ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข (7 สิงหาคม พ.ศ. 2498 -) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตเจ้ากรมยุทธการทหารบก อดีตรองหัวหน้าส่วนยุทธการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
เสนาธิการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | พลเอก อักษรา เกิดผล |
ถัดไป | พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2498 |
คู่สมรส | วรรัตน์ เฉลิมสุข |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
ประวัติ
แก้พลเอกฉัตรเฉลิม หรือที่บรรดาสื่อมวลชนเรียกว่า บิ๊กเบี้ยว เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2498 สมรสกับ อาจารย์วรรัตน์ เฉลิมสุข อาจารย์ประจำโรงเรียนอนุบาลสามเสน
การศึกษา
แก้พลเอกฉัตรเฉลิมเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 23577) และศึกษาต่อที่ โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15) จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 (จปร.26)
การทำงาน
แก้พลเอกฉัตรเฉลิมรับราชการจนได้ดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธการทหารบก ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็น รองเสนาธิการทหารบก
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก แทนพลเอก อักษรา เกิดผล หรือ บิ๊กโบ้ บุตรชายของพลเอก สายหยุด เกิดผล อดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
การเมือง
แก้วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พลเอกฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[5]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[6]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ อดีตราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓