หินงอก (ภาษาอังกฤษ: Stalagmite) เป็นหินที่งอกมาจากพื้นของถ้ำจากการสะสมแร่ธาตุที่มาจากน้ำที่หยดลงมาจากเพดานถ้ำ หินงอกอาจจะประกอบด้วยลาวา, แร่ธาตุ, โคลน, พีต, เรซิน หรือ ทราย[1][2] ส่วนหินที่งอกมาจากเพดานของถ้ำในลักษณะคล้ายกันเรียกว่าหินย้อย(stalactite)

หินงอกในถ้ำหินปูน

ประเภท แก้

หินงอกปูน(Limestone stalagmites) แก้

หินงอกที่พบได้บ่อยที่สุดคือหินงอกที่มีองค์ประกอบเป็นหินปูนจากถ้ำหินปูน[3] หินงอกประเภทนี่จะเกิดได้เมื่อภาวะpHของถ้ำเหมาะสมเท่านั้น ต้นกำเนิดของหินงอกนั้นมาจากการสะสมตัวของแคลเซียมคาร์บอเนตและแร่ธาตุอื่นๆซึ่งตกตะกอนจากน้ำแร่ในถ้ำ หินปูนเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเมื่อถูกชะล้างโดยน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้เกิดเป็นสารละลายแคลเซียมไบคาร์บอเนตในถ้ำตามปฏิกิริยา[4]

CaCO(s)
3
+ H
2
O
(l)
+ CO(aq)
2
Ca(HCO
3
)(aq)
2

ความดันย่อยของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำต้องมากกว่าความดันย่อยของคาร์บอนไดออกไซด์ในถ้ำหินงอกจึงจะเกิดได้[5] จากนั้นสารละลายนี่จะไหลซึมผ่านหินและหยดลงมาบนพื้นถ้ำ เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับมาสะสมหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต:[6]

Ca(HCO
3
)(aq)
2
CaCO(s)
3
+ H
2
O
(l)
+ CO(aq)
2

ถ้าหินย้อยซึ่งงอกมาจากเพดานนั้นยาวจนมาชนกับหินงอกจากพื้น มันจะเชื่อมต่อกันเป็นเสาหินปูน

ไม่ควรสัมผัสกับหินงอกเนื่องจากหินงอกนี้เกิดจากการสะสมแร่ธาตุที่มาจากน้ำลงบนผิวถ้ำ ไขมันจากผิวหนังจะไปเปลี่ยนแรงตึงผิวในที่ที่น้ำแร่มาสะสมซึ่งงอาจจะไปกระทบการโตของหินงอกหินย้อยได้ น้ำมันและเศษดินจากมนุษย์นั้นยังสามารถไปเปลี่ยนเปื้อนและเปลี่ยนสีหินงอกหินย้อยอย่างถาวรอีกด้วย

หินงอกลาวา(Lava stalagmites) แก้

หินงอกอีกชนิดหนึ่งนั้นเกิดในโพรงลาวาที่ลาวายังไหลอยู่ กระบวนการเกิดนั้นเหมือนกับหินงอกหินปูนซึ่งเป็นการสะสมของแร่ธาตุบนพื้นถ้ำ แต่ในกรณีของหินงอกลาวามันสามารถเกิดได้เร็วมากในชั่วโมง วัน หรือ สัปดาห์ ในขณะที่หินงอกหินปูนนั้นต้องใช้เวลานับพันปี ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของหินงอกลาวาก็คือเมื่อลาวาหยุดไหลแล้วหินงอกลาวาก็จะหยุดโต ถ้าหินงอกลาวานั้นหักก็จะไม่งอกเพิ่มอีก[1] หินงอกลาวานั้นพบได้ยากกว่าหินย้อยลาวาเพราะว่ามันเกิดจากการที่ลาวาที่ไหลลงพื้นนั้นมักไหลต่อหรือถูกดูดซับไป

หินงอกน้ำแข็ง(Ice stalagmites) แก้

หินงอกน้ำแข็งหรือจะเรียกว่าน้ำแข็งงอกก็ได้ เป็นหินงอกที่พบได้ตามฤดูกาลและตลอดมั่งปีในถ้ำเขตหนาว ในภาษาอังกฤษบางทีเรียกว่า icicle[7] น้ำที่ซึมมากจากผืนดินจะทำลุไปในถ้ำถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งและจะไปสะสมและแข็งตัวเป็นน้ำแข็งงอก หรืออาจจะเกิดจากการควบน้ำของไอน้ำโดยตรง[8] เช่นเดียวกับหินงอกลาวา น้ำแข็งงอกเกิดขึ้นได้เร็วในไม่กี่ชั่วโมงหรือวัน พวกมันสามารถโตใหม่ได้เรื่อยๆตราบใดที่ปริมาณน้ำและอุณหภูมิเหมาะสม น้ำแข็งงอกนั้นพบได้มากกว่าน้ำแข็งย้อยเพราะว่าเพดานถ้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นถ้ำ น้ำแข็งงอกและน้ำแข็งย้อยสามารถเชื่อมกันเป็นเสาน้ำแข็งได้เช่นเดียวกันกับหินปูน

หินงอกคอนกรีต(Concrete stalagmites) แก้

 
หินงอกที่โตบนพื้นคอนกรีต

หินงอกและหินย้อยยังสามารถเกิดบนเพดานและพื้นคอนกรีต และมันสามารถเกิดได้เร็วกว่าในถ้ำ[9][10]

เกิดสะสมแร่ธาตุจากคอนกรีตนั้นเป็นผลจากการเสื่อมสภาพของคอนกรีต โดยแร่ธาตุเช่นแคลเซียมและเหล็กนั้นจะถูกละลายออกมาและสะสมบนโครงสร้างคอนกรีตทำให้เกิดเป็นหินงอกหินย้อย[10] แคลเซียมคาร์บอเนตจะมาสะสมเป็นหินงอกหินย้อยเมื่อสารละลายที่เป็นองค์ประกอบของคอนกรีตมาอยู่ทีพื้นคอนกรีต คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกดูดซึมไปในสารละลายนี้และเร่งการเกิดหินงอกหินย้อย [11][12] โดยสูตรทางเคมีของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ[13]

CaO
(s)
+ H
2
O
(l)
Ca(OH)
2

(aq)

น้ำฝนที่ชะล่างคอนกรีตจะพาแคลเซียมไฮดรอกไซด์มาลงที่พื้นหรือหลังคา เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะเกิดปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์และสะสมเป็นหินปูน[14]

Ca(OH)
2

(aq)
+ CO
2

(g)
CaCO
3

(s)
+ H
2
O
(l)

หินงอกเหล่านี้มักจะมีขนาดเพียงไม่กี่เซนติเมตร[15]

สถิติ แก้

หินงอกที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาดสูงกว่า 70 เมตร อยู่ในถ้ำเซินด่องในเวียดนาม[16]

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Larson, Charles (1993). An Illustrated Glossary of Lava Tube Features, Bulletin 87, Western Speleological Survey. p. 56.{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  2. Hicks, Forrest L. (1950). "Formation and mineralogy of stalactites and stalagmites" (PDF). 12: 63–72. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-08. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. "How Caves Form". Nova. PBS. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.
  4. C. Michael Hogan. 2010. “Calcium”. eds. A. Jorgensen, C. Cleveland. Encyclopedia of Earth. National Council for Science and the Environment.
  5. John), Fairchild, Ian J. (Ian (2012). Speleothem science : from process to past environments. Baker, Andy, 1968-. Oxford, U.K.: Wiley. ISBN 9781444361094. OCLC 782918758.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Classroom
  7. Keiffer, Susan (2010). "Ice stalactite dynamics". สืบค้นเมื่อ 2013-07-08.
  8. Lacelle, Denis (2009). "Formation of seasonal ice bodies and associated cryogenic carbonates in Caverne de l'Ours, Québec, Canada: Kinetic isotope effects and pseudo-biogenic crystal structures" (PDF). Journal of Cave and Karst Studies. pp. 48–62. สืบค้นเมื่อ 2013-07-08.
  9. Hill, C A, and Forti, P, (1997). Cave Minerals of the World, 2nd editions. pp 217 & 225 [Huntsville, Alabama: National Speleological Society Inc. ]
  10. 10.0 10.1 Smith, G K. (2016). "Calcite straw stalactites growing from concrete structures". Cave and Karst Science 43(1), pp4-10.
  11. Macleod, G, Hall, A J and Fallick, A E, 1990. An applied mineralogical investigation of concrete degradation in a major concrete road bridge. Mineralogical Magazine, Vol.54, 637–644.
  12. Sundqvist, H. S., Baker, A. and Holmgren, K. (2005). "Luminescence in fast growing stalagmites from Uppsala, Sweden". Geografiska Annaler, 87 A (4): 539-548.
  13. Braund, Martin; Reiss, Jonathan (2004), Learning Science Outside the Classroom, Routledge, pp. 155–156, ISBN 0-415-32116-6
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Classroom3
  15. Smith, G K., (2015). “Calcite Straw Stalactites Growing From Concrete Structures”. Proceedings of the 30th 'Australian Speleological Federation' conference, Exmouth, Western Australia, edited by Moulds, T. pp 93 -108
  16. "Son Doong Cave (Hang Sơn Đoòng)". Wondermondo.