สุชาติ หนองบัว
พลเอก สุชาติ หนองบัว (24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 - ) เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)[3] อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก อดีตประธานอนุการกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม การเคหะแห่งชาติ และอดีตราชองครักษ์พิเศษ[4]
สุชาติ หนองบัว | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[2] | |
ดำรงตำแหน่ง 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ.2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | พันตำรวจเอก (หญิง) จงดี หนองบัว |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนวิสุทธรังษี โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2522 - 2558 |
ยศ | พลเอก |
ประวัติ
แก้พลเอก สุชาติ หรือที่บรรดาสื่อมวลชนเรียกว่า บิ๊กชาติ เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีพี่ชายหนึ่งคนที่รับราชการด้วยคือ พันตำรวจโท ปรีดา หนองบัว พลเอก สุชาติฯ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกกรมกำลังพลทหารบก , ผู้อำนวยการกอง กรมกำลังพลทหารบก , รองเจ้ากรมกำลังพลทหารบก , เจ้ากรมกำลังพลทหารบก(อัตรา พลตรี), ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพล และดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก(อัตรา พลเอก)[5] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังจากมีการทำรัฐประหารและมีการจัดตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลโท สุชาติ หนองบัว ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก(ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ได้เป็นหนึ่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ด้วย
วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศทหารชั้นนายพล วาระ ตุลาคม พ.ศ. 2557[6] พลโท สุชาติฯ ได้เลื่อนยศเป็น พลเอก ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558[7] ได้รับแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ
การศึกษา
แก้พลเอกสุชาติจบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวิสุทธรังษี ซี่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด หลังจากนั้นจึงได้เข้าศึกษาที่ โรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 15 และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่น 26 พลเอกสุชาติได้ผ่านการรอบรมและสัมมนาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย)
- ↑ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย
- ↑ จัดชุดใหญ่! ครม.ตั้งขรก.การเมือง’เด็กสามมิตร’ ได้ดิบได้ดี ‘จักษ์ พันธ์ชูเพชร’ ที่ปรึกษารมต.
- ↑ ประธานอนุการกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม
- ↑ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพล และดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก(อัตรา พลเอก)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131, ตอนที่ 17 ข, 8 กันยายน พ.ศ. 2557, หน้า 1-27
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ, เล่ม 132 ตอนพิเศษ 267 ง 27 ตุลาคม 2558 หน้า 1-2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓