เมสสิยาห์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พระเมสสิยาห์[1][2] (อังกฤษ: Messiah; ฮีบรู: מָׁשִיַח, มาซียาห์; แอราเมอิก: ܡܫܝܚܐ; กรีก: Μεσσίας; อาหรับ: مشيح) หมายถึง พระผู้ช่วยให้รอด[3]ตามความเชื่อในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ได้แก่ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
ในคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ พระเมสสิยาห์ หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือมหาปุโรหิต ซึ่งได้รับแต่งตั้งด้วยการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์[4] พระเมสสิยาห์อาจไม่ใช่ชาวยิวเสมอไป เช่น พระเจ้าไซรัสมหาราช ผู้ปลดปล่อยชาวยิวจากการเป็นเชลยก็ถือว่าเป็นพระเมสสิยาห์ด้วย ต่อมาความหมายของเมสสิยาห์เปลี่ยนไป ใช้หมายถึงกษัตริย์ยิวผู้ปกครองโลกในยุคสุดท้ายไปตลอดชั่วนิรันดร์ ตามความเชื่อและอวสานวิทยาของชาวยิว พระเมสสิยาห์จะเป็นคนในเชื้อสายดาวิดและได้เป็นผู้นำของชาวยิวในอนาคต ตลอดจนทั้งโลกในยุคพระเมสสิยาห์
คำว่า เมสสิยาห์ ตรงกับภาษากรีกว่า คริสตอส ซึ่งแปลว่า พระคริสต์[5][6] คริสต์ศาสนิกชนจึงใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซู เพราะเชื่อว่าพระผู้ช่วยให้รอดที่คัมภีร์ฮีบรูหรือคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมได้กล่าวถึงนั้น คือ พระเยซูคริสต์
ในตำราหะดีษของศาสนาอิสลามก็ระบุว่าอีซา (เยซู) บุตรนางมัรยัม (มารีย์) ก็คือนบีและมะซีฮ์ (เมสสิยาห์) ที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาช่วยวงศ์วานอิสราเอลตามพันธสัญญา และเชื่อว่าท่านจะกลับมายังโลกอีกครั้งพร้อมกับอิมามมะฮ์ดี และร่วมกันกำจัดมะซีห์ อัด-ดัจญาล (ศัตรูของพระคริสต์)[7]
พระเมสสิยาห์ในพันธสัญญาเดิม
แก้หนึ่งในคำสอนหลังของพันธสัญญาใหม่คือ พระเยซูคริสต์ (พระเมสสิยาห์) ทรงเป็นผู้ที่ทำให้พันธสัญญาเดิมสำเร็จ ผู้เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรูเสนอว่าพระคริสต์ทรงเป็นทายาทของทุกสิ่งที่พระเจ้าได้ตรัสผ่านทางผู้เผยพระวจนะ[8] พระเยซูเองทรงยืนยันว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อทำให้บทบัญญัติและหนังสือผู้เผยพระวจนะสำเร็จ[9] หลังจากการฟื้นพระชนม์อันทรงพระเกียรติสิริของพระองค์ ๆ ทรงแสดงให้เห็นจาหนังสือบทบัญญัติของโมเสส หนังสือของผู้เผยพระวจนะ และหนังสือสดุดี (จากพระธรรมหลักสามหมวดในพันธสัญญาเดิมฉบับภาษาฮีบรู) แก่พวกสาวกว่านานมาแล้วพระเจ้าได้ทรงพยากรณ์ทุกสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับพระองค์ไว้แล้ว[10][11]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระวรสารนักบุญยอห์น 1:41, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ พระวรสารนักบุญยอห์น 4:25, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 2 1:10, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ 30:22-25, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ พระวรสารนักบุญมัทธิว 1:16, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ Etymology Online
- ↑ http://muttaqun.com/dajjal.html
- ↑ จดหมายถึงชาวฮีบรู 1:1-2, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ พระวรสารนักบุญมัทธิว 5:17, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ พระวรสารนักบุญลูกา 24:25-27, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ พระวรสารนักบุญลูกา บทที่ 44-46, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011