกลายเป็นวัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในปี 2512 ต่อมาในปี 2535 หลังได้เจรจาโครงสร้างและวิธีดำเนินการของสหภาพเงินตราแล้ว รัฐสมาชิกลงนามสนธิสัญญามาสทริชต์และถูกผูกพันตามกฎหมายให้บรรลุกฎที่มีการตกลงกันซึ่งรวมถึงเกณฑ์บรรจบหากต้องการเข้าร่วมสหภาพการเงิน รัฐที่ต้องการเข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมกลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรปเสียก่อน
ในปี 2542 สหภาพการเงินเริ่มต้น ทีแรกเป็นเงินตราบัญชีโดยมีรัฐสมาชิกสิบเอ็ดรัฐเข้าร่วม ในปี 2545 เงินตราดังกล่าวมีการใช้อย่างสมบูรณ์ เมื่อมีการออกธนบัตรและเหรียญยูโรและเงินตราประจำชาติเริ่มต้นหายไปในยูโรโซน ซึ่งขณะนั้นมีรัฐสมาชิก 12 รัฐ ยูโรโซน (ซึ่งประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร) ได้เติบโตเป็น 19 ประเทศนับแต่นั้น
ยูโรและนโยบายการเงินของรัฐที่ใช้ในความตกลงกับสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดย ECB เป็นธนาคารกลางสำหรับยูโรโซน ฉะนั้นจึงควบคุมนโยบายการเงินในขอบเขตนั้นโดยมีวาระเพื่อธำรงเสถียรภาพราคา ตั้งอยู่ ณ ใจกลางของระบบธนาคารกลางยุโรป ซึ่งรวบรวมธนาคารกลางแห่งชาติทั่วทั้งสหภาพยุโรปและมีคณะมนตรีใหญ่ (General Council) เป็นผู้ควบคุม ซึ่งคณะมนตรีใหญ่นี้ประกอบด้วยประธานธนาคารกลางยุโรปที่มาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมยุโรป รองประธานธนาคารกลางยุโรปและผู้ว่าการธนาคารกลางประจำชาติของรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 รัฐ
ระบบการควบคุมดูแลการเงินยุโรปเป็นสถาปัตยกรรมโครงสร้างของโครงการควบคุมดูแลการเงินของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยสามหน่วยงาน ได้แก่ การธนาคารยุโรป การประกันภัยและบำนาญอาชีพยุโรป และการหลักทรัพย์และตลาดยุโรป ในการเติมเต็มกรอบนี้ ยังมีคณะกรรมการความเสี่ยงเป็นระบบยุโรป (European Systemic Risk Board) ภายใต้ความรับผิดชอบของธนาคารกลางยุโรป จุดมุ่งหมายของระบบควบคุมการเงินนี้คือเพื่อประกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป
เพื่อป้องกันรัฐที่เข้าร่วมมิให้เผชิญปัญหาหรือวิกฤตการเงินหลังเข้าร่วมสหภาพการเงิน รัฐถูกผูกพันในสนธิสัญญามาสทริชต์ในบรรลุข้อผูกพันการเงินและวิธีดำเนินการที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อแสดงวินัยงบประมาณและการบรรจบทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนระดับสูง ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการขาดดุลภาครัฐมากเกินและจำกัดหนี้สาธารณะที่ระดับยั่งยืน
พลังงาน
แก้ในปี 2549 รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 27 รัฐมีการบริโภคพลังงานในแผ่นดินทั้งสิ้น 1,825 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมัน (toe) ประมาณ 46% ของพลังงานที่บริโภคมีการผลิตภายในรัฐสมาชิก ขณะที่อีก 54% มาจากการนำเข้า ในสถิติเหล่านี้ พลังงานนิวเคลียร์ถือเป็นพลังงานหลักที่ผลิตในสหภาพยุโรป โดยไม่คำนึงถึงแหล่งยูเรเนียม ซึ่งมีการผลิตในสหภาพยุโรปน้อยกว่า 3%
สหภาพยุโรปมีอำนาจนิติบัญญัติในขอบเขตนโยบายพลังงานเป็นส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์ นโยบายดังกล่าวมีเหง้าในประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป การริเริ่มนโยบายพลังงานยุโรปแบบบังคับและครอบคุลมมีการอนุมัติในการประชุมที่ประชุมยุโรปในเดือนตุลาคม 2548 และมีการพิมพ์เผยแพร่นโยบายฉบับร่างนโยบายแรกในเดือนมกราคม 2550
สหภาพยุโรปมีห้าจุดหลักในนโยบายพลังงาน ได้แก่ เพิ่มการแข่งขันในตลาดภายใน ส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นความเชื่อมโยงระหว่างสายไฟฟ้า ทำให้หลากหลายซึ่งทรัพยากรพลังงานโดยมีระบบสนองวิกฤตที่ดีขึ้น สถาปนาโครงสนธิสัญญาใหม่สำหรับความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศรัสเซียขณะที่พัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐที่อุดมไปด้วยพลังงานในเอเชียกลางและแอฟริกาเหนือ ใช้อุปสงค์พลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นขณะที่เพิ่มการพาณิชย์พลังงานหมุนเวียน และสุดท้ายเพิ่มเงินทุนสำหรับเทคโนโลยีพลังงานใหม่
ในปี 2550 ประเทศสหภาพยุโรปทั้งหมดนำเข้า 82% ของอุปทานน้ำมัน 57% ของอุปทานแก๊สธรรมชาติ และ 97.48% ของอุปทานยูเรเนียม มีการพึ่งพาพลังงานรัสเซียอย่างมากซึ่งสหภาพยุโรปกำลังพยายามลด
เชิงอรรถ
แก้- ↑ On 3 ตุลาคม 1990, the constituent states of the former German Democratic Republic acceded to the Federal Republic of Germany, automatically becoming part of the EU.
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Eurostat – Population on 1 January 2019". European Commission. สืบค้นเมื่อ 18 July 2019.
- ↑ 2.0 2.1 "IMF World Economic Outlook Database, October 2019". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อimf
- ↑ "Gini coefficient of equivalised disposable income - EU-SILC survey". ec.europa.eu/eurostat. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
- ↑ "Inequalities in Human Development in the 21st Century" (PDF). Human Development Report. p. 5.
- ↑ "Common commercial policy". Europa Glossary. Europa web portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-16. สืบค้นเมื่อ 6 September 2008.
- ↑ "Agriculture and Fisheries Council". The Council of the European Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-13. สืบค้นเมื่อ 6 September 2008.
- ↑ "Overview of the European Union activities: Regional Policy". Europa web portal. สืบค้นเมื่อ 6 September 2008.
- ↑ "European Union". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 1 July 2009.
international organisation comprising 27 European countries and governing common economic, social, and security policies....
- ↑ "European Union". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
- ↑ Anneli Albi (2005). "Implications of the European constitution". EU enlargement and the constitutions of Central and Eastern Europe. Cambridge, UK: Cambridge University Press, 2008. p. 204. ISBN 90-6704-285-4. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
In practical terms, the EU is perhaps still best characterised as a 'supranational organisation sui generis': this term has proved relatively uncontroversial in respect of national constitutional sensitivities, being at the same time capable of embracing new facets of integration
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEU1993
- ↑ "European Union reaches 500 Million through Combination of Accessions, Migration and Natural Growth". Vienna Institute of Demography.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ2011-IMG-GDP
- ↑ [1]
- ↑ Consolidated version of the Treaty on European Union/Title III: Provisions on the Institutions
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป
- เว็บไซต์ของผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย เก็บถาวร 2007-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรป ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
- Thaieurope.net เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารของสหภาพยุโรป จัดทำโดยหน่วยราชการไทยในยุโรป ประสานงานโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์