การตรึงพระเยซูที่กางเขน

การตรึงพระเยซูที่กางเขน[1] (อังกฤษ: Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ[2] เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์[3]

การตรึงพระเยซูที่กางเขน
ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยดิเอโก เบลัซเกซ จัดแสดงโดยพิพิธภัณฑ์ปราโดในมาดริด
วันที่ค.ศ. 30/33
ที่ตั้งเยรูซาเลม, จูเดีย, จักรวรรดิโรมัน
ประเภทการตรึงกางเขน
สาเหตุโทษประหารชีวิตของพระเยซู
ผู้เข้าร่วมกองทัพโรมัน (ผู้ประหารชีวิต)
ผลจุดเริ่มต้นของการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน
เสียชีวิตพระเยซู
“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622)
การประหารชีวิตโดยตรึงกับเสาตรง

การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้า[4]

การโต้แย้ง แก้

ความเชื่อเรื่องพระเยซูถูกตรึงที่กางเขน ถูกโต้แย้งจากหลายฝ่าย ดังนี้

พยานพระยะโฮวา แก้

คริสต์ศาสนิกชนกลุ่มพยานพระยะโฮวา เชื่อว่าพระเยซูถูกตรึงจนสิ้นพระชนม์จริง แต่ไม่ใช่บนไม้กางเขน ไม้ที่ใช้ประหารชีวิตนักโทษสมัยนั้นเป็นเสาตรง โดยอ้างจากศัพท์ในภาษากรีก stauros ซึ่งหมายถึง "เสาหรือหลักที่ตั้งตรง" นอกจากนี้ยังมีข้อความจากคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ที่เปาโลอัครทูตระบุไว้ว่า[5]

พระคริสต์ทรงไถ่เราให้พ้นการสาปแช่งแห่งธรรมบัญญัติ โดยการทรงถูกสาปแช่งเพื่อเรา (เพราะพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า "ทุกคนที่ถูกแขวนไว้บนต้นไม้ต้องถูกสาปแช่ง"~)

— กาลาเทีย 3:13

ไม้กางเขนเป็นเครื่องรางที่ลัทธินอกศาสนาคริสต์ใช้กันมาก่อน แล้วถูกนำมาใช้ในคริสตจักรตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินหันมานับถือศาสนาคริสต์แล้วส่งเสริมให้ใช้ไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายของศาสนาคริสต์[6]

ศาสนาอิสลาม แก้

ในฐานะที่พระเยซูคือนบีอีซาในศาสนาอิสลาม คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ได้ถูกตรึงกางเขน ผู้ที่ถูกตรึงเป็นคนอื่น ดังพระวจนะว่า

وَمَا قَتَلُوهُ وَمَا صَلَبُوهُ وَلَـكِن شُبِّهَ لَهُمْ
และพวกเขาหาได้ฆ่าอีซา และหาได้ตรึงเขาบนไม้กางเขนไม่ แต่ทว่าเขาถูกให้เหมือนแก่พวกเขา

— อันนิซาอฺ 4:157

โดยอัลลอฮ์ได้ทรงรับท่านขึ้นสวรรค์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว ดังพระวจนะว่า

بَل رَّفَعَهُ اللّهُ إِلَيْهِ
หามิได้ อัลลอฮฺได้ทรงยกเขา (อีซา) ขึ้นไปยังพระองค์ต่างหาก

— อันนิซาอฺ 4:158

อ้างอิง แก้

  1. พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับมาตรฐาน ภาคพันธสัญญาใหม่, มัทธิว 27:35.

    เมื่อตรึงพระองค์ที่กางเขนแล้ว พวกเขาก็เอาฉลองพระองค์มาจับฉลากแบ่งกัน

    The New Testament, Matthew 17:2.

    Then they crucified Him, and divided His garment,

  2. มัทธิว 27:33 -44; มาระโก 15:22 -32; ลูกา 23:33 -43; ยอห์น 19:17 -30
  3. ยอห์น 19:30 -31; มาระโก 16:1 ; มาระโก 16:6
  4. "Passion, the." Cross, F. L., ed. อ็อกฟอร์ดพจนานุกรมของคริสตจักร. นิวยอร์ก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด. ค.ศ. 2005
  5. กาลาเทีย 3:13, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับมาตรฐาน
  6. Watchtower Bible and Tract Society of New York, Inc, คัมภีร์ไบเบิลสอนอะไรจริง ๆ, หน้า 204-6

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การตรึงพระเยซูที่กางเขน