อำเภอเมืองตรัง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เมืองตรัง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2442 และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ 93 นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 5 และอื่น ๆ ร้อยละ 2
อำเภอเมืองตรัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Trang |
คำขวัญ: เมืองผู้นำยางพารา เทิดรัษฎานุประดิษฐ์ เมืองมิตรวัฒนธรรม หมูย่างติ่มซำรสเลิศ เปิดประตูสู่อันดามัน สวรรค์นักท่องเที่ยว | |
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอเมืองตรัง | |
พิกัด: 7°33′30″N 99°36′36″E / 7.55833°N 99.61000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตรัง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 533 ตร.กม. (206 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 155,184 คน |
• ความหนาแน่น | 291.15 คน/ตร.กม. (754.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 92000, 92170 (เฉพาะตำบลนาโยงใต้), 92190 (เฉพาะตำบลนาท่ามเหนือและนาท่ามใต้) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9201 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง เลขที่ 101 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
แต่เดิมอำเภอเมืองตรังมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ทำให้ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการแบ่งพื้นที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้น 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่
พื้นที่ของตำบลนาชุมเห็ด ไปจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอย่านตาขาว และยกฐานะเป็น อำเภอย่านตาขาว ในปี พ.ศ. 2499
และพื้นที่ด้านตะวันออกของอำเภอเมืองตรัง (ยกเว้นตำบลนาโยงใต้) ไปจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาโยง และยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอนาโยง ในปีพ.ศ. 2536
ประวัติ
แก้ประวัติของเมืองตรังมีมาตั้งแต่สมัยก่อนยุคอาณาจักรโบราณ โดยมีประวัติการตั้งรกรากตามริมฝั่งแม่น้ำตรัง และมีบันทึกเมื่อคราวท้าวศรีธรรมาโศกราชครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้น ได้ตั้งเมืองตรังเป็นหัวเมืองบริวาร ให้ปีมะเมียเป็นสัญลักษณ์นักษัตรประจำเมือง ราวปี พ.ศ. 2367 มีการตั้งชุมชนริมฝั่งแม่น้ำตรังโดยชาวจีนที่มาจากปีนัง ล่องเรือเข้ามาทางปากแม่น้ำตรัง และได้อาศัยแม่น้ำเป็นเส้นทางในการทำการค้า จึงได้ชื่อว่า "ชุมชนท่าจีน" และเรียกแม่น้ำที่ไหลผ่านช่วงนี้ว่า คลองท่าจีน
ที่ตั้งของตัวเมืองตรังนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง ตามหลักฐานตั้งแต่ยุคอาณาจักรโบราณ ลัดเลาะตามริมฝั่งแม่น้ำตรัง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ทูลขอย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตำบลทับเที่ยง โดยให้ชื่อว่า อำเภอบางรัก และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอทับเที่ยง ในปี พ.ศ. 2459
ต่อมาเมื่อพระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) มารับตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลากลางเมือง จนเปิดทำการได้ใน พ.ศ. 2463 และเมื่อพระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล) ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต (มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองตรัง) ได้เอาใจใส่พัฒนาเมืองตรังหลายด้าน จึงปรากฏชื่อของท่านเป็นอนุสรณ์ไว้ในอำเภอเมืองตรัง เช่น กระพังสุรินทร์ ถนนวิเศษกุล วัดควนวิเศษ เป็นต้น
พ.ศ. 2483 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ตรวจราชการเมืองตรัง ดำริให้สร้างอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) จังหวัดตรังจึงดำเนินการจนเสร็จเรียบร้อย ทำพิธีประดิษฐานไว้ ณ ตำบลทับเที่ยง ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2493 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการพร้อมกับเฉลิมฉลองในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2494
ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง เริ่มการปกครองสุขาภิบาล เมื่อ พ.ศ. 2474 ต่อมาหลังจากที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 สุขาภิบาลเมืองตรังจึงได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองตรัง เมื่อ พ.ศ. 2478 และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครตรังเมื่อปี พ.ศ. 2542
ภูมิประเทศ
แก้อำเภอเมืองตรังมีสภาพเป็นเนินสูงต่ำสลับกับที่ราบ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน คือแม่น้ำตรัง มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังวิเศษและอำเภอห้วยยอด
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีบรรพต (จังหวัดพัทลุง) และอำเภอนาโยง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาโยง อำเภอย่านตาขาว และอำเภอกันตัง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกันตัง อำเภอสิเกา และอำเภอวังวิเศษ
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเมืองตรังแบ่งการปกครองท้องที่เป็น 20 ตำบล 119 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[1] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | ทับเที่ยง | Thap Thiang | –
|
55,479
|
|
4. | นาพละ | Na Phala | 10
|
3,823
| |
5. | บ้านควน | Ban Khuan | 6
|
5,236
| |
6. | นาบินหลา | Na Bin La | 6
|
4,082
| |
7. | ควนปริง | Khuan Pring | 6
|
7,708
| |
8. | นาโยงใต้ | Na Yong Tai | 8
|
4,676
| |
9. | บางรัก | Bang Rak | 6
|
4,542
| |
11. | โคกหล่อ | Khok Lo | 12
|
13,274
| |
13. | นาโต๊ะหมิง | Na To Ming | 6
|
5,533
| |
14. | หนองตรุด | Nong Trut | 9
|
5,671
| |
15. | น้ำผุด | Nam Phut | 12
|
10,254
| |
17. | นาตาล่วง | Na Ta Luang | 6
|
7,440
| |
18. | บ้านโพธิ์ | Ban Pho | 10
|
10,108
| |
19. | นาท่ามเหนือ | Na Tham Nuea | 13
|
11,189
| |
20. | นาท่ามใต้ | Na Tham Tai | 8
|
5,722
|
หมายเลขที่หายไปเป็นรหัสของตำบลที่แยกไปขึ้นกับอำเภอนาโยง
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเมืองตรังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครตรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับเที่ยงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลคลองเต็ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาท่ามเหนือ
- เทศบาลตำบลโคกหล่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกหล่อทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลนาตาล่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาตาล่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาพละ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาพละทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านควนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาบินหลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาบินหลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนปริงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโยงใต้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางรัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาโต๊ะหมิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโต๊ะหมิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตรุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตรุดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำผุดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาท่ามเหนือ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลคลองเต็ง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาท่ามใต้ทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้ตำบลทับเที่ยง
แก้อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ สร้างโดยดำริของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะ เดิมเป็นที่ตั้งพระตำหนักผ่อนกายซึ่งจัดรับเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตกแต่งเป็นสวนสาธารณะ
- สวนสาธารณะสระกระพังสุรินทร์
สระกระพังสุรินทร์เป็นสระน้ำธรรมชาติ มีพื้นที่กว้างประมาณ 50 ไร่ เป็นผลงานของธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะเขาหินปูนของน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ขึ้น ในอดีตเคยจัดเป็นสวนสัตว์ขนาดย่อม แต่ปัจจุบันได้แปรสภาพเป็นสวนสาธารณะ เหมาะสำหรับการออกกำลังกายยามเย็น
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (ทุ่งน้ำผุด)
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสวนสาธารณะเดิมเรียกว่าเขาแปะช้อยเพราะเดิมบริเวณนี้เป็นที่ดินของนายช้อยและต่อมานายช้อยได้เสียชีวิตลงจึงยกให้รัฐบาลปัจจุบันมีพรรณไม้สวยงามน่าชมและมีสระน้ำขนาดใหญ่มีสะพานแขวนเหมาะแก่การผักผ่อน
- สถานีรถไฟตรัง
สถานีรถไฟตรังอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองตรังเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นจุดจอดรถไฟที่สำคัญที่สุดของทางรถไฟสายอันดามัน เป็นสถานีรถไฟที่ตกแต่งเป็นสถานีรถไฟทั่วไป แต่เพิ่มเติมคือการนํารูปภาพของสถานที่ท่องเที่ยว เอกลักษณ์ของเมือง ฯลฯ มาแปะไว้ และมีตลาดเย็นอยู่ข้างสถานีรถไฟ เป็นตลาดเย็นที่พ่อค้า แม้ค้ามาทำการวางขายตลาดเป็นขนาดใหญ่อยู่ทุกวัน
- สามล้อเครื่อง ตุ๊กตุ๊กหัวกบ เมืองตรัง
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งในการเดินทางมาจังหวัดตรัง คือ รถสามล้อเครื่อง หรือตุ๊กตุ๊กหัวกบ ปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนให้มีการจัดการท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถตุ๊กตุ๊กหัวกบ
- หอนาฬิกาจังหวัดตรัง
หอนาฬิกาประจำจังหวัดตรังเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัด ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ปัจจุบันทางเทศบาลนครตรังกำลังปรับปรุงทิวทัศน์บริเวณถนนโดยรอบหอนาฬิกา เพื่อเป็นสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมความสวยงามของเมืองตรังในยามเย็นได้อีกด้วย
- บ้านแม่ถ้วน หลีกภัย
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 183 ถนนวิเศษกุล เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ซึ่งเป็นที่พำนักของนางถ้วน หลีกภัย มารดาของนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เดิมบรรดาบุคคลที่ชื่นชมผลงานของนายชวน หลีกภัย เมื่อไปจังหวัดตรังแล้ว จึงเข้าไปเยี่ยมคารวะมารดาของท่านด้วย ต่อมาจึงได้เปิดบ้านพักของแม่ถ้วน เป็นสถานที่ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้เข้าชม และมีโอกาสทักทายกับคนในบ้านอีกด้วย มีจุดเด่นคือ ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด และนกต่าง ๆ ที่เลี้ยงไว้ในกรง
ตำบลบางรัก
แก้- ชุมชนริมคลองท่าจีน
ตำบลโคกหล่อ
แก้- ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง(พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)
ตำบลนาโยงใต้
แก้- ถํ้าเขาช้างหาย เป็นถํ้าขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวรูปแบบถํ้า โดยมีช้างเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้
อ้างอิง
แก้- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เก็บถาวร 2022-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- จังหวัดตรัง เก็บถาวร 2007-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชุมชนคนตรังออนไลน์ เก็บถาวร 2009-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อำเภอดอตคอม เก็บถาวร 2007-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2550.
- อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เก็บถาวร 2007-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2550.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้7°47′22″N 99°36′17″E / 7.78931°N 99.60480°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อำเภอเมืองตรัง
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.