องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อังกฤษ: The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage His majesty the King) เรียกโดยย่อว่า "อผศ." สังกัดกระทรวงกลาโหม
The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage His majesty the King | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 |
สำนักงานใหญ่ | 420/3 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงกลาโหม |
เว็บไซต์ | http://www.thaiveterans.mod.go.th |
มีฐานะเป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล เป็นองค์การเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการรบ รวมทั้งเชิดชูเกียรติแก่ทหารผ่านศึก
ประวัติ
แก้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2491[1] โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ รับ อผศ. เข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อมาได้มีการปรับปรุงโดยพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2510 และปรับปรุงอีกครั้งโดยพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2560
การแบ่งส่วนงาน
แก้อผศ. จัดแบ่งส่วนงานเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
- ส่วนกลาง
เป็นส่วนอำนวยการทั่วไปในการดำเนินงานของทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม โดยจัดแบ่งส่วนงาน ดังนี้
- สำนักผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
- สำนักงานเลขานุการ ประกอบด้วย กองกลาง กองกฎหมาย และกองการประชุมและพิธีการ
- ฝ่ายนโยบายและแผน ประกอบด้วย กองกำลังพล กองประชาสัมพันธ์ กองแผนและวิชาการ ศูนย์กรรมวิธีข้อมูล และศูนย์สนับสนุนการฝึกอบรมองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
- ฝ่ายปลัดบัญชี ประกอบด้วย กองการเงิน กองบัญชี และกองบริหารและควบคุม
- ฝ่ายส่งกำลังบำรุง ประกอบด้วย กองบริการ กองการพัสดุ และกองก่อสร้าง
- ฝ่ายสวัสดิการสงเคราะห์ ประกอบด้วย กองสวัสดิการ กองทุนสงเคราะห์ กองการฌาปนกิจสงเคราะห์ และศูนย์บัตรประจำตัว
- ฝ่ายอาชีวสงเคราะห์ ประกอบด้วย กองอาชีพ และกองนิคมเกษตรกรรม
- กองตรวจสอบภายใน
- โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ประกอบด้วย กองคลัง กองกลาง กองบริการ กองเวชศาสตร์ชันสูตร กองเวชศาสตร์ฟื้นฟูและออร์โธปิดิคส์ กองอายุรกรรม กองศัลยกรรม กองทันตกรรม กองเภสัชกรรม และกองการพยาบาล
- ส่วนภูมิภาค
เป็นสำนักงานสาขา 24 หน่วย ทำหน้าที่ในการสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ที่มีภูมิลำเนาตามจังหวัดต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รับการสงเคราะห์โดยสะดวกทั่วถึงกัน เรียกชื่อว่า “สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขต” โดยตั้งอยู่ในจังหวัดใดก็ใช้ชื่อจังหวัดนั้นเรียกต่อท้าย ทุกเขตจะมีฐานะเท่ากันและขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ ดังนี้[2]
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตลพบุรี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสุพรรณบุรี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตราชบุรี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตปราจีนบุรี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตชลบุรี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตจันทบุรี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตนครราชสีมา
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสุรินทร์
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตอุบลราชธานี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตขอนแก่น
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตอุดรธานี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสกลนคร
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตนครสวรรค์
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตพิษณุโลก
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตตาก
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตน่าน
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตลำปาง
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตเชียงราย
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตเชียงใหม่
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตชุมพร
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตนครศรีธรรมราช
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสงขลา
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตปัตตานี
- สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตกระบี่
การให้การสงเคราะห์
แก้อผศ. ให้การสงเคราะห์ประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการ
- การสงเคราะห์ด้านอาชีพ
- การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม
- การสงเคราะห์ด้านการให้สินเชื่อ
- การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล
- การสงเคราะห์ประเภทส่งเสริมสิทธิและเกียรติ
หน่วยงานกิจการพิเศษ
แก้หน่วยงานกิจการพิเศษคือหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามมติสภาทหารผ่านศึก เพื่อหารายได้มาสมทบงบประมาณขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่ได้รับจากกระทรวงกลาโหม ปัจจุบันมี 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย[3]
- สำนักงานกิจการศาลหลักเมือง
- สำนักงานกิจการการเกษตรการอุตสาหกรรมและการบริการ
- สำนักงานกิจการโรงพิมพ์
- สำนักงานรักษาความปลอดภัย
- สำนักงานกิจการโรงงานในอารักษ์[5]
- สำนักงานจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งและบุหรี่
- สำนักงานกิจการพลังงาน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ พระราบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา พ.ศ. 2491
- ↑ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, หน่วยงานสงเคราะห์[ลิงก์เสีย] (mod.go.th)
- ↑ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, หน่วยงานกิจการพิเศษ[ลิงก์เสีย] (mod.go.th)
- ↑ "ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Pillar Shrine)". bangkokcitypillarshrine.com.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV. "อผศ.โกยเรียบชนะจัดซื้ออุปกรณ์คุมม็อบ ของกรมสรรพาวุธ ตร. หลายรายการ". VoiceTV.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ เก็บถาวร 2010-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน