การโจมตีโรงแรมดุสิตดีทู ไนโรบี
การโจมตีโรงแรมดุสิตดีทู ไนโรบี (อังกฤษ: Nairobi Dusitd2 complex attack) เป็นการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่เริ่มเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562 และยุติในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562 ในพื้นที่เวสต์แลนด์ของไนโรบี ประเทศเคนยา[6][7][8][9]
การโจมตีโรงแรมดุสิตดีทู ไนโรบี | |
---|---|
สถานที่ | เวสต์แลนด์ ไนโรบี ประเทศเคนยา |
พิกัด | 1°16′13″S 36°48′13″E / 1.27017°S 36.80352°E |
วันที่ | 15 มกราคม พ.ศ. 2562 – 16 มกราคม พ.ศ. 2562 15:00 น. (เวลาแอฟริกาตะวันออก (UTC+03:00)) |
เป้าหมาย | ชาวเคนยาที่มีชื่อเสียง, ชาวต่างชาติ |
ประเภท | การระเบิด, การยิงชุมนุมชน |
อาวุธ | อาก้า, วัตถุระเบิด (ผู้โจมตี) เฮคเลอร์แอนด์คอช จี 3, อาก้า, โคลต์ แคนาดา ซี 7, เอฟเอ็น สการ์ (ผู้ต้านทานการรุก)[1][2][3][4] |
ตาย | 21 คน (รวมผู้โจมตี 5 คน)[5] |
เจ็บ | 28 คน[5] |
เหตุจูงใจ | ไม่เห็นด้วยกับการมีส่วนร่วมของเคนยาในสงครามกลางเมืองโซมาเลีย และการยอมรับว่าเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอลของดอนัลด์ ทรัมป์ |
ภูมิหลัง
แก้กลุ่มสงครามอิสลามอัชชะบาบได้ต่อต้านการมีส่วนร่วมของเคนยาในสงครามกลางเมืองโซมาเลีย ซึ่งก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้ก่อการร้ายได้โจมตีเมืองเวสต์แลนด์ในช่วงที่มีการโจมตีศูนย์การค้าเวสต์เกต พ.ศ. 2556 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 67 ราย[10]
สถานที่
แก้การโจมตีเกิดขึ้นที่ 14 ริเวอร์ไซด์ไดร์ฟ ในเวสต์แลนด์ ไนโรบี ประเทศเคนยา[11] ที่แห่งนี้คือโรงแรมและอาคารสำนักงานหรูซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงแรมเครือดุสิตธานีและสำนักงานคณะกรรมการการจัดสรรรายได้[6][7]
อุบัติการณ์
แก้เหตุการณ์เริ่มต้นที่เวลา 14:30 น. ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562 และได้ยุติในไม่กี่นาทีก่อนสิบโมงของวันรุ่งขึ้น[11] รายงานเบื้องต้นคือมีการยิงปืนและการระเบิดสองครั้งที่โรงแรม[9] ผู้โจมตีมีประมาณจำนวนระหว่างสี่ถึงหกคน[9] ได้มาถึงโดยยานพาหนะสองคันและบังคับให้ยามเปิดประตู 14 ริเวอร์ไซด์ไดร์ฟโดยยิงใส่พวกเขา[12] ครั้นแล้ว ตำรวจผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยเจเนอรัลเซอร์วิสสำหรับต่อต้านการก่อการร้าย ก็ได้รับการส่งเข้ามาเพื่อต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธ[7][10][12] รวมถึงสมาชิกคนหนึ่งของหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ ซึ่งอยู่ในประเทศเพื่อทำการฝึกอบรม ก็มีส่วนร่วมในการโต้ตอบเช่นกัน[1][13] ระหว่างที่มีการไตร่ตรองเพื่อต่อต้านการโจมตีหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง มีการได้ยินเสียงยิงปืนและระเบิดอีกครั้งในเช้าตรู่ของวันที่ 16 มกราคม[14]
ภายในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562 ประธานาธิบดีเคนยา อูฮูรู เคนยัตตา กล่าวว่ามี 14 คนถูกฆ่าตาย รวมทั้งผู้ก่อการร้ายทั้งหมด[11] ในขณะที่สภากาชาดเคนยาระบุจำนวนผู้เสียชีวิตคือ 24 คน[14]
ส่วนอัชชะบาบได้อ้างภาระหน้าที่ในการโจมตี ในแถลงการณ์ที่เปิดตัวระหว่างการโจมตี[9] ช่วงหลังของวันที่ 16 มกราคม มีรายงานว่าพลเรือน 21 คนถูกสังหารและผู้โจมตีห้าคนถูกกำจัด[5] พวกเขาอ้างว่าการโจมตีดังกล่าวเป็น "การตอบสนองต่อการตัดสินใจของประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ ที่ยอมรับว่าเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล"[5][15]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Who was the SAS soldier with pirate badge pictured at scene of Nairobi terrorist attack?". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 16 January 2019. สืบค้นเมื่อ 18 January 2019.
- ↑ "The FN SCAR rifle that is only used by Kenyan forces in Africa". 1 January 2017. สืบค้นเมื่อ 18 January 2019.
- ↑ "Two suspects arrested over Dusit terror attack as hunt for more goes on". 16 January 2019. สืบค้นเมื่อ 18 January 2019.
- ↑ "Dead end looms for criminals as police given modern guns". 28 October 2018. สืบค้นเมื่อ 21 January 2019.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "Kenya hotel attack death toll rises to 21". BBC News. 16 January 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2019.
- ↑ 6.0 6.1 "Explosions and gunfire heard in Kenyan capital Nairobi". www.aljazeera.com. 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Nairobi DusitD2 hotel under attack as blasts and gunfire heard". BBC News. 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
- ↑ Mackintosh, Eliza (15 January 2019). "11 dead as police battle gunmen at Nairobi hotel complex". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Burke, Jason (15 January 2019). "Nairobi attack: hotel gunmen in armed standoff with police". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
- ↑ 10.0 10.1 "Shabab Claim Responsibility for Attack in Nairobi". New York Times. 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Patrick, Lang'at; Elizabeth, Merab (16 January 2019). "14 dead in Dusit attack, President Kenyatta says all assailants killed". The Nation. สืบค้นเมื่อ 16 January 2019.
- ↑ 12.0 12.1 "Nairobi attack: What we know so far". The Nation. 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
- ↑ Association, Press (16 January 2019). "SAS member helped secure Nairobi hotel complex". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
- ↑ 14.0 14.1 "Hotel attackers killed by Kenyan forces". BBC News. 16 January 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2019.
- ↑ "Terror group says deadly Kenya attack over Trump recognition of Jerusalem". www.timesofisrael.com. Times of Israel. 16 January 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2019.