ภาษาฟินแลนด์ (suomi, ออกเสียง: [ˈsuo̯mi] ( ฟังเสียง)) เป็นภาษาตระกูลยูรัลที่มีผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศฟินแลนด์และโดยผู้มีเชื้อชาตืฟินแลนด์นอกประเทศ ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในสองภาษาราชการของประเทศฟินแลนด์ (อีกภาษาคือภาษาสวีเดน) ในประเทศสวีเดน ทั้งภาษาฟินแลนด์และเมแอ็นกิเอลี (ที่สามารถเข้าใจร่วมกันกับภาษาฟินแลนด์[3]) เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยอย่างเป็นทางการ

ภาษาฟินแลนด์
suomi
ออกเสียงสัทอักษรสากล: [ˈsuo̯mi] ( ฟังเสียง)
ประเทศที่มีการพูดฟินแลนด์, สวีเดน, นอร์เวย์ (พื้นที่ขนาดเล็กใน Troms กับ ฟินมาร์ก), รัสเซีย
ชาติพันธุ์ชาวฟินแลนด์
จำนวนผู้พูด5.8 ล้านคน
ฟินแลนด์: 5.4 ล้านคน
สวีเดน: 0.40 ล้านคน
นอร์เวย์: 8,000 คน (เควน)
รัสเซีย (คาเรเลีย): 8,500 คน
สหรัฐ: 26,000 คน  (2020)[1]
ตระกูลภาษา
ยูรัล
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรฟินแลนด์)
อักษรเบรลล์ฟินแลนด์
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์
 สหภาพยุโรป
 คณะมนตรีนอร์ดิก
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน สวีเดน (ภาษาราชการของชนกลุ่มน้อย)
 รัสเซีย (คาเรเลีย)[2]
 นอร์เวย์ (ภาษาเควน) (ฟินมาร์ก)
ผู้วางระเบียบกองวางแผนภาษาของสถาบันการศึกษาภาษาของฟินแลนด์
รหัสภาษา
ISO 639-1fi
ISO 639-2fin
ISO 639-3fin
Linguasphere41-AAA-a
  ภาษาชนส่วนใหญ่
  ภาษาชนกลุ่มน้อย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาประเภทรูปคำติดต่อ[4] และมีการผันคำตามบทบาทในประโยค ภาษาฟินแลนด์ใช้การระบบการเขียนที่อิงจากอักษรละติน และมีระบบการเขียนที่ตรงตามหน่วยเสียง

สัทวิทยา

แก้

ระบบเสียงสระ

แก้
หน้า หลัง
ปากไม่ห่อ ปากห่อ
ปิด i iː y yː u uː
กลาง e eː ø øː o oː
เปิด æ æː ɑ ɑː

ภาษาฟินแลนด์มีหน่วยเสียงสระเดี่ยว 8 เสียง อันได้แก่ /i e æ y ø u o a/[5][6] และมีการแยกความแตกต่างกันระหว่างเสียงสั้นและเสียงยาว โดยเสียงยาวสามารถวิเคราะห์ในทางสัทวิทยาได้ว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกันติดต่อกันสองเสียง[5] ภาษาฟินแลนด์มีสระประสม 16 แบบ ได้แก่ /ai æi ei oi ui ou æy ey ie uo yø/[6]

 
แผนภาพแสดงกลุ่มสระในภาษาฟินแลนด์ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ (ตามตัวอักษรเขียน)

ระบบเสียงสระในภาษาฟินแลนด์มีการสอดคล้องกลมกลืนของสระ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของภาษาตระกูลยูรัล คำในภาษาฟินแลนด์จะไม่สามารถมีเสียงสระจากทั้งกลุ่ม /ɑ, o, u/ ซึ่งเป็นสระหลัง และกลุ่ม /æ, ø, y/ ซึ่งเป็นสระหน้า ร่วมกันในคำเดียวกันได้ ส่วนเสียงสระ /e, i/ จะอยู่ร่วมได้กับทั้งกลุ่มสระหน้าและสระหลังข้างต้น[6]

ระบบเสียงพยัญชนะ

แก้
ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
หลังปุ่มเหงือก/
เพดานแข็ง
เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m n ŋ
ระเบิด ไม่ก้อง p k ʔ
ก้อง (b) d (ɡ)
เสียดแทรก (f) s (ʃ) h
เปิด ʋ l j
รัว r

ไวยากรณ์

แก้
  • สรรพนาม

สรรพนามของภาษาฟินแลนด์ไม่มีลักษณะการแบ่งเพศ แต่มีการแบ่งพจน์เหมือนภาษาอังกฤษ

ภาษาฟินแลนด์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
Minä I ฉัน ผม
Sinä You คุณ เธอ
Hän He,She เขา เธอ
Me We พวกเรา เรา
Te You (พหูพจน์) พวกคุณ
He They พวกเขา
Se It มัน
Ne They (พหูพจน์ของ It) พวกมัน

บางครั้ง Te อาจใช้แทน Sinä ในภาษาทางการหรือสุภาพมาก ๆ

  • คำกริยา

คำกริยาของภาษาฟินแลนด์มีกฎของการผันเช่นเดียวกับภาษาฝรั่งเศส คือการกระจายรูปของคำกริยาตามประธานของประโยค นอกจากนี้ยังต้องผันตามกาล แต่ผันเฉพาะอดีตกาล และปัจจุบันกาลเท่านั้น เราสามารถแบ่งกลุ่มของกริยาตามรูปแบบการผันในภาษาฟินแลนด์ได้เป็น 5 แบบ (ไม่รวมกริยายกเว้น) โดยจะยกตัวอย่างของ V.Asua แปลว่า อยู่ อาศัย (ผันตามกฎรูปแบบที่ 1) Preesens ปัจจุบันกาล Minä asun (-n) Sinä asut (-t) Hän asuu (-Vokaali) Me asumme (-mme) Te asutte (-tte) He asuvat (-vat, vät)

Imperfekti อดีตกาล Minä asuin Sinä asuit Hän asui Me asuimme Te asuitte He asuivat จะสังเกตได้ว่าการผันกริยาไม่ว่าในกาลไหนก็ตามจะมีการเปลี่ยนรูปเฉพาะด้านหลังเท่านั้น ซึ่งเปลี่ยนไปตามประธานแต่ละตัว

  • คำนาม

คำนามในภาษาฟินแลนด์มีลักษณะที่ต่างจากภาษายุโรปอื่น ๆ มาก โดยรากศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาซามิ (ชนเผ่าทางเหนือของสแกนดิเนเวียและรัสเซียตะวันตก) ภาษาเอสโตเนีย นอกจากนี้ ปัจจุบันคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ ภาษาสวีดิช และภาษาเยอรมัน ก็เป็นที่นิยมอยู่ไม่น้อย แต่นอกจากคำนามเหล่านี้จะมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์แล้ว ยังต้องผันคำตามรูปแบบของคำที่ถูกใช้ในประโยคด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะภาษาฟินแลนด์ไม่มีคำบุพบท ในที่นี้ขอยกตัวอย่างคำว่า Talo ซึ่งแปลว่าบ้าน

รูปแบการผัน
ชื่อ ตัวที่เติมลงไป เอกพจน์ พหูพจน์ แทนคำบุพบท
nominatiivi -t (ในกรณีที่เป็นพหูพจน์) talo talot -
genetiivi -n, -en, -in, -den, -ten, ten talon talojen แสดงความเป็นเจ้าของ
akkusatiivi เอกพจน์ -n, พหูพจน์ -en, -den/-tten tai -ten, -en, -in talo tai talon talot แสดงการเป็นกรรม (ทั้งนี้หมายถึงทั้งส่วนของคำนาม)
partitiivi -a, -ä, -ta, -tä taloa taloja แสดงว่าเป็นบางส่วนของคำนาม (รวมถึงเมื่อเป็นกรรมของประโยคด้วย)
essiivi -na, -nä talona taloina แสดงสถานะ
translatiivi -ksi, (-kse) taloksi taloiksi แสดงถึงสภาวะ (ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า as)
ผันเพื่อแสดงการเข้าออกสถานที่
inessiivi -ssa, -ssä talossa taloissa อยู่ใน... (in)
elatiivi -sta, -stä talosta taloista มาจาก (from)
illatiivi loppuvokaalin pidentymä + n, h + sanavartalon loppuvokaali + n, -seen, -siin taloon taloihin ไปยัง, เข้าไปยัง (to, into)
แสดงถึงจุดที่อยู่
adessiivi -lla, -llä talolla taloilla ที่ บน (on, at)
ablatiivi -lta, -ltä talolta taloilta จากที่ มาจากบน... มาจากที่ (from...on, at)
allatiivi -lle talolle taloille ไปที่ ไปยังบน (to...on, at)
อื่น ๆ ซึ่งใช้ในภาษาเขียน ข่าว หรือบทกวี
abessiivi -tta talotta taloitta vajanto
komitatiivi -ne- taloineen taloineen keinonto
instruktiivi -n taloin taloin seuranto
  • คำคุณศัพท์

คำคุณศัพท์เมื่อขยายคำนามก็ต้องผันตามคำนามที่ขยายด้วย เช่น iso talo บ้านใหญ่ isot talot บ้านใหญ่ (หลายหลัง) isossa talossa ในบ้านหลังใหญ่ (หลังเดียว) isoissa taloissa ในบ้านหลังใหญ่ (หลายหลัง)

การใส่คำปฏิเสธ

แก้

คำว่า"ไม่"่ในภาษาฟินแลนด์ยังสามารถเปลี่ยนตามประธานได้อีกคือ en, et, ei, emme, ette และ eivät แต่โดยทั่วไปเมื่อต้องการแสดงการปฏิเสธหรือไม่ต้องการ ผู้พูดมักจะพูดว่า Ei!

การเขียน

แก้

ระบบการเขียนของภาษาฟินแลนด์ใช้อักษรละตินเป็นพื้นฐาน และได้รับระบบตัวอักษรจากอักษรสวีดิช อักษรฟินแลนด์มีทั้งหมด 29 ตัว อันได้แก่ A-อา B-เบ C-เซ D-เด E-เอ F-แอฟ G-เก H-โฮ I-อี J-ยี K-โก L-แอล M-แอม N-แอน O-โอ P-เป Q-กู R-แอรฺ S-แอส T-เต U-อู V-เว W-กักโชยส์-เว (Kaksois-Vee) X-แอกซ์ Y-อวี (หรือ อื) Z-เซตตา Å-โอของสวีเดน (Ruotsin-Oo) Ä-แอ Ö-เออวฺ อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรหลายตัว ได้แก่ C Q W X Z และ Å ไม่มีใช้ในคำภาษาฟินแลนด์พื้นถิ่น และมีใช้ในเฉพาะคำยืมและชื่อจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น

การเขียนภาษาฟินแลนด์ มีลักษณะการสะกดตามหน่วยเสียงอย่างมาก โดยแต่ละหน่วยเสียงจะตรงกับตัวอักษรหนึ่งตัว[6]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ภาษาฟินแลนด์ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. О государственной поддержке карельского, вепсского и финского языков в Республике Карелия (ภาษารัสเซีย). Gov.karelia.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 6 December 2011.
  3. Öst, Heidi (2013). "Recent Legal Developments in Sweden: What Effect for Finnish and Meänkieli Speakers?". European Yearbook of Minority Issues Online. 10 (1): 563–582. doi:10.1163/22116117-01001026. ISSN 1570-7865.
  4. Haspelmath, Martin Dryer; Gil, Matthew S; Comrie, David; Bickel, Bernard; Balthasar Nichols, Johanna (2005). Fusion of selected inflectional formatives. Oxford University Press. OCLC 945596278.
  5. 5.0 5.1 Suomi, Kari; Toivanen, Juhani; Ylitali, Riikka (2008). Finnish sound structure: Phonetics, phonology, phonotactics and prosody (PDF). Oulu: Oulu University Press. ISBN 978-951-42-8984-2.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Karlsson, F. (2006). "Finnish". ใน Brown, Keith (บ.ก.). Encyclopedia of Language & Linguistics (2 ed.). Oxford: Elsevier. pp. 474–475. doi:10.1016/B0-08-044854-2/04391-1. ISBN 978-0-08-044854-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้