เดชา สุขารมณ์
นาวาโท นายแพทย์ เดชา สุขารมณ์ ร.น. (21 กันยายน พ.ศ. 2478 – 20 กันยายน พ.ศ. 2564) อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 5 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 1 สมัย
เดชา สุขารมณ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี |
ถัดไป | ประจวบ ไชยสาส์น |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ |
ถัดไป | สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กันยายน พ.ศ. 2478 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 20 กันยายน พ.ศ. 2564 (85 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2535 - 2543) ไทยรักไทย (2543 - 2550) ประชาธิปัตย์ (2550 - ?) |
คู่สมรส | ทิพย์สุดา สุขารมณ์ |
นายแพทย์เดชา สุขารมณ์ สมรสกับ ทิพย์สุดา สุขารมณ์ มีบุตรชายเป็นนักร้องในสังกัดเครือแกรมมี่ คือ นายแพทย์พรเดชา สุขารมณ์[1]
ประวัติ
แก้นาวาโทเดชา สุขารมณ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2478 ที่กรุงเทพมหานคร[2] เป็นบุตรของนายพร และนางอัมโพช สุขารมณ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น 14 จบแพทย์ศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (แพทยศาสตร์ศิริราช) พ.ศ. 2502 และหลักสูตรต่าง ๆ เช่น เวชศาสตร์ใต้น้ำ จากคีบช์ไดฟ์วิงค์คูล สหรัฐอเมริกา เวชศาสตร์การบิน จากโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ
งานการเมือง
แก้นาวาโทเดชา สุขารมณ์ เข้าสู่วงการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาญจนบุรี ใน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติไทย ใน พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย รวมระยะเวลาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 5 สมัย ต่อมาใน พ.ศ. 2548 ได้ย้ายไปลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ในทางการเมือง เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว และประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ต่อมาใน พ.ศ. 2540 ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 ได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งนาวาโทเดชา ถูกปรับให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[5]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "รดน้ำศพ "แจ๊ค สุขารมณ์" สุดเศร้า พ่อยันไม่เสพยาฆ่าตัว-ไม่ขอพระราชทานเพลิงศพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-13. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๑๘, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙