สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ รองเลขาธิการประจำผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1] อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2] อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ อดีตเป็นที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ[3][4] สืบต่อจาก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ที่เกษียณอายุราชการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554
สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม 2557 – 21 พฤษภาคม 2562 | |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2556 | |
ก่อนหน้า | กำธร พุ่มหิรัญ |
ถัดไป | ณรงค์ พิพัฒนาศัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2496 |
คู่สมรส | พรจิตร์ หรุ่นเริงรมย์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพเรือไทย |
ประจำการ | 2514 – 2557 |
ยศ | พลเรือเอก |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารเรือ |
ประวัติ
แก้พล.ร.อ.สุรศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของนายศักดิ์สิทธิ์ และนางอัมพร หรุ่นเริงรมย์ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 13 (ตท.13) และโรงเรียนนายเรือรุ่นที่ 70 (นร.70) เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ผู้บังคับการเรือหลวงราชฤทธิ์, ผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารเรือ, ผู้บังคับการเรือหลวงกระบุรี, เลขานุการกองทัพเรือ, ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ, เจ้ากรมการข่าวทหารเรือ หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ รองเสนาธิการทหารเรือ และที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ก่อนที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ นับเป็นคนที่ 48 [5]
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6]
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางพรจิตร์ หรุ่นเริงรมย์ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ มีชื่อที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการจากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กหรุ่น"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[10]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2555 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[12]
- สิงคโปร์:
- พ.ศ. 2556 - เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ พรึบ!24 นายพล รายชื่อผู้ปฏิบัติงานใน คสช.เป็นทางการ -“ชัยวัฒน์”กุนซือ “สมคิด”
- ↑ ราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน 584 ราย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 115 ง วันที่ 1 ตุลาคม 2554
- ↑ เปิดรายชื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร 584 ตำแหน่ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร.คนใหม่เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากข่าวสด
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซด์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๓, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๔, ๒๓ กันยายน ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓, ๙ มกราคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๙, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ https://commons.wikimedia.org/wiki/File:120419-N-WL435-144_(25469149241).jpg
- ↑ Ministry of Defence Singapore. Royal Thai Navy Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 2 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
ก่อนหน้า | สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ | ผู้บัญชาการทหารเรือ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556) |
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย |