พิสิทธิ์ สิทธิสาร
พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร หรือ บิ๊กแกละ เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12[3] นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[4] และกรมทหาราบที่ 12 รักษาพระองค์[5] ราชองครักษ์เวร[6] อดีตรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[7] อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด[8] อดีตผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[9] เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553
พิสิทธิ์ สิทธิสาร | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
รองผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | พลเอก วลิต โรจนภักดี |
ถัดไป | พลเอก สสิน ทองภักดี |
เสนาธิการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข |
ถัดไป | พลเอก สสิน ทองภักดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มีนาคม พ.ศ. 2500 |
คู่สมรส | จันทร์ฉาย สิทธิสาร[1] |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 17 (ตท.17) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 28 (จปร.28) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก |
ชื่อเล่น | แกละ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2524 - 2560 |
ยศ | พลเอก[2] |
ประวัติ
แก้เป็นบุตรของนาวาอากาศตรี แดง กับ นางบัวคลี่ สิทธิสาร มีพี่น้อง 6 คน ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางจันทร์ฉาย สิทธิสาร มีบุตรสาว 1 คน
พลเอก พิสิทธิ์ฯ เริ่มราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ถึงปี พ.ศ. 2560 ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเอกตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558
หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พลเอก พิสิทธิ์ฯ ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
การศึกษา
แก้โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 17 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 28 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การรับราชการ
แก้พลเอก พิสิทธิ์ฯ ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์(ผบ.ร.11 รอ.) เมื่อปี พ.ศ. 2548 จากนั้นในปี พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์(ผบ.พล.1 รอ.) ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รองแม่ทัพภาคที่ 1(รอง มทภ.1), แม่ทัพน้อยที่ 1(มทน.1), รองเสนาธิการทหารบก(รอง เสธ.ทบ.), เสนาธิการทหารบก(เสธ.ทบ.) และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2548 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2550 รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2554 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์[10]
- พ.ศ. 2554 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[11]
- พ.ศ. 2555 รองแม่ทัพภาคที่ 1[12]
- พ.ศ. 2556 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก(อัตราพลโท)[13]
- พ.ศ. 2557 แม่ทัพน้อยที่ 1[14]
- พ.ศ. 2557 รองเสนาธิการทหารบก[15]
- พ.ศ. 2557 ผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป[16]
- พ.ศ. 2558 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก(อัตราพลเอก)[17]
- พ.ศ. 2558 เสนาธิการทหารบก[18]
- พ.ศ. 2559 รองผู้บัญชาการทหารบก [19]
- พ.ศ. 2559 รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ราชการพิเศษ
แก้- ราชองครักษ์พิเศษ
- ราชองครักษ์เวร
- ตุลาการศาลทหารสูงสุด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[20]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[21]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[22]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[23]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[24]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[25]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[26]
อ้างอิง
แก้- ↑ "คุณจันทร์ฉาย สิทธิสาร ภริยา พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร รอง ผบ.ทบ.อุปนายก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล หน้า 1 เล่ม 132 ตอนที่ 12 ข 26 มีนาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา หน้า ๖ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง,๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งนายทหารพิเศษ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๖๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งราชองครักษ์เวรและนายตำรวจราชสำนักเวร เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๙๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐
- ↑ "คสช." ย้ำ "กกล.รส." จัดระเบียบสังคมต่อเนื่อง พร้อมให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสังคม
- ↑ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน[ลิงก์เสีย] สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๕๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ (เฉพาะ)ที่ 2/2557 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๖๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 203 ง พิเศษ หน้า 1 9 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-22.
- ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-17. สืบค้นเมื่อ 2018-12-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๓๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๒, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๒๙, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗