ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ

ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ หรือชื่อที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า ชูวิทย์ กุ่ย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 7 สังกัดพรรคเพื่อไทย เจ้าของธุรกิจสวนเสือตระการ[2] ประธานสโมสรฟุตบอลอุบล ไทเกอร์ และเขาเป็นอดีตแกนนำกลุ่มชักธงรบของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในจังหวัดอุบลราชธานี

ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงมหาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
15 ตุลาคม พ.ศ.2566
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (60 ปี)
อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2537–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี[3] บิดาชื่อ นายคิมหมง แซ่เต็ง ส่วนมารดาชื่อ นางเสี่ยมเค็ง แซ่เต็ง จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ กรุงเทพมหานคร ระดับชั้นประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ จากวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ในปี พ.ศ. 2566 บุตรสาว นางสาว สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.ผู้หญิงที่อายุน้อยที่สุดในสภา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 นางสาว สุชาวดี พิทักษ์พรพัลลภ บุตรสาวคนรอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาด[4]

การทำงาน แก้

เขาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เจ้าของสวนเสือตระการ กระทั่งในปี พ.ศ. 2538 จึงได้เข้ามาสู่งานการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และในปี พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย, พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย (ตามลำดับ)

เขาเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง ได้แก่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เสนาะ เทียนทอง) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ชูชีพ หาญสวัสดิ์) รองประธานกรรมาธิการติดตามงบประมาณ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ทำหน้าที่เลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) และในปี พ.ศ. 2545 เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)

เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่นในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24

เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินออกหมายเรียกเนื่องจากอาจมีส่วนรู้เห็นกับการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเป็นแกนนำของกลุ่มร่วมกับสุพล ฟองงาม แต่ท้ายที่สุดก็ได้มีการตัดสินคดีลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมาย[5] โดยมิได้เกี่ยวข้องกับเขาแต่อย่างใด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
  2. สวนเสือตระการ
  3. https://hris.parliament.go.th/ss_detail.php?sapa_id=82&ssp_id=21125&lang=th
  4. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 27 กุมภาพันธ์ 2567
  5. แดงเผาศาลากลาง โทษหนัก ศาลฎีกาให้ประหาร
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗