ณะ อารีนิจ
พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ราชองครักษ์พิเศษ[1]ราชองครักษ์เวร[2] ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย, ตุลาการศาลทหารสูงสุด[3] ผู้บัญชาการทหารเรือ, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก[4]กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[5] กรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[6]
ณะ อารีนิจ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ |
ถัดไป | นริส ประทุมสุวรรณ |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ (ทร.) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2499 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ปรานี อารีนิจ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15) โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 72 |
ชื่อเล่น | ณะ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพเรือไทย |
ยศ | พลเรือเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพเรือไทย |
กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[7] รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอดีตเสนาธิการทหารเรือ, อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
ประวัติ
แก้พลเรือเอก ณะ อารีนิจ หรือที่บรรดาสื่อมวลชนเรียกว่า บิ๊กณะ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรชายของ พลโท ประเทือง และนางอร่าม อารีนิจ จบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15 รุ่นเดียวกับพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม) และ โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 72
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางปรานี อารีนิจ มีบุตร ๑ คน
การรับราชการ
แก้ผู้บัญชาการทหารเรือ
แก้ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558[14] ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ พลเรือเอก ณะ ซึ่งเป็นเสนาธิการทหารเรือ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารเรือแทนพลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ซึ่งในขณะนั้นมี พลเรือเอก ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นตัวเต็งที่จะได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ แต่ท้ายที่สุด พลเรือเอก ณะ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ส่วนพลเรือเอก ณรงค์พล ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
แก้วันที่ 27 ตุลาคม 2558[15] ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พลเรือเอก ณะ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพร้อมกับพลเรือเอก พัลลภ ตศิมานนท์ เสนาธิการทหารเรือ และพลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
รางวัลที่ได้รับ
แก้- รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2559[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[18]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[19]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[20]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย และ ตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ "กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-01-18.
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๖ ตอน พิเศษ ๑๕๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอน พิเศษ ๑๑๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๐ ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๖๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 198 ง หน้า 1 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม เล่ม 132 ตอน 269 ง พิเศษ หน้า 1 27 ตุลาคม 2558
- ↑ "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2021-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๙, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๔๖, ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๓, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
ก่อนหน้า | ณะ อารีนิจ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ | ผู้บัญชาการทหารเรือ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันายน พ.ศ. 2560) |
พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ |