ภาษากรีกคอยนี หรือ ภาษากรีกคอยเน (อังกฤษ: Koine Greek, UK: /ˈkɔɪn/;[2][3][4] กรีกคอยนี: ἡ κοινὴ διάλεκτος, อักษรโรมัน: hḗ koinḕ diálektos, แปลตรงตัว'สำเนียงสามัญ'; ออกเสียง [i cyˈni ðiˈalektos]; และในชื่อเรียกต่างๆกัน ได้แก่ สำเนียงอเล็กซานเดรีย, แอตติกพื้นบ้าน, ภาษาเฮลเลนิสติก หรือ ภาษากรีกไบเบิล (โดยเฉพาะพระคริสต์ธรรมใหม่)) เป็นรูปแบบของภาษากรีกมาตรฐาน หรือภาษากลาง (ทางวิชาการเรียกว่า ภาษาคอยเน หรือ koine language) ที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน ทั่วทั้งบริเวณเมดิเตอเรเนียน และบางส่วนของตะวันออกกลาง ในสมัยเฮลเลนิสติก และสมัยโรมันโบราณ จนถึงช่วงต้นของสมัยไบแซนไทน์ หรือช่วงปลายสมัยโบราณ (late antiquity) ภาษากรีกคอยนี เป็นวิวัฒนาการมาจากภาษากรีกโบราณ โดยเริ่มจากการแพร่กระจายของภาษากรีก ในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนค.ศ. ภาษากรีกคอยนีมีพื้นฐานหลักๆ มาจากภาษากรีกสำเนียงแอตติก และภาษากรีกไอโอนิก ซึ่งเป็นภาษาทางการศึกษาและวรรณคดีในโลกของกรีซโบราณ

ภาษากรีกคอยนี
ἡ κοινὴ διάλεκτος
ออกเสียง(h)e̝ kyˈne̝ diˈalektos ~ i cyˈni ðiˈalektos
ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกถึงตะวันออกกลาง
ยุค336 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 300 (เป็นภาษาทางการของไบเซนไทน์จนถึง ค.ศ. 1453); พัฒนาเป็นภาษากรีกสมัยกลาง ปัจจุบันคงอยู่เป็นภาษาเชิงพิธีของคริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์และกรีกคาทอลิก[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรกรีก
รหัสภาษา
ISO 639-2grc
ISO 639-3 (เสนอเป็น ecg)
นักภาษาศาสตร์grc-koi

ภาษากรีกคอยนีมีรูปแบบการเขียนทั้งในแบบวรรณกรรมไปจนถึงภาษาพูด[5] เนื่องจากเป็นภาษาหลักในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ทำให้ภาษานี้พัฒนาไปเป็นภาษากรีกสมัยกลาง ซึ่งภายหลังกลายเป็นภาษากรีกสมัยใหม่[6]

คำว่า คอยนี หรือ คอยเน่ (อังกฤษ: Koine) มาจากคำกรีกว่า ἡ κοινὴ διάλεκτος แปลว่า ภาษาสำเนียงกลาง โดยคำกรีก คอยแน (κοινή) หมายถึง "ที่ใช้ร่วมกัน" ในประเทศกรีซเรียกภาษานี้ว่า "ภาษาภูมิภาคเฮลเลนิสติก" (Ελληνιστική Κοινή) เมื่อภาษากรีกคอยนี กลายมาเป็นภาษาที่ใช้ในวงการวรรณกรรม เมื่อราวศตวรรษที่ 1 ก่อนค.ศ. จึงเกิดการแยกภาษาคอยนีที่เป็นภาษาพูด และที่เป็นภาษาเขียนออกจากกัน โดยถือว่าภาษาเขียนของ กรีกคอยนี เป็นภาษาวรรณกรรมหลังยุคคลาสสิก ส่วนภาษาพูดถือว่าเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไมใช่ภาษาหนังสือ ฯ บางท่านก็เรียกภาษากรีกคอยนีว่าเป็น "ภาษาสำนวนอเล็กซานเดรีย" (Ἀλεξανδρέων διάλεκτος) ซึ่งถือเป็นสำเนียงสากลของภาษากรีกในสมัยนั้น

ภาษากรีกคอยนีมีบทบาทในทางวรรณกรรมมาก โดยเป็นภาษาสื่อสารของยุคหลังคลาสสิก ที่นักวิชาการ และนักเขียนใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึง พลูทาร์ก และโพลีบิอัส นอกจากนี้ กรีกคอยนียังเป็นภาษาของพระคริสต์ธรรมใหม่ และของเซปตัวจินท์ (Septuagint) หรือคัมภีร์พระคริสต์ธรรมเก่าภาษากรีกฉบับแปลศตวรรษที่ 3 นอกจากนี้งานเขียนทางเทววิทยาของเหล่าปิตาจารย์แห่งคริสตจักรในช่วงแรกๆ ก็เป็นภาษากรีกคอยนีเกือบทั้งหมด ปัจจุบันภาษานี้ยังใช้อยู่ในฐานะภาษาทางพิธีกรรมของศาสนจักรกรีกออร์โธด็อกซ์

อ้างอิง แก้

  1. Demetrios J. Constantelos, The Greek Orthodox Church: faith, history, and practice, Seabury Press, 1967
  2. แม่แบบ:Cite Collins Dictionary
  3. "Koine". Dictionary.com Unabridged (Online). n.d.
  4. "Koine". Merriam-Webster Dictionary.
  5. Horrocks, Geoffrey (1997). "4–6". Greek: a history of the language and its speakers. London: Longman.
  6. Horrocks, Geoffrey (2009). Greek: A History of the Language and its Speakers. Wiley. p. xiii. ISBN 978-1-4443-1892-0.

บรรณานุกรม แก้

  • Abel, F.-M. Grammaire du grec biblique.
  • Allen, W. Sidney, Vox Graeca: a guide to the pronunciation of classical Greek – 3rd ed., Cambridge University Press, 1987. ISBN 0-521-33555-8
  • Andriotis, Nikolaos P. History of the Greek Language
  • Buth, Randall, Ἡ κοινὴ προφορά: Koine Greek of Early Roman Period
  • Bruce, Frederick F. The Books and the Parchments: Some Chapters on the Transmission of the Bible. 3rd ed. Westwood, NJ: Revell, 1963. Chapters 2 and 5.
  • Conybeare, F.C. and Stock, St. George. Grammar of Septuagint Greek: With Selected Readings, Vocabularies, and Updated Indexes.
  • Horrocks, Geoffrey C. (2010). Greek: A history of the language and its speakers (2nd ed.). Oxford: Blackwell.
  • Smyth, Herbert Weir (1956), Greek Grammar, Harvard University Press, ISBN 978-0-674-36250-5.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Bakker, Egbert J., ed. 2010. A companion to the Ancient Greek language. Oxford: Wiley-Blackwell.
  • Blass, Friedrich, and Albert Debrunner. 1961. Greek grammar of the New Testament and other early Christian literature. Translated and revised by R. W. Funk. Chicago: University of Chicago Press.
  • Christidis, Anastasios-Phoivos, ed. 2007. A history of Ancient Greek: From the beginnings to Late Antiquity. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
  • Colvin, Stephen C. 2007. A historical Greek reader: Mycenaean to the koiné. Oxford: Oxford University Press.
  • Easterling, P. E., and Carol Handley. 2001. Greek Scripts: An Illustrated Introduction. London: Society for the Promotion of Hellenic Studies.
  • Evans, T. V., and Dirk Obbink, eds. 2009. The language of the papyri. Oxford: Oxford Univ. Press.
  • Gignac, Francis T. 1976–1981. A grammar of the Greek papyri of the Roman and Byzantine periods. 2 vols. Milan: Cisalpino-La Goliardica.
  • Horrocks, Geoffrey. 2010. Greek: A history of the language and its speakers. 2nd ed. Oxford: Wiley-Blackwell.
  • Palmer, Leonard R. 1980. The Greek language. London: Faber & Faber.
  • Stevens, Gerald L. 2009. New Testament Greek Intermediate: From Morphology to Translation. Cambridge, UK: Lutterworth Press.
  • ––––. 2009. New Testament Greek Primer. Cambridge, UK: Lutterworth Press.