อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด
อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด (โซมาลี: Cali Mahdi Maxamed, อาหรับ: علي مهدي محمد); 1 มกราคม พ.ศ. 2482 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2564) เป็นผู้ประกอบการและนักการเมืองชาวโซมาเลีย เขาเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโซมาเลียตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2534 – มกราคม พ.ศ. 2540
อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด | |
---|---|
ประธานาธิบดีคนที่ 4 แห่งโซมาเลีย | |
ดำรงตำแหน่ง 27 มกราคม พ.ศ. 2534 – 3 มกราคม พ.ศ. 2540 | |
ก่อนหน้า | ไซอัด บาร์รี |
ถัดไป | ว่าง (3 มกราคม พ.ศ. 2540–27 สิงหาคม พ.ศ. 2543); อับดิคาซิม ซาลาด ฮัสซัน หลังจากนั้น |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม ค.ศ. 1939 โจวฮาร์ โซมาเลีย |
เสียชีวิต | 10 มีนาคม ค.ศ. 2021 ไนโรบี เคนยา | (82 ปี)
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | รัฐสภาแห่งสหรัฐโซมาลี |
มูฮัมหมัดขึ้นสู่อำนาจหลังจากที่คองเกรสสหโซมาลี องค์การทางทหารของเขากับพันธมิตรกลุ่มต่อต้านติดอาวุธอื่น สามารถปลดประธานาธิบดีไซอัด บาร์รีผู้ครองอำนาจอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามมูฮัมหมัดไม่สามารถที่จะใช้อำนาจของเขาเกินกว่าส่วนของเมืองหลวงได้[1] อำนาจได้รับการแทนที่โดยผู้นำกลุ่มอื่น ๆ ในภาคใต้ ครึ่งหนึ่งของประเทศ และโดยหน่วยงานของดินแดนปกครองตนเองในภาคเหนือ[2]
ชีวิตช่วงต้น
แก้มูฮัมหมัดเกิดเมื่อ ค.ศ. 1939[3] ที่โจวฮาร์ซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรมทางตอนใต้ของภูมิภาคชาเบลกลาง (ซึ่งต่อมากลายเป็นอาณานิคมของอิตาลีและรู้จักกันในชื่ออิตาเลียนโซมาลีแลนด์) ครอบครัวของเขามีเชื้อสายอับกัลฮาวิยี[3]
อาชีพ
แก้คองเกรสสหโซมาลี
แก้มูฮัมหมัดเริ่มต้นอาชีพในฐานะนักธุรกิจ โดยทำงานบริษัทอิสระแห่งหนึ่งที่โมกาดิชู ต่อมา เขาได้เข้าสู่อาชีพการเมืองใน ค.ศ. 1968 เพื่อแย่งชิงที่นั่งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโมกาดิชู[4]
หลังจากประสบความล้มเหลวในแคมเปญโอกาเดนเมื่อปลายทศวรรษ 1970 ไซอัด บาร์รีได้จับกุมรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทหารเนื่องจากสงสัยในเหตุรัฐประหาร 1978 ที่ก่อไม่สำเร็จ[5][6] ประชาชนส่วนใหญ่ที่คิดการกบฏถูกตัดสินให้ประหารชีวิต[7] อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทหารส่วนหนึ่งหลบหนีไปต่างประเทศและก่อตั้งกลุ่มทางการเมืองเพื่อขับไล่รัฐบาลบาร์รี[8]
ปลายทศวรรษ 1980 รัฐบาลบาร์รีตกต่ำลงเพื่อการปกครองที่เป็นเผด็จการและมีการเคลื่อนไหวที่สนับสนุนเดิร์กซึ่งเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ในเอธิโอเปีย สิ่งนี้นำไปสู่สงครามกลางเมืองโซมาเลียใน ค.ศ. 1991 ซึ่งนับเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐบาลบาร์รีและการแตกสลายของกองทัพแห่งชาติโซมาเลีย (SNA) กลุ่มที่ต่อต้านบาร์รีเริ่มมีบทบาทและอำนาจทางการเมือง กองกำลังติดอาวุธที่นำโดยผู้บัญชาการคองเกรสสหโซมาลี (USC) อย่างอาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด และนายพลอย่างมูฮัมหมัด ฟาราห์ ไอดิด เกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจในการปกครองเมืองหลวง[9]
ประธานาธิบดีโซมาเลีย
แก้ในการประชุมนานาชาติหลายครั้งที่จัดขึ้นที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างจิบูติเมื่อ ค.ศ. 1991 ไอดิด นายพลคองเกรสสหโซมาลี ประกาศคว่ำบาตรการประชุมครั้งแรก และจากการที่มูฮัมหมัดได้รับความชอบธรรมจากการประชุมที่จิบูติ ทำให่เขาได้รับการรับรองจากนานาชาติในฐานะประธานาธิบดีโซมาเลียคนใหม่ จิบูติ, อียิปต์, ซาอุดีอาระเบีย และอิตาลี เป็นประเทศที่ขยายการรับรองในการบริหารของมูฮัมหมัด[2] อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถที่จะใช้อำนาจของเขาเกินกว่าส่วนของเมืองหลวงได้ อำนาจได้รับการแทนที่โดยผู้นำกลุ่มอื่น ๆ ในภาคใต้ ครึ่งหนึ่งของประเทศ และโดยหน่วยงานของดินแดนปกครองตนเองในภาคเหนือ[1] การแข่งขันเพื่ออิทธิพลและทรัพยากรระหว่างมูฮัมหมัดกับไอดิดดำเนินเรื่อยมาระหว่าง ค.ศ. 1992–95 ซึ่งเป็นช่วงที่สหประชาชาติเข้ามาทำภารกิจในโซมาเลีย (UNOSOM I, UNOSOM II, และ UNITAF) จนกระทั่งไอดิดเสียชีวิตใน ค.ศ. 1996
ค.ศ. 2000 มูฮัมหมัดเข้าร่วมการประชุมอีกครั้งที่จิบูติ เขาเสียตำแหน่งประธานาธิบดีให้กับอับดิคาซิม ซาลาด ฮัสซัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของบาร์รี มูฮัมหมัดได้กล่าวยอมรับผลการเลือกตั้งและจะช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกับประธานาธิบดีคนใหม่
วันที่ 10 มีนาคม 2021 เขาเสียชีวิตที่ไนโรบีในเคนยา หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด–19[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Somalia: Some key actors in the transitional process". IRIN. 2005-05-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-02-07.
- ↑ 2.0 2.1 Paul Fricska, Szilard. "Harbinger of a New World Order? Humanitarian Intervention in Somalia" (PDF). University of British Columbia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 16, 2012. สืบค้นเมื่อ October 6, 2013.
- ↑ 3.0 3.1 Metz, Helen Chapin (1993). Somalia: a country study. The Division. p. 155. ISBN 0844407755. สืบค้นเมื่อ June 10, 2014.
- ↑ Whitaker's Almanack World Heads of State, 1998, Stationery Office: Roger East, page 222
- ↑ ARR: Arab report and record, (Economic Features, ltd.: 1978), p.602.
- ↑ Ahmed III, Abdul. "Brothers in Arms Part I" (PDF). WardheerNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 3, 2012. สืบค้นเมื่อ February 28, 2012.
- ↑ New People Media Centre, New people, Issues 94–105, (New People Media Centre: Comboni Missionaries, 2005).
- ↑ Nina J. Fitzgerald, Somalia: issues, history, and bibliography, (Nova Publishers: 2002), p.25.
- ↑ Library Information and Research Service, The Middle East: Abstracts and index, Volume 2, (Library Information and Research Service: 1999), p.327.
- ↑ "Former Somali president Ali Mahdi dies in Nairobi". Citizentv.co.ke. สืบค้นเมื่อ March 11, 2021.
ก่อนหน้า | อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไซอัด บาร์รี | ประธานาธิบดีโซมาเลีย (27 มกราคม พ.ศ. 2534-3 มกราคม พ.ศ. 2540) |
ว่าง-ดำรงตำแหน่งต่อไปโดยอับดิคาซิม ซาลาด ฮัสซัน |