นริส ประทุมสุวรรณ

พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด[1] ผู้บัญชาการทหารเรือ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[2] คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[3] กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[4] อดีตผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

นริส ประทุมสุวรรณ
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ก่อนหน้าพลเรือเอก​ ณะ อารีนิจ
ถัดไปพลเรือเอก​ ลือชัย รุดดิษฐ์
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2501 (66 ปี)
คู่สมรสเกสรา ประทุมสุวรรณ
บุตรธัชพรรณ ประทุมสุวรรณ
ปณิดา ประทุมสุวรรณ
ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 89 (OSK.89)
โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 16 (ตท.16)
โรงเรียนนายเรือ รุ่น 73
โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ
วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 32
ชื่อเล่นนุ้ย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลเรือเอก

ประวัติ

แก้

พลเรือเอกนริสหรือ บิ๊กนุ้ย เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของพันตรีสุชาย และดร.สโรชา ประทุมสุวรรณ จบการศึกษาจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 89 (OSK.89) โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 16 โรงเรียนนายเรือ รุ่น 73 โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และ วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 32

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนาง เกสรา ประทุมสุวรรณ (นามสกุลเดิม;ฟักสังข์) มีบุตรสาว 2 คนคือ นางสาวธัชพรรณ ประทุมสุวรรณ และ นางสาวปณิดา ประทุมสุวรรณ

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

แก้

วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพลเรือเอกนริสเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[5]

ผู้บัญชาการทหารเรือ

แก้

ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพลเรือเอกนริสขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารเรือสืบต่อจากพลเรือเอก ณะ อารีนิจ ที่เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560[6]

รางวัลที่ได้รับ

แก้
  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2561[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   สิงคโปร์:
    • พ.ศ. 2561 -   เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[12]

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
  2. กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  3. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  4. กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  5. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๓๐ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๑๗ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑ กันยายน ๒๕๖๐
  7. "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
  12. Ministry of Defence Singapore. Royal Thai Navy Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 2 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566