พระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน (ปัจจุบันประชาชนเรียกว่า สมเด็จจิตรลดา, พระจิตรลดา เดิมเรียกว่า พระพิมพ์ที่ฐานพระพุทธนวราชบพิตร) เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ[1] ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) พระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรดา (องค์พระสมเด็จจิตรลดาในรัชสมัยได้มีการพระราชทานเพียงครั้งเดียว)[2] โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมา แล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อ พ.ศ. 2514 และพระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เจ้าคณะภาค 13 ถวายพระธรรมเทศนาว่าด้วยการเป็นผู้นำ ผู้นำและนักปกครองทั้งหลายพึงสดับ พ.ศ. 2555
การแกะแม่พิมพ์พระพุทธรูปพิมพ์ โดยมีศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรมเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย การแกะพิมพ์พระสมเด็จจิตรดาหรือพระกำลังแผ่นดินเป็นพุทธศิลป์แบบแม่พิมพ์ลึก แล้วใช้ดินน้ำมันกดลงบนแม่พิมพ์ลึกเพื่อถอดแบบองค์พระสมเด็จจิตรดา จากนั้นก็ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทอดพระเนตร และทรงวินิจฉัยแบบพิมพ์ ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้แก้ไขตกแต่งแบบพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาหลายครั้งจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์ด้วยพุทธศิลป์ตามพระราชประสงค์ท่านแล้ว พระองค์จึงทรงนำแม่พิมพ์ที่แกะไว้ทำการถอดต้นแบบพระสมเด็จจิตรดาจากแม่พิมพ์หิน โดยท่านทรงใช้วัสดุเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี จนได้ตามจำนวนพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงนำต้นแบบพระสมเด็จจิตรดาจำนวนหนึ่งเรียงบนภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อทำการหล่อแม่พิมพ์อีกครั้ง โดยทรงหล่อเป็นแม่พิมพ์ยาง[3]
ข้อมูลจำเพาะ
แก้พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย มี 2 ขนาดพิมพ์ คือ
- พิมพ์เล็ก กว้าง 1.2 เซนติเมตร สูง 1.9 เซนติเมตร
- พิมพ์ใหญ่ กว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร [4]
พระสมเด็จจิตรลดาเป็นพระปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ และเกสรดอกบัว 9 จุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่พระพุทธนวราชบพิตรเป็นพระปางมารวิชัย
พระสมเด็จจิตรลดามีหลายสี ตามมวลสารที่ใช้ผลิตในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาลอมเหลือง สีน้ำตาลอมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือสีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน
มวลสารของพระสมเด็จจิตรดา
แก้มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดาประกอบด้วยเรซินและผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผงรวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน 1 คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย ทั้งนี้ มีศาสตราจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ผู้เป็นผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรม เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวายเพื่อทรงพระราชวินิจฉัยแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย
ผงพระพิมพ์ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
- ส่วนที่ 1 ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย
- ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล
- เส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง
- ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล
- สี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์
- ชัน (ผงชันผสมกับน้ำมันยางกวนให้เข้ากันจนเหนียวใช้สำหรับยารอยต่อของแผ่นไม้ใต้ท้องเรือ ป้องกันน้ำเข้าใต้ท้องเรือ)และสีน้ำมัน ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เป็นเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่งใช้แข่งขันกีฬาแหลมทอง 1967
- ส่วนที่ 2 วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ประกอบด้วย
- วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด
- ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
- ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ
- ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี
- ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
- น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก[5]
แหล่งที่มาของผงพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา
แก้-
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2508[6]
-
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2509
-
พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก รุ่น พ.ศ. 2509
-
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2511
-
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2512
-
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2513[7]
-
พระสมเด็จจิตรลดา บนแสตมป์ฉลองครบ 70 พรรษา
มวลสาร ที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จจิตรลดาถูกนำมาจากทุกจังหวัด ซึ่งในขณะนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 ประเทศไทย มีจังหวัดทั้งสิ้น 71 จังหวัด ดังนี้
ภาคกลาง
แก้- พระนคร (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร
- ธนบุรี (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดพนัญเชิง วัดสวนหลวงสบสวรรค์ วิหารพระมงคลบพิตร
- ลพบุรี ได้แก่ ศาลพระกาฬ ศาลลูกศร (ศาลหลักเมืองลพบุรี) พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
- สิงห์บุรี ได้แก่ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น (บ้านบางระจัน) วัดสิงห์ (ปัจจุบันชื่อ วัดสิงห์สุทธาวาส) วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
- อ่างทอง ได้แก่ วัดไชโยวรวิหาร วัดป่าโมก
- สระบุรี ได้แก่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร วัดพระพุทธฉาย
- ปทุมธานี ได้แก่ วัดเสด็จ ผงอิทธิเจและผงปถมํของพระครูสาทรพัฒนกิจ
- นนทบุรี ได้แก่ วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร
- สมุทรปราการ ได้แก่ วัดพระสมุทรเจดีย์ ศาลหลักเมืองสมุทรปราการ
- ราชบุรี ได้แก่ วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดราชบุรี)
- นครปฐม ได้แก่ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
- สุพรรณบุรี ได้แก่ วัดป่าเลไลยก์ ศาลหลักเมืองสุพรรณบุรี พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ วัดสนามชัย สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่
- กาญจนบุรี ได้แก่ วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร วัดท่ากระดาน
- เพชรบุรี ได้แก่ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระนครคีรี พระธาตุจอมเพชร ศาลหลักเมืองเพชรบุรีหลังเก่า พระปรางค์วัดมหาธาตุ
- ประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุบนยอดเขาช่องกระจก วัดธรรมมิการามวรวิหาร
- สมุทรสาคร ได้แก่ ศาลหลักเมืองสมุทรสาคร ศาลพันท้ายนรสิงห์
- สมุทรสงคราม ได้แก่ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (เดิมชื่อ วัดบ้านแหลม)
- อุทัยธานี ได้แก่ วัดสังกัสรัตนคีรี
- ชัยนาท ได้แก่ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร วัดธรรมามูล (ปัจจุบันชื่อ วัดธรรมามูลวรวิหาร)[8]
ภาคตะวันออก
แก้- ชลบุรี ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์จำลอง วัดป่า (ปัจจุบันชื่อ วัดอรัญญิกาวาส)
- ฉะเชิงเทรา ได้แก่ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา
- ระยอง ได้แก่ ศาลหลักเมืองระยอง ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- ตราด ได้แก่ ศาลหลักเมืองตราด วัดบุปผาราม
- จันทบุรี ได้แก่ ศาลหลักเมืองจันทบุรี ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระพุทธบาทเขาคิชกูฏ น้ำในคลองนารายณ์บริเวณหน้าน้ำตกเขาสระบาป คลองสระบาป น้ำจากสระแก้ว (ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่)
- นครนายก ได้แก่ ศาลหลักเมืองนครนายก พระพุทธบาทจำลอง วัดเขานางบวช (ตำบลสาริกา)
- ปราจีนบุรี ได้แก่ วัดต้นศรีมหาโพธิ์[9]
ภาคเหนือ
แก้- ลำปาง ได้แก่ วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า (ปัจจุบันชื่อ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม) วัดพระธาตุเสด็จ ศาลหลักเมืองลำปาง ศาลเจ้าพ่อประตูผา หออะม็อก (เจ้าพ่อหมอกมุงเมือง)
- แม่ฮ่องสอน ได้แก่ พระธาตุดอยกองมู
- เชียงราย ได้แก่ วัดพระธาตุดอยตุงปัจจุบันชื่อ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) วัดพระธาตุจอมกิตติ
- เชียงใหม่ ได้แก่ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พระธาตุดอยสุเทพ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ วัดเจดีย์เจ็ดยอด (ปัจจุบันชื่อ วัดโพธารามมหาวิหาร) ที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (อำเภอฝาง) อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
- น่าน ได้แก่ พระเจ้าทองทิพย์ (พระพุทธรูป) วัดสวนตาล พระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย
- ลำพูน ได้แก่ วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดจามเทวี (เดิมชื่อ วัดกู่กุด)
- แพร่ ได้แก่ ศาลหลักเมืองแพร่ พระธาตุช่อแฮ พระธาตุปูแจ (น่าน) พระธาตุจอมแจ้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอสา น่าน)
- ตาก อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- พิษณุโลก ได้แก่ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
- สุโขทัย ได้แก่ วัดมหาธาตุ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร น้ำบ่อทอง น้ำบ่อแก้ว อำเภอศรีสัชนาลัย วัดต้นจันทร์ (ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย)
- กำแพงเพชร ได้แก่ วัดพระบรมธาตุ ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร
- พิจิตร ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง
- เพชรบูรณ์ ได้แก่ วัดไตรภูมิ ศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์
- นครสวรรค์ ได้แก่ วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ)
- อุตรดิตถ์ ได้แก่ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ (เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ อุตรดิตถ์ ตั้งอยู่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล) วัดพระบรมธาตุ วัดท่าถนน (พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร)[10]
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แก้- นครราชสีมา ได้แก่ ศาลหลักเมืองนครราชสีมา อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ปราสาทหินพิมาย วัดศาลาทอง วัดพนมวันท์ ปราสาทหินพนมวัน ศาลเจ้าแม่บุ่งตาหลัว ศาลเจ้าพ่อไฟ ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยว
- ชัยภูมิ ได้แก่ พระปรางค์กู่ พระธาตุกุดจอก พระธาตุหนองสามหมื่น พระพุทธรูปพระเจ้าองค์ตื้อ เขาภูพระ วัดศิลาอาส์น เจ้าพ่อพญาแล
- บุรีรัมย์ ได้แก่ ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ศาลเทพารักษ์ เจ้าพ่อวังกรูด ดินจากสังเวชนียสถานต่างๆในประเทศอินเดีย
- สุรินทร์ ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อพระชีว์ วัดบูรพาราม
- ศรีสะเกษ ได้แก่ วัดมหาพุทธาราม ศาลหลักเมืองศรีสะเกษ
- อุบลราชธานี ได้แก่ วัดมหาวนาราม พระเจ้าอินทร์แปลง (พระพุทธรูป)
- อุดรธานี ได้แก่ ศาลเทพารักษ์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ศาลหลักเมืองอุดรธานี วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธานี
- หนองคาย ได้แก่ พระธาตุบังพวน พระพุทธรูปหลวงพ่อใส วัดโพธิ์ชัย
- เลย ได้แก่ พระธาตุศรีสองรัก
- สกลนคร ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุม
- นครพนม ได้แก่ พระธาตุพนม ศาลหลักเมืองนครพนม
- ขอนแก่น ได้แก่ พระธาตุขามแก่น
- มหาสารคาม ได้แก่ ศาลหลักเมืองมหาสารคาม
- ร้อยเอ็ด ได้แก่ ปรางค์กู่ ศาลหลักเมืองร้อยเอ็ด พระกู่นา วัดสระทอง พระธาตุเจดีย์อูบมุง
- กาฬสินธุ์ ได้แก่ ศาลหลักเมืองกาฬสินธุ์[11]
ภาคใต้
แก้- ชุมพร ได้แก่ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หาดทรายรี
- นครศรีธรรมราช ได้แก่ พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
- สุราษฎร์ธานี ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
- ระนอง ได้แก่ วัดอุปนันทาราม (เดิมชื่อ วัดด่าน)
- กระบี่ ได้แก่ ถ้ำพระ เขาขนาบน้ำ
- พังงา ได้แก่ ศาลหลักเมืองพังงา เทวรูปพระนารายณ์ วัดนารายณิการาม
- ภูเก็ต ได้แก่ พระพุทธบาท เกาะแก้วหน้าหาดราไว วัดพระทอง (เดิมชื่อ วัดพระผุด) อนุสาวรีย์พระครูวิสุทธิวงศาจาริย์ญาณมุนี หรือ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม)
- สงขลา ได้แก่ วัดชัยมงคล วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา (เดิมชื่อ วัดเลียบ) วัดพะโคะ (ปัจจุบันชื่อ วัดราชประดิษฐาน) ศาลหลักเมืองสงขลา
- ตรัง ได้แก่ วัดถ้ำเขาสาย วัดถ้ำคีรีวิหาร พระพุทธรูปพระว่านศักดิ์สิทธิ์ วัดถ้ำพระพุทธ ดินจากสังเวชนียสถานต่างๆในประเทศอินเดีย
- พัทลุง ได้แก่ พระธาตุวัดตะวัดเขียน (ปัจจุบันชื่อ พระธาตุวัดเขียนบางแก้ว) วัดเขียนบางแก้ว
- สตูล ได้แก่ วัดชนาธิปเฉลิม (เดิมชื่อ วัดมำบัง) วัดสตูลสันตยาราม วัดหน้าเมือง วัดดุลยาราม
- ปัตตานี ได้แก่ ศาลหลักเมืองปัตตานี วัดช้างให้ ปัจจุบันชื่อ วัดราษฎร์บูรณะ
- ยะลา ได้แก่ วัดคูหาภิมุข ศาลหลักเมืองยะลา
- นราธิวาส ได้แก่ วัดพระพุทธ อำเภอตากใบ[12]
พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก
แก้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงทำพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก สำหรับพระราชทานให้เด็ก มีจำนวน 40 องค์ โดยสี่องค์แรก พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทั้งสี่พระองค์ [13][1]
ดูเพิ่ม
แก้- พระพุทธนวราชบพิตร
- พระสมเด็จนางพญา สก.
- สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี พระพุทธธนวรราชบพิตรประจำจังหวัดกาญจนบุรี [2] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รูปหล่อลอยองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ • Thai PBSตอบโจทย์ พระราชา ผู้ปิดทองหลังพระ www.thaipbs.or.th
- ↑ Chitaralada Raja • ประวัติพระพิมพ์สมเด็จจิตรลดา
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 309
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 16
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 18
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 30
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 202
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 19
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 20
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 21
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 22
- ↑ ประมุข ไชยวรรณ, พระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1, 2541, 319 หน้า, หน้า 23
- ↑ รัตนาวุธ วัชโรทัย, บทสัมภาษณ์ใน เนชั่นสุดสัปดาห์, ปีที่ 16 ฉบับ 829 วันที่ 18 เมษายน 2551, หน้า 58-59
- วารสารกรมบัญชีกลาง "ในหลวงของเรา" [4] เก็บถาวร 2011-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นเมื่อ ๖ กันยายน ๒๕๕๓)
- บทความเรื่อง สมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน ตีพิมพ์ครั้งแรก. ในหนังสือรายปักษ์ชื่อ "ลดา" และตีพิมพ์ครั้งที่สอง ในวารสารห้องสมุด. สำนักราชเลขาธิการ
- ประมุข ไชยวรรณ พระพิมพ์จิตรลดา, ๒๕๔๔
- [5][ลิงก์เสีย] (สืบค้นเมื่อ ๖ กันยายน ๒๕๕๓)
- นันทเดช โชคถาวร ,ว่าที่ ร้อยตรี พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ กรุงเทพฯ ๒๕๕๓.
- สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี พระพุทธธนวรราชบพิตรประจำจังหวัดกาญจนบุรี [6] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นเมื่อ ๘ กันยายน ๒๕๕๓)
- พระพุทธนวราชบพิตรและพระราชดำรัสในพิธีพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรประจำจังหวัดต่างๆ ปี ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔ โฟโต้การพิมพ์, ๒๕๑๕,๕๒ หน้า
- [7][ลิงก์เสีย] จดหมายข่าวสำนักราชเลขาธิการ]
- เอกสารการสร้างพระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร พระกริ่งไพรีพินาศ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพิธี กาญจนาภิเษก และการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
- พระพุทธนวราชบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในการพระราชาทานเพลิงศพ นางดีน เมืองสมบูรณ์ ณ ฌาปนสถาน วัดพลับพลาชัย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี วันที่ ๘ เมษายาน พ.ศ. ๒๕๑๖
- พระพุทธนวราชบพิตรและพระราชดำรัสในพิธีพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดต่างๆ ปี ๒๕๑๐ - ๒๕๐๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในการพระราชาทานเพลิงศพ พระครูวิทยานุโยค (พลบ เฟื่องฟุ้ง) ณ เมรุวัดนิมมานรดี (เดิมชื่อ วัดบางแค) กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ ๒๗ สิงหาคม พทุธศักราช ๒๕๑๕
- พระสมเด็จจิตรลดา พระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ จากพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 สัมภาษณ์ผู้ได้รับพระราชทาน พระสมเด็จจิตรลดา[[8]]