สมชาย สุนทรวัฒน์
นายกองเอก[1] สมชาย สุนทรวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลชวน 2 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
สมชาย สุนทรวัฒน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สรอรรถ กลิ่นประทุม สมบัติ อุทัยสาง ประชา มาลีนนท์ ประมวล รุจนเสรี สุธรรม แสงประทุม |
ถัดไป | บัญญัติ จันทน์เสนะ ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 1 มกราคม พ.ศ. 2542 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มกราคม พ.ศ. 2482 จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 21 เมษายน พ.ศ. 2554 (72 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | วรรณิภา สุนทรวัฒน์ |
ประวัติ
แก้สมชาย สุนทรวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2482 ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายประดิษฐ์ กับนางบุญยืน สุนทรวัฒน์ สมรสกับนางวรรณิภา สุนทรวัฒน์ มีบุตรธิดา 3 คน และเป็นพี่ชายของ นายแสงชัย สุนทรวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย[2]
การศึกษา
แก้สมชาย สุนทรวัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม[3]
การทำงาน
แก้สมชาย สุนทรวัฒน์ เริ่มทำงานการเมืองในปี พ.ศ. 2520 ในตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี และเป็นประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ. 2527-2530 เป็นนายกสันนิบาตแห่งประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2528 - 2529[4]
สมชาย สุนทรวัฒน์ เข้าสู่งานการเมืองระดับประเทศโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 และได้รับการเลือกตั้งเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2540 สมชาย สุนทรวัฒน์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร โดยร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในปีเดียวกัน
จากนั้นในปี พ.ศ. 2547 สมชาย สุนทรวัฒน์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2548[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6]
เสียชีวิต
แก้สมชาย สุนทรวัฒน์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลาประมาณ 03.00 น.ด้วยโรค มะเร็งตับอ่อน[7] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ วัดมงคลทีปราราม อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานนายกองเอก
- ↑ มะเร็งคร่าสมชาย สุนทรวัฒน์ข่าวสดออนไลน์
- ↑ "สมชาย สุนทรวัฒน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2010-11-06.
- ↑ ประวัติรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ "มะเร็งตับอ่อนคร่าชีวิต "สมชาย สุนทรวัฒน์" อดีต รมต.เสียชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-24. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไซต์ thaiscouts
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน