ทินพันธุ์ นาคะตะ

ศาสตราจารย์ ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[1] กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองตาม คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560[2]อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร (ครม.48) อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นนักวิชาการที่ใกล้ชิดกับกลุ่มกบฏยังเติร์ก[3]

ทินพันธุ์ นาคะตะ
ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุจินดา คราประยูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มีนาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศร้อยเอก

ประวัติ แก้

ทินพันธุ์ นาคะตะ เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2477 ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ระดับปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก ทางด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแวนดอบิลท์[4]

การทำงาน แก้

งานราชการ แก้

ทินพันธุ์ นาคะตะ เริ่มเข้ารับราชการเป็นครูโรงเรียนทหารปืนใหญ่[5] (ยศ ร้อยตรี) เมื่อปี พ.ศ. 2501 เป็นนายทหารปกครอง กรมนักเรียนนายร้อย ในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาโอนย้ายมาเป็นอาจารย์ สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปีที่มีการจัดตั้งสถาบัน (พ.ศ. 2509) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็น "ผู้ช่วยศาสตราจารย์" ในปี พ.ศ. 2518 เป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2521 และเป็นศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2525

ในระหว่างที่รับราชการอยู่ในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ 2 สมัย และเคยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาองค์การนักศึกษา รวมทั้งเป็นอนุกรรมการอีกหลายคณะ

งานการเมือง แก้

ทินพันธุ์ นาคะตะ เคยเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2534 เคยเป็นประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ในปี พ.ศ. 2523 เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2531-2534 และในปี พ.ศ. 2535-2539 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534

ทินพันธุ์ นาคะตะ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[6] เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2535 และพ้นจากตำแหน่งหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครเขต 20 (ประกอบไปด้วยเขตบึงกุ่ม) สังกัดพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

งานวิชาการ แก้

ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีผลงานแต่งตำราเรียนจำนวนมาก อาทิ หนังสือปรัชญาการเมือง (พ.ศ. 2549) หนังสือประชาธิปไตยไทย หนังสือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  2. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560
  3. กบฎยังเติร์ก[ลิงก์เสีย]
  4. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  5. 'ทินพันธุ์ นาคะตะ'ครูการเมืองทหาร
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๘๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖