นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในคณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1
นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | บุญลือ ประเสริฐโสภา พงศกร อรรณนพพร |
ถัดไป | บุญรื่น ศรีธเรศ สุรพงศ์ อึ้งอัมพรวิไล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2511 |
พรรค | - |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การศึกษาแก้ไข
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ และโรงเรียนสตรีวิทยา ในระดับปริญญาตรี จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (บางแสน) ในปี พ.ศ. 2533 และระดับปริญญาโท (MA) สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยเวบสเตอร์ สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2535[1]
ในปี พ.ศ. 2553 เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายประจวบ ไชยสาส์น ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ
ประวัติการทำงานแก้ไข
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ เคยทำงานเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นเวลากว่า 5 ปี นอกจากนั้นยังเคยทำงานในหน้าที่สำคัญ คือ
- กรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- ผู้อำนวยการ บริษัทภูเก็ต อินเทอร์เน็ต จำกัด
- กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิสเต็มส์ แอนด์ เน็ตเวิร์ก โซลูชั่น จำกัด
- ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- กรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
งานการเมืองแก้ไข
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ [2] ในโควตาของกลุ่มบ้านริมน้ำ พรรคเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งต่อมาถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ แจ้งข้อกล่าวหากรณีการทุจริตจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษากว่า 5 พันล้านบาท[3]
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ได้รับฉายาจากพรรคเพื่อไทย เป็น 1 ใน 10 รัฐมนตรีไร้ผลงาน ว่า "รัฐมนตรีสวยเฉียบ เงียบสนิท"[4] เช่นเดียวกับผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 17 จังหวัด ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 พบว่าประชาชนกว่าร้อยละ 42.2 ไม่รู้จักรัฐมนตรีนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.moe.go.th/websm/minister/narisara.htm
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ 'ชินวรณ์'ยันไม่เกี่ยว งาบงบฯอาชีวะโยน'นริศรา'แจงเอง
- ↑ เพื่อไทย ตั้งฉายา 10 รมต. ไร้ผลงาน[ลิงก์เสีย]
- ↑ เอแบคโพลล์เผย 5 รมต.โลกลืม" นริศรา -ชัยวุฒิ - พรรณสิริ - ศุภชัย -ไชยยศ "
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประจำปี 2554
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประจำปี 2553
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประจำปี 2552
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เก็บถาวร 2009-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน