รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป
รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป (อังกฤษ: Member State of the European Union) คือประเทศใดประเทศหนึ่งใน 27 ประเทศที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตั้งแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) เป็นต้นมา เดิมทีประเทศก่อตั้งมีเพียง 6 ประเทศ ซึ่งได้มีการขยายสมาชิกทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยที่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ที่มีรัฐสมาชิกเข้าร่วมกว่า 10 ประเทศ ปัจจุบันสหภาพยุโรปประกอบด้วยประเทศ 21 สาธารณรัฐ, 5 ราชอาณาจักร และ 1 ราชรัฐ
การเพิ่มโรมาเนียและบัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2550 รวมทั้งโครเอเชียในปีพ.ศ. 2556 ทำให้ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีรัฐสมาชิกทั้งสิ้น 27 ประเทศ การต่อรองและเจรจาให้ประเทศอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกยังคงดำเนินการอยู่เรื่อยๆ ขั้นตอนการขยายสหภาพยุโรปนี้บางครั้งเรียกว่าการรวมกลุ่มยุโรป ก่อนที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้นั้น ประเทศนั้นจะต้องผ่านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมืองที่รู้จักกันดีในชื่อ "เกณฑ์โคเปนเฮเกน" ซึ่งกำหนดไว้ว่าประเทศที่มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกจะต้องเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีองค์กรที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและเคารพต่อกฎหมาย ภายใต้สนธิสัญญาสหภาพยุโรป การขยายสหภาพยุโรปต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละรัฐสมาชิกและผ่านการรับรองจากสภายุโรปอีกด้วย
รายชื่อประเทศสมาชิก
แก้- Notes
- ↑ ไซปรัสเหนือไม่ได้ถูกรับรองโดยสหภาพยุโรป ดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาโดยนิตินัยว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไซปรัสและสหภาพยุโรป แต่ในทางพฤตินัยไซปรัสเหนืออยู่นอกเหนืออำนาจของทั้งไซปรัสและสหภาพยุโรป ไซปรัสเหนือปฏิบัติตนเสมือนประเทศเอกราช มีเพียงตุรกีเท่านั้นที่รับรองความเป็นรัฐอธิปไตยให้ ดูเพิ่มที่ข้อพิพาทไซปรัส
- ↑ โดยนิตินัยเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไซปรัสและสหภาพยุโรป แต่ในทางพฤตินัยไซปรัสเหนืออยู่นอกเหนืออำนาจของทั้งไซปรัสและสหภาพยุโรปเนื่องจากข้อพิพาทไซปรัส เขตกันชนนี้ถูกควบคุมโดยสหประชาชาติ
- ↑ กรีนแลนด์ถอนตัวจากสหภาพยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2528
- ↑ 4.0 4.1 ดูเพิ่มที่มาตรา 355 วรรค 1 ของสนธิสัญญาว่าด้วยการดำเนินงานของสหภาพยุโรป [1] เก็บถาวร 2012-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 , สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีรวมเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศผู้ก่อตั้ง จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปโดยอัตโนมัติ
- ↑ ภาษาท้องถิ่นได้แก่ ภาษามีรังดา
- ↑ ภาษาท้องถิ่นได้แก่ ภาษาบาสก์, ภาษากาตาลา/ภาษาบาเลนเซีย และ ภาษากาลิเซีย ที่ไม่เหมือนกับภาษาท้องถิ่นอื่นๆ ภาษาเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ใช้อย่างเป็นทางการในสถาบันต่างๆ ของยุโรปได้ จากการที่สเปนทำข้อตกลงร่วมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
อดีตประเทศสมาชิก
แก้ธง | รัฐ |
เข้าร่วม |
ลาออก |
ประชากร |
พื้นที่ (กิโลเมตร2) |
จีดีพี (พีพีพี)[6] | สกุลเงิน |
จีนี |
เอชดีไอ |
ภาษาราชการ | ดินแดนพิเศษ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สหราชอาณาจักร | 1 มกราคม พ.ศ. 2516 | 31 มกราคม พ.ศ. 2563 | 62,262,000[2] | 243,610 | 34,618[3] | ปอนด์ | 36.0[4] | 863[5] | ภาษาอังกฤษ[t 1] | 14 |
- Notes
- ↑ ภาษาท้องถิ่นได้แก่ ภาษาไอริช, ภาษาอัลสเตอร์สกอต, ภาษาแกลิกสกอต, ภาษาสกอต, ภาษาเวลส์ และ ภาษาคอร์นิช
อ้างอิง
แก้- ↑ at purchasing power parity, per capita, in international dollars (rounded)
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 2.22 2.23 2.24 2.25 2.26 2.27 "Eurostat Population Estimate". Eurostat. 2010-01-01. สืบค้นเมื่อ 2010-01-08.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 3.23 3.24 3.25 3.26 3.27 [http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2010/01/weodata/weorept.aspx? pr.x=83&pr.y=8&sy=2009&ey=2009&scsm=1&ssd=1&sort=country&ds=.&br=1&c=941%2C946%2C137%2C122%2C181%2C124%2C918%2C138%2C964%2C182%2C960%2C968%2C423%2C935%2C128%2C936%2C939%2C961%2C172%2C184%2C132%2C134%2C174%2C144%2C944%2C176%2C178%2C136%2C112&s=PPPPC&grp=0&a= Report for Selected Countries and Subjects] IMF
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 4.27 "UNDP.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-17. สืบค้นเมื่อ 2012-09-25.
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 5.20 5.21 5.22 5.23 5.24 5.25 5.26 5.27 "Human Development Report 2011 - Human development statistical annex" (PDF). HDRO (Human Development Report Office) United Nations Development Programme. pp. 127–130. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ at purchasing power parity, per capita, in international dollars (rounded)