นิเวศน์ นันทจิต

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[1][2]กรรมการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานมูลนิธิโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) และได้รับคัดเลือกเป็นนักศึกษาเก่าดีเด่นสาขาบริหารองค์กรการศึกษาจากทางมหาวิทยาลัย ศ.คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิตได้มีการผลักดันให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) โดยความร่วมมือกับทางไอบีเอ็มตั้งแต่ปี 2553[3]

นิเวศน์ นันทจิต
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์
ถัดไปศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี (รักษาการ)
ถัดไปศ.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
ลายมือชื่อ

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย – เมียนมาร์ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 กรรมการมูลนิธิขาเทียม ใน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และประธานคณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว [5]

ประวัติการศึกษา แก้

ตำแหน่งทางการบริหาร แก้

  • พ.ศ. 2529-2531 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2531-2533 ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2537-2541 รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2537-2541 รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2541-2545 รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2541-2545 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2541-2545 ผู้อำนวยการสถานบริการสุขภาพพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2548-2552 นายกสมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2549-2555 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2549-2559 อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[7]
  • พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงาน แก้

ในช่วงการดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่บริหารงานในช่วงปี พ.ศ. 2549-2555 ที่ผ่านมา ได้ประสานความร่วมมือภายในและภายนอกองค์กรอย่างกว้างขวาง สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายในและภายนอกคณะเป็นอย่างดียิ่ง ทำให้องค์กรพัฒนาอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ดังนี้

  • ด้านการศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิเวศน์ ได้เร่งพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ทำให้ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (QA) สูงมากกว่า 90% มาตลอด เป็นอันดับต้นของมหาวิทยาลัย และผลการสอบจากศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.) ของนักศึกษาแพทย์ โดยแพทยสภาดีขึ้นตามลำดับ มีผู้สอบได้ 100% สำหรับขั้นตอนที่ 3
  • ด้านการวิจัย มีการสร้างบรรยากาศการวิจัยอย่างถาวร จัดหาทุนสนับสนุนงานวิจัย มีผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ และได้รับการอ้างอิงในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  • ด้านการบริการรักษาพยาบาล มีการพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด ทั้งทางด้านความรวดเร็วในการให้บริการ และคุณภาพการรักษาพยาบาล มีการจัดหาเครื่องมือที่ทันสมัย จัดซื้อที่ดินและการก่อสร้างอาคารเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการให้บริการ การสร้างเครือข่ายการรักษาพยาบาล ทำให้เป็นโรงพยาบาลต้นแบบที่มีผู้มาศึกษาดูงานจำนวนมาก และจากการประเมินจากภายในและภายนอก ทำให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ
  • ด้านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากองค์การสหประชาชาติ ในสาขาการปรับปรุงการให้บริการ (Improving the delivery of service) โดยเป็น 1 ใน 8 ประเทศที่ได้รับรางวัล จากประมาณ 700 หน่วยงาน ที่ส่งเข้าประกวดจากทั่วโลก นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
  • ได้รับรางวัล Excellence Awards ของ Hospital Management of Asia 2011 เป็นรางวัลที่มอบให้กับโรงพยาบาลในเอเชียที่มีผลงานดีเด่น โรงพยาบาลมหารานครเชียงใหม่ ได้รับ Excellence Awards 2 รางวัล จากโครงการ “Improvement of Outpatient Service System by DigiCards” สาขา Facilities Improvement Project และโครงการ “Music therapy for physically disabled children” สาขา Corporate Social Responsibility (CSR)
  • ด้านการเงิน ตลอดระยะเวลาที่รับผิดชอบในการบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้บริหารจัดการสมัยใหม่ ทำให้ผลประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ได้แสวงหาความร่วมมือและการสนับสนุนจากบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ภายนอกคณะ ทำให้ได้รับความร่วมมือและได้รับเงินบริจาคสูงขึ้น[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (นายนิเวศน์ นันทจิต)
  2. มติชนออนไลน์, โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "นิเวศน์ นันทจิต" ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี ม.เชียงใหม่
  3. Chiang Mai University and Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital Work With IBM To Build Medical Hub to Serve Northern Region of Thailand
  4. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  5. รายชื่อประธานกรรมการ
  6. รู้จัก "นพ.นิเวศน์ นันทจิต" อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับงานท้าทาย : มติชนออนไลน์
  7. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนที่15[ลิงก์เสีย]
  8. รศ.นพ.นิเวศน์ นันทจิต" ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนที่ 15 : ผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๒๔, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗


ก่อนหน้า นิเวศน์ นันทจิต ถัดไป
ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์   อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559)
  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อาวุธ ศรีสุกรี (รักษาการ)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อาวุธ ศรีสุกรี (รักษาการ)   อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565)
  ศาสตราจารย์ นายแพทย์ พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล