นิสดารก์ เวชยานนท์

ศาสตราจารย์ นิสดารก์ เวชยานนท์ (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499) เป็น สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นิสดารก์ เวชยานนท์
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนพดล เวชยานนท์

ประวัติ

แก้

ศาสตราจารย์ นิสดารก์ เวชยานนท์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.นิสดารก์ เวชยานนท์ เกิดเมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499[1] เป็นชาวกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (เกียรตินิยิมดี) การบริหารงานบุคคล จากคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปริญญาเอกรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์

ศาสตราจารย์ ดร.นิสดารก์ เวชยานนท์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เรื่อยมา จนกระทั่งได้รับตำแหน่งคณบดี

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[2]

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ นายนพดล เวชยานนท์ มีบุตร 1 คน[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลประวัติ - บล็อกสมาชิกวุฒิสภา Senator blog
  2. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  3. เจาะตู้เซฟอาจารย์-อธิการบดีม.ดังนั่ง สนช.9 แห่ง 12 คน ทรัพย์สินกว่า 1 พันล.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2017-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๕๖, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘