เหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เรือท่องเที่ยวสามลำล่มและจมในบริเวณ เกาะเฮ ใกล้จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ในช่วงที่เกิดพายุฉับพลัน มีผู้เสียชีวิตสี่สิบเจ็ดราย และสามรายสูญหายไป[1] ทุกคนอยู่บนเรือสองชั้นฟีนิกซ์ พีซี ไดวฟ์วิง ซึ่งมีผู้คน 105 คน ประกอบด้วยนักท่องเที่ยว 93 คน (ทั้งหมดเป็นชาวจีนยกเว้นเพียง 2 คนเป็นชาวยุโรป)[2] และมีไกด์นำเที่ยวลงเรือไปด้วยอีก 12 คน เรือลำดังกล่าวกำลังเดินทางจากเกาะราชากลับท่าเรืออ่าวฉลอง กำหนดการออกเดินทาง 16.30 น. มี นาย สมจริง บุญธรรม เป็น กัปตันเรือ

เหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561
ซากของเรือลำที่เกิดอุบัติเหตุ
วันที่5 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 (2018-07-05)
ที่ตั้งใกล้จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
ชื่ออื่นเรือเดินสมุทรฟีนิกซ์ และเรือเดินสมุทรเซเรนิตา ล่ม
สาเหตุพายุ
เสียชีวิต47 ราย
บาดเจ็บไม่ถึงตาย37 ราย

เรือลำที่สองที่ล่มในวันดังกล่าวได้แก่ เรือยอซท์ ชื่อเรือ เซเรนิตา ได้ล่มลง บริเวณเกาะไม้ท่อน ผู้โดยสาร 42 คน ซึ่งได้รับการช่วยเหลือ รอดชีวิตทั้งหมด กัปตันเรือลำเรือได้แก่ นาย เมธา หลิมสกุล[3]

เรือลำที่สามที่ล่มในวันดังกล่าว ได้แก่ เรือเจ็ตสกีของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียล่ม มีผู้โดยสาร 2 คน ล่มบริเวณเกาะราชา ได้รับการช่วยเหลือทั้งสองคน ผู้ประสบภัยเรือล่มในวันนั้นรวม 149 ราย[4]

การค้นหาและกู้ภัย

แก้

มีเรือประมงลำหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ มาถึงที่เกิดเหตุและสามารถช่วยเหลือผู้โดยสาร 48 คนขึ้นมาจากน้ำ ส่วนผู้หญิงอีกคนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือในบริเวณห่างจากเรือหลายไมล์ อย่างไรก็ตาม ได้พบว่าบุคคลรายอื่น ๆ ที่อยู่กับเธอนั้นเสียชีวิตทั้งหมด ในขณะที่ผู้บาดเจ็บสามสิบเจ็ดรายได้รับการส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตเพื่อรับการรักษา[5]

หน่วยงานรัฐจังหวัดภูเก็ตจัดภารกิจการค้นหาและกู้ภัยโดยเฮลิคอปเตอร์, ตำรวจ และเรือประมง ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม มีการพบศพ 33 ราย และผู้คน 23 รายสูญหาย ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวจีน ผู้โดยสารที่พบส่วนใหญ่สวมเสื้อชูชีพ[6]

นักการทูตจากสถานกงสุลจีนและสถานทูตในกรุงเทพฯเดินทางมายังภูเก็ตเพื่อเข้าเยี่ยมผู้รอดชีวิตและช่วยการค้นหาและกู้ภัย[7] ส่วนนักดำน้ำชาวจีนที่เคยไปทางเหนือของประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงก็เดินทางไปจังหวัดภูเก็ตเพื่อค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุเรือล่มเช่นกัน ซึ่งเชื่อกันว่าเรืออยู่ใต้น้ำลึกลงไป 120 ฟุต (37 เมตร)[6]

ภายหลังเหตุการณ์

แก้

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่ง เกี่ยวกับเหตุเรือล่มว่า "เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนจีนทำนักท่องเที่ยวจีนเอง สร้างเรือเอง ไม่ทำตามกฎของเรา แล้วจะให้เราเรียกอะไร ก็มันเป็นเรื่องของเขา" ภายหลังการให้สัมภาษณ์คนจีนจำนวนมากแสดงความไม่พอใจต่อการสัมภาษณ์ในครั้งนี้[8] จน พลเอก ประวิตร ได้ออกมาขอโทษคนจีนในท้ายที่สุด[9] โดย พลเอก ประวิตร อ้างว่าได้รับรายงานมาเช่นนั้น

หลังเกิดเหตุการณ์พบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนนั้นได้ลดลงเป็นจำนวนมาก[10] ทั้งคนไทยและคนจีนต่างวิจารณ์เพราะโศกนาฏกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในเวลา 16.00 น. ของวันที่ 5 ก.ค. แต่กว่าจะมีทีมค้นหาจะออกไปค้นหาก็ 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ออกมาตรฐานเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้คนจีนโดยเพิ่มช่องทางพิเศษสำหรับผู้ที่ถือหนังสือตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีนโดยเฉพาะเพื่อเป็นการเอาใจนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน[11]

ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561[12] นาย นิพัฒน์ กลัดนาค อายุ 37 ปี[13] นักประดาน้ำของ บริษัท สปิท เทค จำกัด ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ภายหลังปฏิบัติหน้าที่กู้เรือจนได้รับบาดเจ็บเข้าโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

สื่อมวลชนของประเทศไทยได้เสนอข่าวอุบัติเหตุทางน้ำที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศไทย ซึ่งเป็นอุบัติเหตุเรือชนกัน เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีผู้เสียชีวิต 119 ราย โดยเป็นเหตุเรือบรรทุกน้ำมัน กัปตันเรือ ปรีชา เพชรชู ขับเรือชนเรือโดยสาร 2 ชั้น ชื่อเรือ นาวาประทีป 111 กัปตันเรือ ประยูร ย๊ะกบ ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยผลการสอบสวนระบุว่า นาย ประยูร ย๊ะกบ เร่งความเร็วเรือโดยหวังว่าจะพ้น ทำให้เรือนาวาประทีป 111 ได้จมลง รวมถึงข่าวเรือบรรทุกสินค้าชนเรือประมง ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561[14] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายซึ่งเป็นอุบัติเหตุเรือชนกันครั้งร้ายแรงรองลงมาของประเทศไทย

เหตุเรือล่มที่มีผู้เสียชีวิตรองลงมาได้แก่ เหตุเรือล่มที่เขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 39 ราย[15] และเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559 มีผู้เสียชีวิต 28 ราย[16] และเหตุเรือขนส่งแรงงานต่างด้าวล่ม เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดระนอง[17] มีผู้เสียชีวิต 22 ราย[18]

อ้างอิง

แก้
  1. hermesauto (12 July 2018). "Thailand suspends salvage effort in Phuket tourist boat disaster that killed 46". สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
  2. "Prawit blames tour operators for boat disaster, 5 still missing". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2018-07-09.
  3. เหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่
  4. เรือล่มภูเก็ต: โศกนาฏกรรมทางน้ำที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  5. "Thai tourist boat death toll rises". BBC News. 6 July 2018. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  6. 6.0 6.1 Chan, Angie (6 July 2018). "Tourist Boats Capsize Off Thai Resort Island, Leaving at Least 33 Dead". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  7. Walsh, Carly (6 July 2018). "Tourist Boats Capsize Off Thai Resort Island, Leaving at Least 33 Dead". CNN. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  8. โซเซียลจีนรุมถล่ม'บิ๊กป้อม'เละ!
  9. 'ประวิตร' ขอโทษ หากพูดทำคนจีน ไม่พอใจ
  10. เรือล่มภูเก็ต: 2 เดือนหลังเหตุร้าย จีนยังเมิน วันเดียวยกเลิก 20 เที่ยวบิน เตือนเลี่ยงอันดามัน ช่วง "โกลเดนวีค"
  11. ตม.จับมือตร.ท่องเที่ยวนำร่องเปิดช่องทางพิเศษ 5 สนามบินหลักรับนักท่องเที่ยวจีน
  12. โกลเดนวีค: วันหยุด “สัปดาห์ทอง” ทัวร์จีนลดท่องเที่ยวภูเก็ต
  13. ตายสังเวย'เรือฟินิกซ์'เพิ่มอีกหลังนักดำน้ำพยายามกู้เรือ
  14. เรือชนสนั่นดับ4ศพ-สยองทะเลสัตหีบ ขนสินค้า เสยตังเก ทัพเรือสั่ง "ฮ."กู้ชีวิต! ช่วยรอด4
  15. วันนี้ในอดีต 39 ศพ !! เรือล่มกลางเขื่อน
  16. ครบ28ศพ เหยื่อล่ม-กู้เรือได้แล้ว สรุปยอดได้รับบาดเจ็บ51 คมนาคมสั่งติดระบบชี้พิกัด คนขับโดนเพิ่ม
  17. เกลื่อนทะเล-22ศพ เรือขนพม่า ล่ม-แรงงานดับอนาถ
  18. รายงาน : 54 ความตายในตู้คอนเทนเนอร์ และอีกมากความตายที่ชายขอบ