ราชอาณาจักรไอร์แลนด์

ราชอาณาจักรบนเกาะไอร์แลนด์ ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1542 ถึง 1801

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ (ภาษาเกลลิค: Ríocht na hÉireann; ภาษาอังกฤษ: Kingdom of Ireland) เป็นชื่อที่เรียกรัฐไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1541 โดยพระราชบัญญัติราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ค.ศ. 1542 (Crown of Ireland Act 1542) ของรัฐสภาแห่งไอร์แลนด์ ที่มีรากฐานมาจากสิทธิผู้ชนะ (Right of conquest) ประมุขที่มาใหม่มาแทนลอร์ดแห่งไอร์แลนด์ที่เป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1171 ฉะนั้นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ จึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งไอร์แลนด์องค์แรก ราชอาณาจักรไอร์แลนด์สิ้นสุดการเป็นราชอาณาจักรเมื่อไอร์แลนด์รวมตัวกับบริเตนใหญ่เป็นสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1801

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์

Ríocht na hÉireann
ค.ศ. 1541–1651
ค.ศ. 1659–1801
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงดับลิน
ภาษาทั่วไปภาษาไอริช, ภาษาอังกฤษ
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
คริสตจักรแห่งไอร์แลนด์
เพรสไบทีเรียน
เดมะนิมชาวไอริช
การปกครองราชาธิปไตย
พระเจ้าแผ่นดินแห่งไอร์แลนด์ 
• ค.ศ. 1542-1547
เฮนรีที่ 8
• ค.ศ. 1760-1801
จอร์จที่ 3
ข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ 
• ค.ศ. 1660
แม็ทธิว ล็อก
• ค.ศ. 1798-1801
โรเบิร์ต สจวต ไวเคานท์คาสเซิลเรห์
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งไอร์แลนด์
สภาขุนนางแห่งไอร์แลนด์
สภาสามัญชนแห่งไอร์แลนด์
ประวัติศาสตร์ 
• พระราชบัญญัติรัฐสภา
ค.ศ. 1541
1 มกราคม ค.ศ. 1801
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรลอร์ดแห่งไอร์แลนด์
เกลลิคไอร์แลนด์
สมาพันธรัฐไอร์แลนด์
เครือจักรภพแห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

ที่มาในการก่อตั้ง

แก้

ในปี ค.ศ. 1155 สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4 ผู้มาจากแฮรฟอร์ดในอังกฤษออก “พระบัญญัติการกระทำอันเลิศเลอ” (Laudabiliter) มอบตำแหน่ง “Dominus Hibernae” ให้แก่พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งราชวงศ์แอนเจวินผู้ปกครองอองชูในฝรั่งเศส “พระบัญญัติการกระทำอันเลิศเลอ” มอบสิทธิให้พระเจ้าเฮนรีที่ 2 รุกรานไอร์แลนด์เพื่อนำไอร์แลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป และนำคริสต์ศาสนจักรเคลติกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบคริสต์ศาสนจักรโรมัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนพระเจ้าเฮนรีต้องทรงส่งเงินภาษีบางส่วนกลับไปกรุงโรม สิทธินี้ได้รับการต่อในสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ในปี ค.ศ. 1172.

เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษมีพระประสงค์จะหย่ากับแคเธอรีนแห่งอารากอน พระองค์ก็ทรงยื่นคำร้องต่อสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ให้ประกาศว่าการเสกสมรสของพระองค์กับแคเธอรีนเป็นโมฆะ แต่สมเด็จพระสันตะปาปาไม่ทรงยอมด้วยเหตุผลทั้งทางการเมืองและทางการศาสนา พระเจ้าเฮนรีที่ 8 จึงทรงแยกตัวจากสังฆมณฑลของพระสันตะปาปา (Holy See) และประกาศพระองค์เป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ พระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 จึงขับพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ออกจากการเป็นโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1533 เมื่อถูกขับออกจากธรรมนูญ พระอิสริยยศเจ้าแห่งไอร์แลนด์ (Lord of Ireland) ของพระองค์ก็เป็นปัญหา เมื่อแยกตัวออกมาก็เท่ากับเป็นการไม่ทรงยอมรับอำนาจของสถาบันโรมันคาทอลิกที่มีต่อการปกครองไอร์แลนด์ ในที่สุดพระเจ้าเฮนรีจึงทรงประกาศตัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งไอร์แลนด์ภายใต้พระราชบัญญัติราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ค.ศ. 1542 พระราชบัญญัติได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาแห่งไอร์แลนด์

ราชอาณาจักรใหม่ไม่เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องโดยประมุขผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในยุโรป แต่หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษพระราชโอรสของพระเจ้าเฮนรี พระสันตะปาปาก็ทรงออกพระบัญญัติในปี ค.ศ. 1555 ประกาศยอมรับสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษผู้เป็นโรมันคาทอลิกว่าเป็นพระราชินีที่ถูกต้องของไอร์แลนด์ ความสัมพันธ์ระหว่างไอร์แลนด์กับราชอาณาจักรอังกฤษจึงเป็นส่วนหนึ่งของคริสต์ศาสนกฎบัตร

ฉะนั้นราชอาณาจักรไอร์แลนด์จึงปกครองโดยพระมหากษัตริย์อังกฤษที่เป็นประมุขในขณะนั้น ในปี ค.ศ. 1603 เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ พระองค์ก็ทรงริเริ่มความคิดที่จะรวมสามอาณาจักรเข้าด้วยกันที่ต่อมากลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ในปี ค.ศ. 1707 รัฐสภาสกอตแลนด์และอังกฤษรวมตัวกันที่ลอนดอน และในปี ค.ศ. 1801 รัฐสภาไอร์แลนด์และรัฐสภาบริติชก็รวมตัวกันเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้