บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด (อังกฤษ: The Bangkok Dock Company (1957) Limited) เป็นรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย สังกัด กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม ประกอบกิจการอู่เรือ สร้าง ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกลเรือ และอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีของกองทัพไทย

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
ชื่อท้องถิ่น
The Bangkok Dock Company (1957) Limited
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรม
ก่อนหน้าบริษัท บางกอกด๊อก จำกัด
ก่อตั้ง15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500; 67 ปีก่อน (2500-11-15)
ผู้ก่อตั้งจอห์น บุช
สำนักงานใหญ่,
จำนวนที่ตั้ง2 แห่ง (พ.ศ. 2555)
พื้นที่ให้บริการประเทศไทย
บุคลากรหลักพลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง (ประธานกรรมการ)
นาวาเอก ปริศฎางค์ กาศขุนทด (กรรมการผู้จัดการ)
ผลิตภัณฑ์
บริการ
  • การต่อเรือ
  • การซ่อมแซมเรือ
รายได้สุทธิ
67.01 ล้านบาท
(พ.ศ. 2564)[1]
สินทรัพย์134.70 ล้านบาท
(พ.ศ. 2564)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้น101.79 ล้านบาท
(พ.ศ. 2564)[1]
เจ้าของ
บริษัทแม่กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม
บริษัทในเครือสำนักงานธุรกิจสัตหีบ
เว็บไซต์เว็บไซต์ของบริษัท

ประวัติ

แก้

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจากบริษัท บางกอกด๊อก จำกัด ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2408 โดยกัปตันจอห์น บุช นักลงทุนชาวอังกฤษ และราชนาวีไทยต้องเข้ามาควบคุมกิจการในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และส่งคืนให้แก่ประเทศอังกฤษหลังเสร็จสิ้นสงคราม แต่ บางกอกด๊อก ต้องเลิกกิจการในปี พ.ศ. 2494 และขายกิจการกลับมาเป็นของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495 และได้มีการโอนกิจการโดยสมบูรณ์ให้กองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2500 พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของบริษัทจาก Bangkok Dock Co., Ltd. มาเป็น Bangkok Dock company (1957) Limited. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 กองทัพเรือจึงโอนหุ้นทั้งหมดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงการคลัง มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นผู้ควบคุมนโยบาย และในปี พ.ศ. 2526 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้อู่กรุงเทพ มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทยุทธปัจจัย อยู่ในความควบคุมของกองทัพเรือ[2]

 
บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ระหว่างสะพานกรุงเทพ และสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีพื้นที่ 20 ไร่ 1 งาน 82 ตารางวา เป็นพื้นที่อู่จำนวน 2 อู่ สามารถซ่อมเรือขนาดระวางบรรทุก 3,000 - 4,000 ตัน ได้ 3 ลำในเวลาเดียวกัน และยังมีสำนักงานธุรกิจตั้งอยู่ที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อีกแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ 44 ไร่ 2 งาน เป็นลักษณะอู่ลอย

การดำเนินงาน

แก้

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด มีผลกำไรสุทธิ ในปี พ.ศ. 2553 จำนวน 13,266,419.67 บาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 13.27 บาท[3]

ผลงานของบริษัท

แก้

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด มีผลงานการต่อเรือสำคัญ อาทิ โครงการเรือน้ำมันกองทัพเรือ เรือตรวจการไกลฝั่ง เรือระบายพลประจำเรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงสุรินทร์ เรือหลวงทองหลาง เรือหลวงวังนอก เรือหลวงทองแก้ว เรือหลวงวังใน เรือหลวงศุกร์ เรือหลวงสุริยะ เรือหลวงถลาง เรือเวรด่วนทางธุรการ[4]

นอกจากนั้นยังได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการสำคัญ อาทิ พิพิธภัณฑ์เรือหลวงท่าจีน การกู้เรือหลวงกระบุรีออกจากการเกยตื้นภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ณ ฐานทัพเรือพังงา จังหวัดพังงา โครงการเรือออมสิน โครงการยานวิจัยใต้น้ำขนาดเล็ก

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 รายงานประจำปี 2564 บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
  2. ประวัติบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
  3. รายงานสถานะการเงิน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 13 มกราคม 2555
  4. "ผลงานของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-07-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้