เบเนลักซ์
สาธารณรัฐเบเนลักซ์ หรือ สหภาพเศรษฐกิจเบเนลักซ์ (Bénélux) เป็นกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ของสามประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก โดยการนำเอาพยางค์หน้าชื่อของแต่ละประเทศดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อ "สหภาพปลอดภาษีเบเนลักซ์" (Benelux Customs Union) ปัจจุบันสหภาพเบเนลักซ์มีขนาด 74,102 ตร.กม. และมีจำนวนประชากร 27.1 ล้านคน
เบเนลักซ์ | |
---|---|
ธงชาติ | |
![]() | |
Member states of the Benelux Union
| |
Administrative centre and largest agglomeration | Brussels 50°51′N 4°21′E / 50.850°N 4.350°E |
ภาษาราชการ | Dutch, French[1] |
Other official languages of contracting states | German, Luxembourgish, West Frisian, English, Papiamento |
ประเภท | Politico‑economic union |
Member states | |
สภานิติบัญญัติ | Parliament |
ก่อตั้ง | |
• Customs union treaty signed | 5 September 1944[2] |
• Customs union in effect | 1 January 1948[2] |
• Renewal signed | 17 June 2008 |
• Renewal in effect | 1 January 2010 |
พื้นที่ | |
• รวม | 74,657 ตารางกิโลเมตร (28,825 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• ประมาณ | 29.3 million (2018) |
390.5 ต่อตารางกิโลเมตร (1,011.4 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2017 (ประมาณ) |
• รวม | $1.501 trillion[3] |
• ต่อหัว | $48,359 |
สกุลเงิน | Euro (EUR) |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (DST) | UTC+2 (CEST) |
ขับรถด้าน | right |
เว็บไซต์ benelux.int/ |
ประวัติแก้ไข
มีสนธิสัญญาการจัดตั้งสหภาพเบเนลักซ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 โดยคณะรัฐบาลของกลุ่มผู้พลัดถิ่นจากทั้งสามประเทศ ในกรุงลอนดอน และเข้ามามีอำนาจในปี พ.ศ. 2490 แต่ก็ยุติไปในปี พ.ศ. 2503 ซึ่งแทนที่โดย "สหภาพทางเศรษฐกิจเบเนลักซ์" (Benelux Economic Union) นำโดย "สหภาพทางเศรษฐกิจเบลเยียม-ลักเซมเบิร์ก" ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2464
ผลงานสำคัญแก้ไข
กลุ่มเบเนลักซ์เป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้งสหภาพยุโรป แม้ว่าการก่อตั้งสหภาพยุโรปจะเกิดขึ้นในภายหลัง (ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป ในปี พ.ศ. 2494, ประชาคมเศรษฐกิจแห่งยุโรป ในปี พ.ศ. 2500) ทั้งสามประเทศได้เป็นสมาชิกขององค์กรเหล่านี้ด้วย เช่นเดียวกันกับเยอรมันตะวันตก ฝรั่งเศส และอิตาลี. ในหัวข้อที่ 306 ของสนธิสัญญาประชาคมแห่งยุโรป ได้กำหนดข้อเรียกร้องว่า ข้อกำหนดในสนธิสัญญาจะไม่ทำให้สถานะความสัมพันธ์ของเบลเยียมกับลักเซมเบิร์ก และ เบลเยียม ลักเซมเบิร์กและเนเธอร์แลนด์นั้นหมดสภาพลงไป นี่เป็นหัวใจความหลักที่ไม่เปลี่ยนแปลงของหัวข้อ IV-441 ในรัฐธรรมนูญของยุโรป
เรื่องภายในแก้ไข
รัฐสภาเบเนลักซ์ (ต้นแบบที่ให้คำปรึกษาแก่สภา) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2498 โดยการประชุมของรัฐสภาจะประกอบไปด้วยสมาชิกมาจากรัฐสภาเนเธอร์แลนด์จำนวน 21 คน จากเบลเยียมจำนวน 21 คน และจากลักเซมเบิร์กจำนวน 7 คน
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- สหภาพทางเศรษฐกิจเบเนลักซ์ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- รัฐสภาเบเนลักซ์ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- Benelux Court of Justice เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- Benelux Office for Intellectual Property เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- ↑ "Révision portant sur le traité de 1958" (PDF) (ภาษาFrench). 2008.
Article 38 : le français et le néerlandais sont les langues officielles des institutions de l'Union Benelux
CS1 maint: unrecognized language (link) - ↑ 2.0 2.1 Peaslee, Amos Jenkins; Xydis, Dorothy Peaslee (1974). International governmental organizations. BRILL. p. 165. ISBN 978-90-247-1601-2. สืบค้นเมื่อ 4 September 2011.
- ↑ [1] International Monetary Fund Statistics